ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม
อกุศลสังคหะกองที่
๖ นิวรณ ๖
ฌานาทิกํ
นิวาเรนฺตีติ นิวรณานิฯ
ธรรมเหล่าใดที่ขัดขวางกุสลธรรม
มีฌาน เป็นต้นไม่ให้เกิดขึ้น
ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า นิวรณ
มีความหมายว่า
นิวรณ
เป็นเครื่องขัดขวางในการกระทำความดีเป็นเครื่องกั้น
เครื่องห้ามไม่ให้ ฌาน มัคค ผล
อภิญญา สมาบัติ เกิดขึ้นได้
นิวรณ
มี ๖
ประการ คือ
๑.
กามฉันทนิวรณ
ขัดขวางไว้เพราะความชอบใจอยากได้ในกามคุณอารมณ์
เมื่อชอบใจและต้องการแต่ในกามคุณอารมณ์แล้ว
ก็ย่อมขาดสมาธิในอันที่จะทำ
ความดี มีฌานและมัคคผลเป็นต้น
องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก
ที่ในโลภมูลจิต ๘
๒.
พยาปาทนิวรณ
ขัดขวางไว้เพราะความไม่ชอบใจในอารมณ์
เมื่อจิตใจ
มีแต่ความขุ่นเคืองไม่ชอบใจแล้ว
ก็ย่อมขาดปีติความอิ่มใจในการกระทำความดี
มี ฌานเป็นต้น องค์ธรรมได้แก่
โทสเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒
๓.
ถีนมิทธนิวรณ
ขัดขวางไว้เพราะความหดหู่ท้อถอยในอารมณ์
เมื่อจิตใจ หดหู่ท้อถอยเสียแล้ว
ก็ย่อมขาดวิตก
คือไม่มีแก่ใจที่จะนึกคิดให้ติดอยู่ในอารมณ์ที่จะ
กระทำความดี องค์ธรรมได้แก่
ถีนเจตสิก มิทธเจตสิก
ที่ในอกุสลสสังขาริกจิต ๕
๔.
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ
ขัดขวางไว้เพราะคิดฟุ้งซ่าน
รำคาญใจ เมื่อจิตใจ เป็นดังนี้
ก็ย่อมขาดความสุขใจในอันที่จะกระทำความดี
องค์ธรรมได้แก่ อุทธัจจ เจตสิก
กุกกุจจเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒
๕.
วิจิกิจฉานิวรณ
ขัดขวางไว้เพราะความสงสัย
ลังเลใจ เมื่อจิตใจเกิดความ
ลังเลสงสัยเสียแล้ว
ก็ย่อมขาดวิจารในอันที่จะพินิจพิจารณาในการกระทำความดี
องค์ธรรมได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก
ที่ในวิจิกิจฉาสหคตจิต ๑
๖.
อวิชชานิวรณ
ขัดขวางไว้เพราะความไม่รู้
มีการทำให้หลงลืม ก็ย่อมขาด สติ
ไม่ระลึกถึงความดีที่ตนจะกระทำ
องค์ธรรมได้แก่
โมหเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒
รวมนิวรณ
มี ๖ แต่องค์ธรรมมีถึง ๘ คือ โลภเจตสิก
โทสเจตสิก ถีนเจตสิก มิทธเจตสิก
อุทธัจจเจตสิก กุกกุจจเจตสิก
วิจิกิจฉาเจตสิก
และ โมหเจตสิก
ถีนมิทธนิวรณนี้
เป็นเจตสิก ๒ ดวงคือ ถีนเจตสิกดวงหนึ่ง
และมิทธ
เจตสิก อีกดวงหนึ่ง
แต่เมื่อจัดเป็นนิวรณนับเป็นนิวรณเดียว
ทั้งนี้ก็เพราะว่า ถีนก็ดี
มิทธก็ดี เมื่อว่าโดยกิจ คือ
หน้าที่การงาน
ก็มีหน้าที่ทำให้จิตหดหู่
ท้อถอยต่อ อารมณ์ ไม่จับอารมณ์
ไม่ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์
เมื่อว่าโดยอาการ คือเหตุ
ก็เป็นเหตุ ให้เกียจคร้าน
เมื่อว่าโดยวิโรธปัจจัย
คือข้าศึก ก็เป็นปฏิปักษ์กับวิริยะ
เหมือน ๆ กัน ดังนั้นจึงจัด
เป็นนิวรณเดียวกัน
อุทธัจจะ
และกุกกุจจะ
ที่จัดเป็นนิวรณเดียว
ก็ด้วยเหตุผลทำนองเดียวกัน
กล่าวคือ ว่าโดยกิจ
ก็ทำให้ไม่สงบ ว่าโดยอาการ
ก็เพราะเหตุที่คิดถึง พยสนะ ๕
ประการ ว่าโดยวิโรธปัจจัย
ก็เป็นศัตรูกับความสุข คือ
ถ้าไม่สงบ ก็ไม่เป็นสุข
ต่อเมื่อสงบก็เป็นสุข
เมื่อมีสุขเวทนาก็เป็นเหตุใกล้ให้เกิด
เอกัคคตา คือการตั้งมั่น
อยู่ในอารมณ์เดียว
การตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวอย่างแน่แน่ว
ก็เรียกว่า สมาธิ
พยสนะ
๕
ประการ เรียกว่า วิบัติ ๕
ก็ได้นั้น ได้แก่ ญาติพยสนะ
ความพินาศไปแห่งญาติ โภคพฺยสน
ความพินาศไปแห่งทรัพย์สมบัติ โรคพฺยสน
โรคภัยเบียดเบียน สีลพฺยสน
ความทุสีล เสื่อมสีล
สิกขาบทที่รักษาอยู่นั้นขาดไป ทิฏฐิพฺยสน
ความเห็นผิด
ทำให้สัมมาทิฏฐิพินาศไป
ในการเจริญสมถภาวนา
ข่มนิวรณเพียง ๕
ประการ คือ ประการที่ ๑ ถึง ๕
ไว้ได้ โดยวิขัมภนปหาน
ก็สามารถถึงฌานได้
ส่วนการเจริญวิปัสสนาภาวนา
ต้องประหารนิวรณทั้ง ๖
ประการ โดย
สมุจเฉทปหาน
จึงจะบรรลุมัคคผล
โสดาปัตติมัคค
ประหาร
วิจิกิจฉานิวรณ
อนาคามิมัคค
ประหาร
กามฉันทนิวรณ
กุกกุจจนิวรณและพยาปาทนิวรณ
อรหัตตมัคค
ประหาร
นิวรณที่เหลือนั้นได้หมดเลย
อนึ่ง
ใคร่จะกล่าวแทรกไว้ในที่นี้ด้วยว่า
ถีนมิทธเจตสิก
นั้นเป็นนิวรณ เป็น กิเลส แต่ ถีนมิทธ
ที่เป็นธรรมประจำกาย
นั้น
ไม่ใช่นิวรณและไม่เป็นกิเลส
กายานุคตธรรม
ธรรมประจำกายนั้น มี ๑๐ ประการ
คือ ๑. สีต
เย็น , ๒.
อุณฺห
ร้อน,
๓.
ชิฆจฺฉา
หิว,
๔.
ปิปาส
กระหาย,
๕.
อุจฺจาร
ถ่ายหนัก, ๖. ปสฺสาว
ถ่ายเบา,
๗.
ถีนมิทฺธ
การหลับนอน,
๘.
ชรา
แก่,
๙.
พยาธิ
เจ็บไข้
ได้ป่วย,
๑๐.มรณ
ตาย
อกุสลสังคหะ
๙ กองนั้น ได้กล่าวมาแล้ว ๖ กอง
ยังเหลืออีก ๓ กอง
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ