ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
ทุกขะ
ธรรมชาติใดที่ทำลายความสุขกาย
ธรรมชาตินั้นชื่อว่า ทุกข
สัตว์ทั้งหลายย่อม
อดทนได้ยากต่อเวทนาใด
เวทนานั้นชื่อว่า ทุกข
เวทนาที่อดทนได้ยาก
ฉะนั้นจึงชื่อ ว่า ทุกข
ได้แก่ กายิกทุกขเวทนา คือ
ทุกข์กาย ลักขณาทิจตุกะของทุกข์
คือ
กายปีฬน
ลกฺขณํ
มีการเบียดเบียนร่างกาย
เป็นลักษณะ
ทุปฺปญฺญานํ
โทมนสฺสกรณ รสํ
มีการทำให้โกรธ
เสียใจ กลุ้มใจ กลัว เกิด
ขึ้นแก่ผู้ที่มีปัญญาน้อย
เป็นกิจ
กายิกาพาธ
ปจฺจุปฏฺฐานํ
มีความป่วยทางกาย
เป็นอาการปรากฏ
กายปสาท
ปทฏฺฐานํ
มีกายปสาท
เป็นเหตุใกล้
ความทุกข์กายนี้
นอกจากเบียดเบียนร่างกายแล้ว
ยังสามารถเบียดเบียนจิตใจ
อีกด้วย กล่าวคือ
เมื่อร่างกายไม่สบายแล้ว
ก็ย่อมจะทำให้กลุ้มใจ เสียใจ
ไปด้วย
ดังนั้นจึงจัดว่าทุกข์กายนี้เป็นทุกข์พิเศษ
ซึ่งจำแนกได้เป็น ๗ คือ
๑.
ทุกฺขทุกฺข
ได้แก่
กายิกทุกขเวทนาและเจตสิกทุกขเวทนาที่เรียกว่า
ทุกขทุกข
เพราะเมื่อว่าโดยสภาพ
ก็มีสภาพเป็นทุกข์
ว่าโดยชื่อ
ก็มีชื่อเป็นทุกข์
กายิกทุกขเวทนา
ได้แก่
ทุกขสหคตกายวิญญาณ
๑ เจตสิก ๗
เจตสิกทุกขเวทนา
ได้แก่
โทมนัสสสหคตจิต
๒ เจตสิก ๒๒
๒.
วิปริณามทุกฺข
ได้แก่
กายิกสุขเวทนา
และเจตสิกสุขเวทนา
ที่เรียกว่า วิปริณามทุกข์
เพราะสภาพของสุขทั้ง ๒ นี้
จะต้องวิปริตแปรปรวนไป
เมื่อแปร ปรวนไปแล้วก็เป็นเหตุให้
กายิกทุกข์
และเจตสิกทุกข์เกิดขึ้น
กายิกสุขเวทนา
ได้แก่
สุขสหคตกายวิญญาณ
๑ เจตสิก ๗
เจตสิกสุขเวทนา
ได้แก่
โสมนัสสสหคตจิต
๖๒ เจตสิก ๔๗
๓.
สงฺขารทุกฺข
ได้แก่
อุเบกขาเวทนา และจิต เจตสิก
รูป ที่เว้นจาก ทุกขทุกข์
และวิปริณามทุกข์
ซึ่งกล่าวแล้วในข้อ ๑ และ ๒
นั้น ที่เรียกว่าสังขาร ทุกข์
เพราะถูกเบียดเบียนโดยความเกิดดับอยู่เป็นนิจ
๔.
ปฏิจฺฉนฺนทุกฺข
หรือ อปากฏทุกฺข
ได้แก่ความทุกข์ที่ปกปิด
หรือความ
ทุกข์ที่ไม่ปรากฏอาการให้ผู้อื่นเห็นได้
เช่น ปวดท้อง ปวดฟัน ปวดหู
ปวดศีรษะ หรือความไม่สบายใจ
อันเกิดจาก ราคะ โทสะ เป็นต้น
ความทุกข์เหล่านี้ผู้อื่น
ไม่สามารถจะรู้ได้
นอกจากจะสอบถามหรือเจ้าตัวจะบอกเล่าให้ทราบ
๕.
อปฺปฏิจฺฉนฺนทุกฺข
หรือ ปากฏทุกฺข
ได้แก่ความทุกข์ที่ไม่ปกปิด
คือ เปิดเผย
หรือเป็นความทุกข์ที่ปรากฏอาการให้ผู้อื่นเห็นได้โดยไม่ต้องสอบถาม
ไม่
ต้องให้เจ้าตัวบอกเล่าก็รู้
เช่น
ความเจ็บปวดที่เกิดจากบาดแผลถูกตีถูกฟัน
แขนขาด ขาขาด เป็นง่อย
เหล่านี้เป็นต้น
๖.
ปริยายทุกฺข
ได้แก่ วิปริณามทุกข์
และสังขารทุกข์ที่กล่าวแล้วในข้อ
๒ และ ๓ นั่นเอง ที่เรียกว่า
ทุกข์โดยปริยายนั้น
ก็เพราะทุกข์เหล่านี้ไม่ใช่เป็นตัวทุกข์
โดยตรง
แต่เป็นที่เกิดแห่งทุกข์ต่าง
ๆ อีกทีหนึ่ง
๗.
นิปฺปริยายทุกฺข
ไม่ใช่ทุกข์โดยปริยาย
แต่เป็นตัวทุกข์โดยตรงทีเดียว
อัน ได้แก่ ทุกขทุกข์
โทมนัสทุกข์ และ อุปายาสะ
อีกนัยหนึ่งจำแนกว่าทุกข์กายนี้มี
๙ โดยนับแยก กายิกทุกข์
และเจตสิกทุกข์ ออกไปว่าเป็น
๒ จึงเป็นทุกข์กาย ๙ ประการ
ในทุกข์กาย
๗ ประการนี้ ข้อ ๑ ทุกขทุกข์,
ข้อ
๒ วิปริณามทุกข์ ข้อ ๓
สังขารทุกข์ และข้อ ๖
ปริยายทุกข์นั้น
ถ้าจะกล่าวอย่างสามัญให้เข้าใจง่าย
ๆ ก็ว่า
ทุกขทุกข์
ได้แก่
ธรรมที่เกิดพร้อมกับ
ทุกขเวทนา
วิปริณามทุกข์
ได้แก่
ธรรมที่เกิดพร้อมกับ
สุขเวทนา
สังขารทุกข์
ได้แก่
ธรรมที่เกิดพร้อมกับ
อุเบกขาเวทนา
ปริยายทุกข์
ได้แก่
ธรรมที่เกิดพร้อมกับ
สุขเวทนาและอุเบกขาเวทนา
ซึ่งจะต้องวิปริตผันแปรกลับไปเป็นทุกข์อีก
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ