ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
องค์ที่
๘ ตัณหา
ตัณหา
เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน
คือ
อุปาทานจะปรากฏเกิดขึ้นได้ก็เพราะมี
ตัณหาเป็นปัจจัย
ตัณหามีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
เหตุ
ลกฺขณา
เป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง
เป็นลักษณะ
อภินนฺทน
รสา
มีความยินดี
ติดใจในอารมณ์ ภูมิ ภพ
เป็นกิจ
อติตฺตภาว
ปจฺจุปฏฺฐานา
มีความไม่อิ่มในอารมณ์ต่าง
ๆ เป็นผล
เวทนา
ปทฏฺฐานา
มีเวทนา
เป็นเหตุใกล้
ในบทก่อน
ตัณหาที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของเวทนานั้น
ได้แก่ ตัณหา ๓ หรือ ๖ หรือ ๑๐๘
ในบทนี้
ตัณหาที่เป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้เกิดอุปาทานนั้น
ก็ได้แก่ ตัณหา ๓ หรือ ๖ หรือ
๑๐๘ นั่นเอง
อุปาทาน
ที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของตัณหานี้
ได้แก่ อุปาทาน ๔ คือ
กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน
และอัตตวาทุปาทาน
มีอธิบายโดยย่อ ดังต่อไปนี้
๑.
กามุปาทาน
ความติดใจยึดมั่นในวัตถุกามทั้ง
๖ มี รูปารมณ์ เป็นต้น
องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก
๒.
ทิฏฐุปาทาน
ความติดใจยึดมั่นในการเห็นผิด
มีนิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓,
มิจฉาทิฏฐิ
๖๒ และ อันตัคคาหิกทิฏฐิ ๑๐
องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก
ที่นอกจาก สีลัพพตทิฏฐิ
และสักกายทิฏฐิ
๓.
สีลัพพตุปาทาน
ความติดใจยึดมั่นในการปฏิบัติที่ผิด
มีการปฏิบัติเยี่ยงโค
และเยี่ยงสุนัข เป็นต้น
องค์ธรรมได้แก่ สีลัพพตทิฏฐิ
๔.
อัตตวาทุปาทาน
ความติดใจยึดมั่นในขันธ์ ๕
ของตน และทั้งของผู้อื่น
ว่าเป็นตัวเป็นตน
เป็นบุคคลเป็นเราเป็นเขา
องค์ธรรมได้แก่ สักกายทิฏฐิ
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ