ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

สมุทยอริยสัจจ

สมุทยอริยสัจจ เรียกกันสั้น ๆ ว่า สมุทยสัจจ หรือเรียกอย่างยาวเต็มที่ว่า ทุกขสมุทยอริยสัจจ

คำว่า สมุทัย แปลว่า ต้นเหตุ หรือ ที่เกิด ดังนั้น ทุกขสมุทัย จึงแปลว่า ต้นเหตุให้เกิดทุกข์ อันว่าต้นเหตุให้เกิดทุกข์นั้นคือ ตัณหา องค์ธรรมได้แก่ โลภ เจตสิก ดวงเดียวเท่านั้น

โลภเจตสิก หรือ ตัณหา เป็นความอยากได้ เป็นความปรารถนา ซึ่งมักจะ ไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอ เมื่อมีความอยากได้ มีความปรารถนาเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องมี ปริเยสนทุกข์ คือ เป็นทุกข์ในการแสวงหาเพื่อให้ได้มาตามความปรารถนานั้น ๆ ถ้าหาไม่ได้ ก็มี ยัมปิจฉัง น ลภติ ความไม่สมหวังดังที่ปรารถนา ครั้นได้มาแล้ว ก็มีอารักขทุกข คือเป็นทุกข์ในการระวังรักษา เมื่อรักษาไม่ดี แตกหักสูญหายไป ก็มี ปิเยหิวิปปโยโค ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก รวมความว่า ได้ก็ทุกข์ ไม่ได้ก็ ทุกข์ ต่อเมื่อใดตัดต้นตอต้นเหตุ คือความปรารถนาลงเสียได้แล้ว ทุกข์ที่จะพึงเกิด ก็จะไม่มีเลย

ตัณหา ถ้าจะจำแนกว่ามี ๓ ก็ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา

กามตัณหา ได้แก่ ความยินดี ชอบใจ พอใจ และความปรารถนาในอารมณ์ ทั้ง ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส การสัมผัสถูกต้อง และความนึกคิด ความปรารถนา เช่นนี้ได้แก่ โลภเจตสิกที่ประกอบกับจิต ทั้ง ๘ ดวง360.JPG (7040 bytes)

ภวตัณหา ได้แก่ ความชอบใจติดใจในกามภพ คือ การได้เกิดเป็นมนุษย์และ เทวดา ๑, พึงพอใจในรูปภพ คือ การได้เกิดเป็นรูปพรหม ๑, พึงพอใจในอรูปภพ คือ การได้เกิดเป็นอรูปพรหม ๑, พึงพอใจในฌานสมบัติ คือ การได้รูปฌาน อรูป ฌาน ๑ และความพึงพอใจในกามคุณอารมณ์ที่ประกอบด้วย สัสสตทิฏฐิ โดยยึดถือ ว่าไม่สูญหายไปไหน เป็นอย่างใดก็เป็นอยู่อย่างนั้น ๑ ความปรารถนาเช่นนี้ ได้แก่ โลภที่สหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิ ๔ ดวง

วิภวตัณหา ได้แก่ ความติดใจชอบใจในอุจเฉททิฏฐิ คือติดใจว่าสัตว์ทั้งหลาย ตายไปแล้วก็สูญ กรรมและผลของกรรมก็สูญตามไปด้วยเหมือนกัน เช่นนี้ ได้แก่ โลภที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ ๔ ดวง

ตัณหา ถ้าจำแนกว่ามี ๖ ก็ได้แก่ ความยินดีชอบใจในอารมณ์ทั้ง ๖ ซึ่งมีชื่อ ว่า รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา และ ธัมมตัณหา

ถ้าจำแนกโดยพิสดาร ก็ได้ตัณหาถึง ๑๐๘ ดังได้แสดงแล้วในตอนท้ายของ อกุสลสังคหะในเล่มนี้

ความปรารถนาทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะสูงหรือต่ำ มากหรือน้อยก็ตาม ถ้า ความปรารถนานั้น ๆ ย่อมเป็นเหตุให้มีภพมีชาติต่อไปอีกแล้วก็เป็นตัณหาทั้งสิ้น แต่ถ้าไม่ได้มุ่งหมายอย่างนั้น ก็ไม่เป็นตัณหา เช่น พระอรหันต์ผู้พ้นแล้วจากกิเลส ตัณหาทั้งปวง แต่ก็ยังปรารถนาให้สัตว์ทั้งหลายเป็นเช่นท่าน จึงเที่ยวสัญจรไปโปรด สัตว์ ดังนี้ไม่เป็นตัณหา

ตัณหา คือ โลภะ อันเป็นตัวสมุทัยนี้ เป็นธรรมที่ควรละควรประหารโดยแท้ การละการประหารได้ชั่วคราวนั้นเรียกว่า ตทังคปหาน เป็นการพ้นชั่วคราวเท่านั้น การพ้นชั่วคราวเช่นนี้เรียกว่า ตทังควิมุตติ การประหารการพ้นชั่วคราวนี้ เพียงแต่ รักษาสีล ก็ละได้ ก็พ้นได้360.JPG (7040 bytes)

การละการประหารได้ด้วยการข่มไว้ อันเป็นการละการประหารด้วยอำนาจ สมาธิ คือ ฌานนั้น เป็นการข่มไว้ได้นานจนกว่าฌานจะเสื่อม การประหารชนิดนี้ เรียกว่า วิกขัมภนปหาน การพ้นชนิดนี้เรียกว่า วิกขัมภนวิมุตติ

การละการประหารด้วยปัญญา คือ มัคคญาณ เป็นการประหารได้อย่าง เด็ดขาดแน่นอน กิเลสที่ถูกประหารแล้ว ละเว้นเช่นนี้เป็นไม่มีวันที่จะเกิดขึ้นมาอีก ได้เลย การประหารเช่นนี้เรียกว่า สมุจเฉทปหาน การพ้นเช่นนี้เรียกว่า สมุจเฉท วิมุตติ

การประหาร การพ้นนั้น จัดได้ถึง ๕ ประการซึ่งเรียกว่า ปหาน ๕ วิมุตติ ๕ ดังนี้

ปหาน ๕

วิมุตติ ๕

ได้แก่

ตทังคปหาน

(สีล) ตทังควิมุตติ

พ้นชั่วคราว

วิกขัมภนปหาน

(สมาธิ) วิขัมภนวิมุตติ

พ้นด้วยการข่มไว้

สมุจเฉทปหาน

(มัคค) สมุจเฉทวิมุตติ

พ้นเด็ดขาด

ปฏิปัสสัทธิปหาน

(ผล) ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ

พ้นสนิท

นิสสรณปหาน

(นิพพาน) นิสสรณวิมุตติ

พ้นเลย

ในสัจจที่ ๒ นี้แสดงว่า ตัณหา คือ โลภะเป็นตัวสมุทัย เป็นธรรมที่ควรละ ควรประหาร ส่วนโทสะ โมหะ อันเป็นมูลเหตุให้เกิดอกุสลจิตเหมือนกันนั้น กลับจัดเป็นสัจจที่ ๑ คือเป็นทุกขอริยสัจจ อันเป็นธรรมที่ควรรู้เท่านั้นเอง ดังนั้นก็ หมายความว่า โทสะ นี้ ไม่ต้องละไม่ต้องประหารกระนั้นหรือ ข้อนี้มีอธิบายว่า360.JPG (7040 bytes)

โลภะ คือความชอบใจ ติดใจ อยากได้นี้ เป็นรากฐานแห่งโทสะเป็นบ่อเกิด ของโทสะ เช่นเกิดชอบใจอยากได้สิ่งใดก็ตาม เมื่อไม่ได้ดังใจชอบก็เสียใจ น้อยใจ คือเกิดโทสะขึ้น หรือติดใจชอบใจในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นกลับมีอันเป็นให้พลัดพรากจาก สูญไป ก็เสียดาย เสียใจ กลุ้มใจ เหล่านี้เป็นต้น ดังนั้นถ้าไม่มีโลภะซึ่งเป็นต้นเหตุ แล้ว โทสะอันเป็นปลายเหตุก็ย่อมไม่มีเป็นธรรมดา

ส่วนโมหะ นั้นย่อมต้องเกิดพร้อมกับโลภะหรือโทสะ โดยมี โลภะ หรือโทสะ เป็นตัวนำ โมหะเป็นตัวสนับสนุน เมื่อไม่มีโลภะตัวนำแล้ว โมหะตัวสนับสนุน ก็มีไม่ได้ เพราะไม่มีสิ่งที่จะสนับสนุน

สำหรับโมหะที่เกิดพร้อมกับวิจิกิจฉา และโมหะที่เกิดพร้อมกับอุทธัจจะนั้น เมื่อประหารโลภะได้ ก็ย่อมแจ้งในอริยสัจจทั้ง ๔ เมื่อแจ้งในอริยสัจจแล้ว ย่อมหมด ความสงสัยหมดความฟุ้งซ่าน เมื่อไม่มีความสงสัย ไม่มีความฟุ้งซ่าน ก็คือไม่มีโมหะ

ดังนั้น การประหารโลภะอันเป็นตัวสมุทัยได้แล้ว ก็เป็นอันไม่มีโทสะ และ โมหะ หมดโทสะหมดโมหะไปด้วยในตัว ไม่ต้องตั้งหน้าตั้งตาทำการประหารโทสะ โมหะ เป็นพิเศษเป็นการใหญ่เหมือนโลภะแต่อย่างใดเลย

ความโลภนี้ ในปรมัตถทีปนีฎีกาได้จำแนกออกไปเป็น ๑๐ ประการ คือ

. ตัณหา

ความต้องการ

. ราคะ

ความกำหนัด

. กามะ

ความใคร่

. นันทิ

ความเพลิดเพลิน

. อภิชฌา

ความเพ่งเล็ง

. ชเนตติ

ความก่อให้เกิดกิเลส

. โปโนพภวิก

ความทำให้เกิดในภพใหม่

. อิจฉา

ความปรารถนา

. อาสา

ความหวัง

๑๐.สังโยชน

ความเกี่ยวข้อง ผูกพัน ผูกมัด

สมุทยอริยสัจจ

สมุทยอริยสัจจ เรียกกันสั้น ๆ ว่า สมุทยสัจจ หรือเรียกอย่างยาวเต็มที่ว่า ทุกขสมุทยอริยสัจจ360.JPG (7040 bytes)

คำว่า สมุทัย แปลว่า ต้นเหตุ หรือ ที่เกิด ดังนั้น ทุกขสมุทัย จึงแปลว่า ต้นเหตุให้เกิดทุกข์ อันว่าต้นเหตุให้เกิดทุกข์นั้นคือ ตัณหา องค์ธรรมได้แก่ โลภ เจตสิก ดวงเดียวเท่านั้น

โลภเจตสิก หรือ ตัณหา เป็นความอยากได้ เป็นความปรารถนา ซึ่งมักจะ ไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอ เมื่อมีความอยากได้ มีความปรารถนาเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องมี ปริเยสนทุกข์ คือ เป็นทุกข์ในการแสวงหาเพื่อให้ได้มาตามความปรารถนานั้น ๆ ถ้าหาไม่ได้ ก็มี ยัมปิจฉัง น ลภติ ความไม่สมหวังดังที่ปรารถนา ครั้นได้มาแล้ว ก็มีอารักขทุกข คือเป็นทุกข์ในการระวังรักษา เมื่อรักษาไม่ดี แตกหักสูญหายไป ก็มี ปิเยหิวิปปโยโค ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก รวมความว่า ได้ก็ทุกข์ ไม่ได้ก็ ทุกข์ ต่อเมื่อใดตัดต้นตอต้นเหตุ คือความปรารถนาลงเสียได้แล้ว ทุกข์ที่จะพึงเกิด ก็จะไม่มีเลย

ตัณหา ถ้าจะจำแนกว่ามี ๓ ก็ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา

กามตัณหา ได้แก่ ความยินดี ชอบใจ พอใจ และความปรารถนาในอารมณ์ ทั้ง ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส การสัมผัสถูกต้อง และความนึกคิด ความปรารถนา เช่นนี้ได้แก่ โลภเจตสิกที่ประกอบกับจิต ทั้ง ๘ ดวง

ภวตัณหา ได้แก่ ความชอบใจติดใจในกามภพ คือ การได้เกิดเป็นมนุษย์และ เทวดา ๑, พึงพอใจในรูปภพ คือ การได้เกิดเป็นรูปพรหม ๑, พึงพอใจในอรูปภพ คือ การได้เกิดเป็นอรูปพรหม ๑, พึงพอใจในฌานสมบัติ คือ การได้รูปฌาน อรูป ฌาน ๑ และความพึงพอใจในกามคุณอารมณ์ที่ประกอบด้วย สัสสตทิฏฐิ โดยยึดถือ ว่าไม่สูญหายไปไหน เป็นอย่างใดก็เป็นอยู่อย่างนั้น ๑ ความปรารถนาเช่นนี้ ได้แก่ โลภที่สหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิ ๔ ดวง

วิภวตัณหา ได้แก่ ความติดใจชอบใจในอุจเฉททิฏฐิ คือติดใจว่าสัตว์ทั้งหลาย ตายไปแล้วก็สูญ กรรมและผลของกรรมก็สูญตามไปด้วยเหมือนกัน เช่นนี้ ได้แก่ โลภที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ ๔ ดวง

ตัณหา ถ้าจำแนกว่ามี ๖ ก็ได้แก่ ความยินดีชอบใจในอารมณ์ทั้ง ๖ ซึ่งมีชื่อ ว่า รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา และ ธัมมตัณหา360.JPG (7040 bytes)

ถ้าจำแนกโดยพิสดาร ก็ได้ตัณหาถึง ๑๐๘ ดังได้แสดงแล้วในตอนท้ายของ อกุสลสังคหะในเล่มนี้

ความปรารถนาทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะสูงหรือต่ำ มากหรือน้อยก็ตาม ถ้า ความปรารถนานั้น ๆ ย่อมเป็นเหตุให้มีภพมีชาติต่อไปอีกแล้วก็เป็นตัณหาทั้งสิ้น แต่ถ้าไม่ได้มุ่งหมายอย่างนั้น ก็ไม่เป็นตัณหา เช่น พระอรหันต์ผู้พ้นแล้วจากกิเลส ตัณหาทั้งปวง แต่ก็ยังปรารถนาให้สัตว์ทั้งหลายเป็นเช่นท่าน จึงเที่ยวสัญจรไปโปรด สัตว์ ดังนี้ไม่เป็นตัณหา

ตัณหา คือ โลภะ อันเป็นตัวสมุทัยนี้ เป็นธรรมที่ควรละควรประหารโดยแท้ การละการประหารได้ชั่วคราวนั้นเรียกว่า ตทังคปหาน เป็นการพ้นชั่วคราวเท่านั้น การพ้นชั่วคราวเช่นนี้เรียกว่า ตทังควิมุตติ การประหารการพ้นชั่วคราวนี้ เพียงแต่ รักษาสีล ก็ละได้ ก็พ้นได้

การละการประหารได้ด้วยการข่มไว้ อันเป็นการละการประหารด้วยอำนาจ สมาธิ คือ ฌานนั้น เป็นการข่มไว้ได้นานจนกว่าฌานจะเสื่อม การประหารชนิดนี้ เรียกว่า วิกขัมภนปหาน การพ้นชนิดนี้เรียกว่า วิกขัมภนวิมุตติ

การละการประหารด้วยปัญญา คือ มัคคญาณ เป็นการประหารได้อย่าง เด็ดขาดแน่นอน กิเลสที่ถูกประหารแล้ว ละเว้นเช่นนี้เป็นไม่มีวันที่จะเกิดขึ้นมาอีก ได้เลย การประหารเช่นนี้เรียกว่า สมุจเฉทปหาน การพ้นเช่นนี้เรียกว่า สมุจเฉท วิมุตติ

การประหาร การพ้นนั้น จัดได้ถึง ๕ ประการซึ่งเรียกว่า ปหาน ๕ วิมุตติ ๕ ดังนี้

ปหาน ๕

วิมุตติ ๕

ได้แก่

ตทังคปหาน

(สีล) ตทังควิมุตติ

พ้นชั่วคราว

วิกขัมภนปหาน

(สมาธิ) วิขัมภนวิมุตติ

พ้นด้วยการข่มไว้

สมุจเฉทปหาน

(มัคค) สมุจเฉทวิมุตติ

พ้นเด็ดขาด

ปฏิปัสสัทธิปหาน

(ผล) ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ

พ้นสนิท

นิสสรณปหาน

(นิพพาน) นิสสรณวิมุตติ

พ้นเลย

ในสัจจที่ ๒ นี้แสดงว่า ตัณหา คือ โลภะเป็นตัวสมุทัย เป็นธรรมที่ควรละ ควรประหาร ส่วนโทสะ โมหะ อันเป็นมูลเหตุให้เกิดอกุสลจิตเหมือนกันนั้น กลับจัดเป็นสัจจที่ ๑ คือเป็นทุกขอริยสัจจ อันเป็นธรรมที่ควรรู้เท่านั้นเอง ดังนั้นก็ หมายความว่า โทสะ นี้ ไม่ต้องละไม่ต้องประหารกระนั้นหรือ ข้อนี้มีอธิบายว่า360.JPG (7040 bytes)

โลภะ คือความชอบใจ ติดใจ อยากได้นี้ เป็นรากฐานแห่งโทสะเป็นบ่อเกิด ของโทสะ เช่นเกิดชอบใจอยากได้สิ่งใดก็ตาม เมื่อไม่ได้ดังใจชอบก็เสียใจ น้อยใจ คือเกิดโทสะขึ้น หรือติดใจชอบใจในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นกลับมีอันเป็นให้พลัดพรากจาก สูญไป ก็เสียดาย เสียใจ กลุ้มใจ เหล่านี้เป็นต้น ดังนั้นถ้าไม่มีโลภะซึ่งเป็นต้นเหตุ แล้ว โทสะอันเป็นปลายเหตุก็ย่อมไม่มีเป็นธรรมดา

ส่วนโมหะ นั้นย่อมต้องเกิดพร้อมกับโลภะหรือโทสะ โดยมี โลภะ หรือโทสะ เป็นตัวนำ โมหะเป็นตัวสนับสนุน เมื่อไม่มีโลภะตัวนำแล้ว โมหะตัวสนับสนุน ก็มีไม่ได้ เพราะไม่มีสิ่งที่จะสนับสนุน

สำหรับโมหะที่เกิดพร้อมกับวิจิกิจฉา และโมหะที่เกิดพร้อมกับอุทธัจจะนั้น เมื่อประหารโลภะได้ ก็ย่อมแจ้งในอริยสัจจทั้ง ๔ เมื่อแจ้งในอริยสัจจแล้ว ย่อมหมด ความสงสัยหมดความฟุ้งซ่าน เมื่อไม่มีความสงสัย ไม่มีความฟุ้งซ่าน ก็คือไม่มีโมหะ

ดังนั้น การประหารโลภะอันเป็นตัวสมุทัยได้แล้ว ก็เป็นอันไม่มีโทสะ และ โมหะ หมดโทสะหมดโมหะไปด้วยในตัว ไม่ต้องตั้งหน้าตั้งตาทำการประหารโทสะ โมหะ เป็นพิเศษเป็นการใหญ่เหมือนโลภะแต่อย่างใดเลย

ความโลภนี้ ในปรมัตถทีปนีฎีกาได้จำแนกออกไปเป็น ๑๐ ประการ คือ

. ตัณหา

ความต้องการ

. ราคะ

ความกำหนัด

. กามะ

ความใคร่

. นันทิ

ความเพลิดเพลิน

. อภิชฌา

ความเพ่งเล็ง

. ชเนตติ

ความก่อให้เกิดกิเลส

. โปโนพภวิก

ความทำให้เกิดในภพใหม่

. อิจฉา

ความปรารถนา

. อาสา

ความหวัง

๑๐.สังโยชน

ความเกี่ยวข้อง ผูกพัน ผูกมัด


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...