ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74
75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
ปัจจยสังคหวิภาค
แสดงธรรม ๒ นัย
ปัจจยสังคหวิภาคนี้
แสดงธรรม ๒ ส่วนด้วยกัน คือ
ปฏิจจสมุปปาทนัย ส่วนหนึ่ง
และปัฏฐานนัย (คือ
ปัจจัย ๒๔)
อีกส่วนหนึ่ง
คือ
ปัจจยสังคหะนี้
แสดงธรรมตามที่ตั้งอยู่แล้วนั้นสองนัย
ซึ่งต่างกันโดยปฏิจจ สมุปปาทนัย
และปัฏฐานนัย
ปฏิจจสมุปปาทนัย
ปฏิจฺจ(อาศัย)+สํ(พร้อม)+อุปฺปาท(เกิด)
= ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม
มี ความหมายว่า
เป็นธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดผลต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย
จึงทำให้ต้องวน อยู่ในสังสารวัฏฏ
ลำดับของ
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ
ที่เป็นอยู่โดยไม่ขาดสายนั้น
เรียกว่า สังสาระ
การแสดงปฏิจจสมุปปาท
ก็เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริงของสภาวธรรมว่า
เป็นไปเพราะเหตุเพราะปัจจัย
จะได้มีใครมาดลบันดาลให้เป็นไปก็หาไม่
ทั้งนี้เพื่อ
จะได้ละความเห็นผิด มี อัตตา
สักกายทิฏฐิ เป็นต้น
ปฏิจจสมุปปาท
เป็นภูมิอารมณ์ของวิปัสสนาด้วย
จัดเป็นหมวดหนึ่งใน
วิปัสสนาภูมิทั้ง ๖
ซึ่งได้แก่
๑.
ขันธ์
๕
๒.
อายตนะ
๑๒
๓.
ธาตุ
๑๘
๔.
อินทรีย
๒๒
๕.
ปฏิจจสมุปปาท
๑๒
๖.
อริยสัจจ
๔
ลักขณาทิจตุกะของปฏิจจสมุปปาท
ปฏิจจสมุปปาท
มีลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน
และปทัฏฐาน ซึ่งรวมเรียกว่า
ลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
ชรามรณาทีนํ
ธมฺมานํ ปจฺจยลกฺขโณ
มีอุปการะแก่ปัจจยุบบันนธรรม
ทั้งหลาย เช่น ชรา มรณะ
เป็นต้น เป็นลักษณะ
ทุกฺขานุพนฺธน
รโส
มีการทำให้สัตว์ทั้งหลายเกิดในวัฏฏสงสารเนือง
ๆ เป็นกิจ
กมฺมคฺค
ปจฺจุปฏฺฐาโน
เป็นทางเวียนว่ายในวัฏฏสงสารที่น่ากลัว
หรือเป็น
ทางเดินที่ไม่ถูกต้อง คือ
คดเคี้ยว และเป็นทางที่
ตรงกันข้าม
กับทางไปพระนิพพาน เป็นอาการ
ปรากฏ
อาสว
ปทฏฺฐาโน
มี
อาสวะ เป็นเหตุใกล้
ลักขณาทิจตุกะของปฏิจจสมุปปาทที่กล่าวนี้
กล่าวเป็นส่วนรวม
ยังไม่ได้แยก กล่าวเป็นองค์ ๆ
ซึ่งปฏิจจสมุปปาทธรรม มี ๑๒
องค์
ปฏิจจสมุปปาทธรรม
๑๒ องค์นี้ บางทีก็เรียกว่า ภวจักร์
มีความหมายว่า
หมุนเวียนไปยังภพต่าง ๆ
อันได้แก่ ภูมิทั้ง ๓๑
ภูมิซึ่งเรียกว่า วัฏฏสงสาร
สังสาร วัฏฏ วัฏฏทุกข์ สังสารทุกข์
เป็นต้น
การอุปการะของปัจจัยธรรมต่อปัจจยุบบันนธรรม
ตามนัยแห่งปฏิจจสมุปปาท
ซึ่งมี ๑๒ องค์นั้น
มีบาลีแสดงว่า
อวิชฺชาปจฺจยา
สงฺขารา
อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร
สงฺขารปจฺจยา
วิญฺญาณํ
สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ
วิญฺญาณปจฺจยา
นามรูปํ
วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป
นามรูปปจฺจยา
สฬายตนํ
นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะ
สฬายตนปจฺจยา
ผสฺโส
อายตนะ
๖ เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ
ผสฺสปจฺจยา
เวทนา
ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
เวทนาปจฺจยา
ตณฺหา
เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา
ตณฺหาปจฺจยา
อุปาทานํ
ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน
อุปาทานปจฺจยา
ภโว
อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ
ภวปจฺจยา
ชาติ
ภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ
ชาติปจฺจยา
ชรามรณํ
ชาติเป็นปัจจัยให้เกิด
ชรา มรณะ
โสก
ปริเทว ทุกฺข โทมนสฺสุปายาสา
สมฺภวนฺติฯ
(ส่วน)
โสกะ
ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ
อุปายาสะ
ย่อมเกิดตามขึ้นมาด้วย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ