ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

ทุกขอริยสัจจ

ทุกขอริยสัจจ บ้างก็เรียกว่า ทุกขสัจจ คำว่าทุกข ตามพยัญชนะ คือตาม ศัพท์ แปลว่า ทนได้ยาก ความลำบาก ความชั่วร้าย ความเดือดร้อน ความวิบัติ ใน ทางธรรมมีที่ใช้และมีอรรถ มีความหมายเป็นหลายนัย เช่น ทุกขเวทนา ทุกข สภาวะ   ทุกขลักษณะ  และทุกขสัจจ เป็นต้น

ทุกขเวทนา มีความหมายว่า ทนได้ยาก ลำบาก เดือดร้อน เพราะได้ประสบ กับอารมณ์ที่ไม่ชอบ เป็นความทุกขที่เกิดจากการเสวยอารมณ์ทางกายหรือทางใจ ทุกขเวทนานี้บุคคลใด ๆ ก็รู้ได้ เพราะต้องได้พบเห็นอยู่เป็นเนืองนิจ อันเป็นการรู้ ได้ด้วยประสบการณ์ รู้ได้โดยไม่ต้องมีความรู้พิเศษแต่ประการใดเลย

ทุกขสภาวะ และทุกขลักษณะ มีความหมายเป็นอย่างเดียวกันว่า เป็นสภาพ เป็นลักษณะที่ทนอยู่ไม่ได้ ต้องวิบัติ คือเสื่อมสลายแตกดับไป อาการที่ทนอยู่ไม่ได้นี้ จึงเรียกว่าเป็น ทุกขัง อันว่าสิ่งที่ทนอยู่ไม่ได้ ต้องแตกดับไป สิ่งนั้นก็ไม่เที่ยง เพราะ ไม่ยั่งยืนอยู่ตลอดกาล อาการที่ไม่เที่ยงนี้ จึงเรียกว่า เป็นอนิจจัง ก็สิ่งที่ไม่เที่ยงนี้ แม้จะขอร้อง อ้อนวอน หรือกระทำอย่างใด ๆ ให้เที่ยง ให้ตั้งอยู่ได้ตลอดไป ไม่ให้ แตกดับ ก็ไม่ได้เลย เรียกว่าไม่อยู่ในอำนาจที่จะบังคับบัญชาว่ากล่าวได้ จึงได้ชื่อว่า เป็น อนัตตา รวมความว่า ทุกขสภาวะ ทุกขลักษณะ มีสภาพเป็น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา อันเรียกรวมว่า ไตรลักษณ์ ทุกขสภาวะ ทุกขลักษณะ นี้ จะรู้แจ้งเห็นจริง ได้ด้วยการเจริญภาวนาถึงขั้น วิปัสสนาปัญญา

ส่วน ทุกขอริยสัจจ หรือ ทุกขสัจจ เป็นทุกขที่พระอริยะได้เห็นแจ้งใน ปริวัฏฏ ๓ ได้แก่ สัจจญาณ รู้ว่าทุกข์นี้มีจริง กิจจญาณ รู้ว่าทุกข์นี้เป็นสิ่งที่ควรรู้ กตญาณ รู้ว่าทุกข์นี้เราได้กำหนดจนรู้แล้ว อันเป็นการรู้แจ้งเห็นจริงด้วยการเจริญ ภาวนาจนถึงขั้นโลกุตตรปัญญา (ปริวัฏฏ ๓ และ อาการ ๑๒ จะได้กล่าวต่อไป ข้างหน้า)

องค์ธรรมของทุกขอริยสัจจนี้ ตามนัยแห่งพระอภิธรรม ก็ได้แก่ ธรรม ๑๖๐ คือ360.JPG (7040 bytes)

. โลกียจิต ๘๑ ส่วนโลกุตตรจิตอีก ๘ ดวงนั้นไม่ใช่ทุกขอริยสัจจ เพราะ กล่าวโดยจิต โลกุตตรจิตไม่ใช่โลกียจิต อันเป็นจิตที่เหมาะสมแก่บุคคลที่ยังข้องอยู่ ในโลก ทั้ง ๓ กล่าวโดยอารมณ์ โลกุตตรจิตก็ไม่ได้มีอารมณ์ที่เป็นโลกียอีกด้วย

. เจตสิก ๕๑ หมายเฉพาะเจตสิกที่ประกอบกับโลกียจิตเท่านั้น ส่วนโลภ เจตสิกอีก ๑ ดวง ไม่ใช่ทุกขสัจจ เพราะเป็นสัจจอย่างอื่น คือเป็น สมุทยสัจจ

. รูป ๒๘ คือ รูปธรรมทั้งหมด แต่ก็หมายโดยเฉพาะว่ารูปเหล่านั้นจะต้อง เป็นรูปที่เกี่ยวเนื่องด้วยสิ่งที่มีชีวิต สิ่งที่มีวิญญาณ อันมีชื่อว่า อินทรียพัทธรูป แปลตามศัพท์ว่า รูปที่เนื่องด้วยอินทรีย

ทุกขอริยสัจจ ตามนัยแห่งพระสูตร ได้แก่ อาการของทุกข์ ๑๑ ประการ ถ้า นับข้อสรุปที่ว่า ขันธ์ ๕ ก็เป็นทุกข์นั้นด้วย ก็เป็นทุกข์ ๑๒ ประการ ทุกข์เหล่านี้ ก็คืออาการของจิต เจตสิก รูป นั้นเอง เช่นความเกิดเป็นทุกข์ ความเกิดก็คือการ ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในภพใหม่แห่งปฏิสนธิจิต เจตสิกที่ประกอบและกัมมชรูป ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ส่วนทุกข์อย่างอื่นมี ชรา มรณ เป็นต้น ก็เป็นอาการของจิต เจตสิก รูป หรือเป็นอาการของขันธ์ ๕ ทำนองเดียวกันนั้นแหละ

อนึ่ง ทุกขอริยสัจจนี้กล่าวถึงปรมัตถธรรมเพียง ๓ ประการ คือ จิต เจตสิก รูป เท่านั้น ปรมัตถธรรมอีกประการหนึ่ง คือ นิพพาน ไม่ได้กล่าวถึง เพราะ นิพพาน ไม่ใช่ทุกขสัจจ แต่เป็นสัจจอย่างอื่น คือเป็น นิโรธสัจจ


?????? ?????????? ???????????????????? ???...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...