ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม
มิสสกสังคหะกองที่
๖ อธิปติ ๔
อธิโก
ปติ อธิปติ ฯ
ธรรมที่ใหญ่ยิ่ง ชื่อว่า อธิปติ
อธินานํ
ปติ อธิปติ ฯ
ธรรมที่เป็นใหญ่ยิ่งกว่าธรรมที่ร่วมกับตนนั้น
ชื่อว่า อธิบดี
ธรรมที่เป็นใหญ่ยิ่งกว่าสหชาตธรรม
(ธรรมที่เกิดพร้อมกับตน) นั้น
ชื่อว่า อธิบดี
เพราะเป็นบุพพาภิสังขาร
สิ่งใดจะไม่เป็นผลสำเร็จแก่ผู้มีฉันทะเป็นไม่มี
เมื่อมีฉันทะ
แล้ว สิ่งใดจะไม่สำเร็จ
เป็นไม่มี
เมื่อมี
วิริยะ แล้ว สิ่งใดจะไม่สำเร็จ
เป็นไม่มี
เมื่อมี
ใจจดจ่อ แล้ว สิ่งใดจะไม่สำเร็จ
เป็นไม่มี
เมื่อมี
ปัญญา แล้ว สิ่งใดจะไม่สำเร็จ
เป็นไม่มี
รวมความว่า
อธิปติ หรืออธิบดี นี้
เป็นธรรมที่ใหญ่ยิ่ง เป็นประธาน
เป็นผู้นำ
ความสำเร็จมาให้จงได้เป็นแน่นอน
เมื่อมีอธิปติแล้ว
สิ่งใดที่จะไม่เป็นผลสำเร็จนั้น
ไม่มีเลย
อินทรีย
ที่ได้กล่าวแล้วในมิสสกสังคหะกองที่
๔ ก็ว่าเป็นใหญ่และอธิปติ
ที่กล่าวถึง ณ
บัดนี้ก็ว่าเป็นใหญ่อีก
แต่ว่าแตกต่างกัน คือ
อินทรียเป็นใหญ่
แต่ไม่ยิ่ง
เพราะเป็นใหญ่ที่จำกัดอยู่ในกิจการอันเป็นหน้าที่
โดยตรงของตนโดยเฉพาะๆ เท่านั้น
ในจิตดวงหนึ่ง ๆ
ย่อมมีสภาวธรรมเกิดร่วมด้วย
หลายอย่าง
มีกิจการงานหลายหน้าที่
ก็มีอินทรียได้หลายอินทรีย
ต่างก็เป็นใหญ่ใน หน้าที่ของตน ๆ
ไม่ก้าวก่ายกัน
ไม่ขัดแย้งกันแต่อย่างใด
เพราะต่างก็ทำงานต่างกัน
ส่วน
อธิปติ นั้น เป็นใหญ่ยิ่ง
เป็นผู้นำในสภาวธรรมที่เกิดร่วมกันนั้น
ในกิจ
การงานอันเป็นส่วนรวมทั้งหมด
ไม่เฉพาะแต่ในกิจการงานอันเป็นหน้าที่ของผู้หนึ่ง
ผู้ใดแต่ผู้เดียว
เมื่อเป็นใหญ่ยิ่งถึงกับเป็นผู้นำในกิจการนั้นอันเป็นส่วนรวมแล้ว
การ
งานในหน้าที่โดยเฉพาะของธรรมอื่น
ๆ ที่เกิดพร้อมกันนั้น
ก็ต้องดำเนินให้เป็นไป
ให้คล้อยไปตามวัตถุประสงค์ของผู้เป็นใหญ่
ผู้เป็นประธานนั้นอีกด้วย
ดังนั้น อธิปติ
จึงมีได้เป็นได้เกิดได้ในกิจการงานอย่างหนึ่งเพียงครั้งละ
๑ เท่านั้น เพราะว่าถ้าการ
งานอย่างเดียวจะมีผู้เป็นใหญ่
เป็นประธานหรือเป็นผู้นำหลายคน
ก็อาจจะทำให้กิจ การนั้น
ไม่เป็นไปตามความมุ่งหมาย
อธิปติ
๔
ประการ คือ
๑.
ฉันทาธิปติ
ความเต็มใจ ปลงใจกระทำ
เป็นใหญ่ให้เกิดความสำเร็จ
องค์ธรรมได้แก่ ฉันทเจตสิก ที่ใน
สาธิปติชวนจิต ๕๒
๒.
วิริยาธิปติ
ความเพียรพยายามเป็นใหญ่ให้เกิดความสำเร็จ
องค์ธรรม ได้แก่ วิริยเจตสิก
ที่ใน สาธิปติชวนจิต ๕๒
๓.
จิตตาธิปติ
จิต
(คือ ความเอาจิตใจจดจ่อ)
เป็นใหญ่ให้เกิดความสำเร็จ
องค์ธรรมได้แก่ ทวิเหตุกชวนจิต
๑๘ และ ติเหตุกชวนจิต ๓๔ รวมเป็น
สาธิปติ ชวนจิต ๕๒
๔.
วิมังสาธิปติ
ปัญญาเป็นใหญ่ให้เกิดความสำเร็จ
องค์ธรรมได้แก่ ปัญญา เจตสิก
ที่ใน ติเหตุกชวนจิต ๓๔
ดังนี้จะเห็นได้ว่า
ธรรมที่จะเป็นอธิบดีได้นั้นต้องเป็นชวนจิต
และต้องเป็น ชวนจิตที่มีเหตุ ๒
กับชวนจิตที่มีเหตุ ๓ เท่านั้น
ซึ่งรวมเรียกว่า สาธิปติชวนจิต
แปลว่า ชวนจิตที่มีอธิบดีได้
มีรายละเอียดดังนี้
ชวนจิต
๕๕
อเหตุกชวนจิต
๑ |
ได้แก่ |
หสิตุปปาทจิต
๑ |
|
เอกเหตุกชวนจิต
๒ |
ได้แก่ |
โมหมูลจิต
๒ |
|
ทวิเหตุกชวนจิต
๑๘ |
ได้แก่ |
โลภมูลจิต
๘ โทสมูลจิต
๒ มหากุสลญาณวิปปยุตต
๔ มหากิริยาญาณวิปปยุตต
๔ |
สาธิปติชวนจิต
๕๒ |
ติเหตุกชวนจิต
๓๔ |
ได้แก่ |
มหากุสลญาณสัมปยุตต
๔ มหากิริยาญาณสัมปยุตต
๔ มหัคคตกุสล
๙ มหัคคตกิริยา
๙ โลกุตตรจิต ๘ |
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ