ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
๙.
อุปนิสสยปัจจัย
อุปนิสสยปัจจัยนี้
จำแนกได้เป็น ๓ คือ
ก.
อารมณ์ชนิดที่เป็นอธิบดีด้วย
เป็นที่อาศัยอันมีกำลังอย่างแรงกล้าด้วย
ช่วย อุปการะให้เกิดปัจจยุบบันนธรรมขึ้น
อย่างนี้เรียกว่า อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
ข.
ธรรมที่เป็นที่อาศัยอันมีกำลังอย่างแรงกล้าด้วย
และช่วยอุปการะให้ปัจจ ยุบบันนธรรมเกิดขึ้นโดยไม่มีระหว่างคั่นด้วย
อย่างนี้เรียกว่า อนันตรูปนิสสยปัจจัย
ค.
ธรรมที่เป็นที่อาศัยมีกำลังอย่างแรงกล้า
โดยอำนาจแห่งสภาพของตนเอง
ไม่เกี่ยวข้องด้วยอำนาจแห่งอารัมมณปัจจัย
และ อนันตรปัจจัยเลย
อย่างนี้เรียกว่า ปกตูปนิสสยปัจจัย
อนึ่งปกตูปนิสสยปัจจัย
เป็นปัจจัยที่ให้เกิดปัจจยุบบันนธรรมได้มากกว่าปัจจัย
อื่น ๆ
องค์ธรรมก็มากมายหลายอย่าง
จนถึงกับได้ชื่อว่า มหาปเทสปัจจัย
ดังมีบาลี ในอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกาแสดงว่า
ปจฺจยมหาปเทโส
เหส ยทิทํ ปกตูปนิสฺสโย
ซึ่งแปลว่า ปกตูปนิสสยปัจจัยนี่แหละ
เรียกว่า ปัจจัยมหาปเทส
อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
อารัมมณูปนิสสยปัจจัยนี้
คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง
ๆ ทั้งหมดเหมือน กับอารัมมณาธิปติปัจจัย
๑.
อารมณ์
ต้องเป็นอารมณ์ ๖
อย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งเอาใจใส่เป็นพิเศษด้วย
ไม่ใช่เพียงแต่เอาใจใส่อย่างธรรมดา
๒.
ประเภท
นามรูป เป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นอารัมมณชาติ หมายความว่า
ปัจจัยธรรมนั้นได้แก่
อารมณ์นั่น เอง (แต่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษด้วย)
๔.
กาล
เป็นได้ทั้ง อดีต อนาคต
ปัจจุบัน และ กาลวิมุตติ
๕.
สัตติ
มีทั้ง ชนกสัตติ
และอุปถัมภกสัตติ
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ นิปผันนรูป ๑๘
ที่เป็นอิฏฐารมณ์,
จิต
๘๔ (เว้นโทสจิต
๒ โมหจิต ๒ ทุกขกายวิญญาณ ๑),
เจตสิก
๔๗ (เว้นโทสะ
อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ
วิจิกิจฉา)
และ
นิพพาน
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ โลภมูลจิต ๘,
มหากุสล
๘,
มหากิริยา
ญาณสัมปยุตต ๔,
โลกุตตรจิต
๘,
เจตสิก
๔๕ (เว้น
โทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ
วิจิกิจฉา อัปปมัญญา ๒)
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๒
และรูปทั้งหมด
ที่ไม่เป็นอิฏฐารมณ์
๗.
ความหมายโดยย่อ
อารัมมณูปนิสสยปัจจัย มี ๗
วาระ
(๑)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล
กุสลที่ได้บำเพ็ญมาแล้ว
อันได้แก่ กุสลจิต ๒๐ (เว้นอรหัตตมัคค)
ซึ่งทำให้ซาบซึ้งตรึงใจเป็นพิเศษก็ดี
ฌานที่ได้ที่ถึงแล้ว
อันได้แก่ มหัคคตกุสลจิต ๙
ก็ดี โคตรภูและโวทาน
อันได้แก่ มหากุสลญาณสัมปยุตตจิต
๔ ก็ดี และมัคคจิตเบื้องต่ำ ๓
อันเกิดขึ้นแล้วแก่พระเสกขบุคคลก็ดี
ธรรมเหล่านี้เป็น อารัมมณาธิปติปัจจัย
มหากุสลจิตที่พิจารณาธรรมนั้น
ๆ เป็นอารัมมณาธิปติปัจจ ยุบบันน
(๒)
กุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล
กุสลที่ได้บำเพ็ญมาแล้ว
อันได้แก่ โลกียกุสล ๑๗
เมื่อนึกถึงกุสลเหล่านี้โดยความเอาใจใส่เป็นพิเศษ
ก็เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย
อาจทำให้เกิด ราคะ ทิฏฐิ ได้
ราคะ ทิฏฐิ คือ อกุสลจิตที่เกิดขึ้นโดยอารมณ์เหล่านี้
เป็นอารัมมณาธิปติปัจจยุบบันน
(๓)
กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
กุสล คือ อรหัตตมัคค ๑ เป็นอารัมมณา
ธิปติปัจจัย มหากิริยาจิต(ในปัจจเวกขณะวิถี)
ที่พิจารณาอรหัตตมัคคนั้น
เป็นอารัมม ณาธิปติปัจจยุบบันน
(๔)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล
ผู้ที่เพลิดเพลินต่อราคะ ต่อทิฏฐิ
โดยความเอา ใจใส่เป็นพิเศษ
อันได้แก่ โลภจิต ๘ ดวงนั้น
เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย
ทำให้เกิด ราคะ ทิฏฐิ ขึ้นอีก
ราคะ ทิฏฐิ อันได้แก่
โลภมูลจิต ๘
ที่เกิดขึ้นอีกนี่แหละ เป็น
อารัมมณาธิปติปัจจยุบบันน
(๕)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
อรหัตตผลจิตก็ดี นิพพานก็ดี
เป็น อารัมมณาธิปติปัจจัย
มหากิริยาจิต (ในปัจจเวกขณะวิถี)
ที่พิจารณาอรหัตตผลจิตก็ดี
พิจารณานิพพานก็ดี เป็นอารัมมณาธิปติปัจจยุบบันน
(๖)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล
ผลจิตเบื้องต่ำ ๓ ก็ดี
นิพพานก็ดี เป็น อารัมมณาธิปติปัจจัย
มหากุสลจิตของพระเสกขบุคคล ๓
ที่พิจารณา(ปัจจเวกขณะ)
ผลจิตก็ดี
นิพพานก็ดี เป็นอารัมมณาธิปติปัจจยุบบันน
นิพพาน
เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย
โคตรภูของติเหตุกปุถุชน
โวทาน ของ พระเสกขบุคคล ๓
อันได้แก่ มหากุสลญาณสัมปยุตต
๔ และมัคคจิต ๔ ของมัคค บุคคล ๔
เป็นอารัมมณาธิปติปัจจยุบบันน
(๗)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล
เอาใจใส่เป็นพิเศษในวัตถุ ๖,
กามอารมณ์
๕,
โลกียวิบาก
๓๑(เว้นทุกขสหคตกายวิญญาณ
๑)
และ
กิริยาจิต ๒๐ เป็น อารัมมณาธิปติปัจจัย
เกิดความเพลิดเพลิน มีราคะ
ทิฏฐิ อันได้แก่ โลภจิต ๘ ขึ้น
เป็นอารัมมณาธิปติปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๘ ปัจจัย คือ
๑.
อารัมมณาธิปติปัจจัย
๒.
อารัมมณปัจจัย
๓.
วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๔.
อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๕.
อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๖.
อารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗.
อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘.
อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
อนันตรูปนิสสยปัจจัย
อนันตรูปนิสสยปัจจัยนี้
คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง
ๆ ทั้งหมด เหมือน กับอนันตรปัจจัย
๑.
อนันตร
หมายถึงว่า ไม่มีระหว่างคั่น
๒.
ประเภท
นามเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นอนันตรชาติ หมายความว่า
ปัจจัยธรรมนั้นช่วยอุปการะให้ปัจจ
ยุบบันนธรรมเกิดโดยไม่มีระหว่างคั่น
๔.
กาล
เป็นอดีตกาล หมายความว่า
ปัจจัยธรรมนั้นต้องดับไปเสียก่อน
จึง จะช่วยอุปการะให้ปัจจยุบบันนธรรมเกิดได้
๕.
สัตติ
เป็นชนกสัตติ แต่อย่างเดียว
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒
ที่เกิดก่อน (เว้นจุติจิต
ของพระอรหันต์)
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒
ที่เกิดทีหลัง รวมทั้ง
จุติจิตของพระอรหันต์ด้วย
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ รูปทั้งหมด
๗.
ความหมายโดยย่อ
อนันตรูปนิสสยปัจจัยนี้
เกี่ยวแก่วิถีจิตเป็นอย่างมาก
ถ้าได้นึกถึงวิถีจิตมาพิจารณาร่วมพร้อมกับปัจจัยนี้ด้วย
ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจ
ได้เป็นอย่างดี ปัจจัยนี้มี ๗
วาระ คือ
(๑)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล
โลกียกุสลชวนะ ๑๗
ดวงที่เกิดก่อน (เว้นชวนะ
ดวงสุดท้าย)
เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย
กุสลชวนะที่เกิดทีหลัง(เว้นชวนะดวงแรก)
อันได้แก่
กุสลชวนะ ๒๑ เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจยุบบันน
มีรายละเอียด เช่น
มหากุสล
๘
เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย
มหากุสล ๘
เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจยุบบันน
มหากุสล
๔
เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย
มัคคจิต ๔
เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจยุบบันน
มหากุสล
๔
เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย
มหัคคตกุสล
๙
เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจยุบบันน
มหัคคตกุสล๙
เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย
มหัคคตกุสล๙เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจยุบบันน
(๒)
กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
กุสลชวนะ ๒๑ ดวงสุดท้ายเป็น
อนันตรูป นิสสยปัจจัย ตทาลัมพนะ
๑๑,
มหัคคตวิบาก
๙,
ผลจิต
๔ เป็นอนันตรูปนิสสย ปัจจยุบบันน
มีรายละเอียด เช่น
มหากุสล
๘ เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย
ตทาลัมพนะ๑๑ ภวังคจิต ๑๙
เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจยุบบันน
มหัคคตกุสล
๙ เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย
ติเหตุกภวังคจิต ๑๓
เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจยุบบันน
มัคคจิต
๔
เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย
ผลจิต ๔
เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจยุบบันน
อนุโลมญาณ
๓
เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย
ผลสมาบัติ ๓
เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจยุบบันน
เนวสัญญาฯกุสล
๑
เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย
อนาคามิผล ๑
เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจยุบบันน
(๓)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล
อกุสลชวนะ ๑๒ ที่เกิดก่อน(เว้นดวงสุดท้าย)
เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย
อกุสลชวนะ ๑๒ ที่เกิดทีหลัง(เว้นดวงแรก)
เป็นอนันต
รูปนิสสยปัจจยุบบันน
(๔)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
อกุสลชวนะ ๑๒ ดวงสุดท้าย
เป็นอนันต รูปนิสสยปัจจัย
ตทาลัมพนะ ๑๑,
มหัคคตวิบาก
๙,
ภวังคจิต ๑๙ เป็นอนันตรูป
นิสสยปัจจยุบบันน
(๕)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
วิบากจิต ๓๖ (เว้นจุติจิตของพระ
อรหันต์)
กิริยาจิต
๒๐ ที่เกิดก่อน ๆ
เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย
วิบากจิต ๓๖,
กิริยาจิต
๒๐ ที่เกิดทีหลังนั้น
เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจยุบบันน
(๖)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล
มโนทวาราวัชชนจิต ๑
เป็นอนันตรูปนิสสย ปัจจัย
ชวนะดวงที่ ๑ ของมหากุสลจิต ๘
เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจยุบบันน
(๗)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล
มโนทวาราวัชชนจิต ๑
เป็นอนันตรูป นิสสยปัจจัย
ชวนะดวงที่ ๑ ของอกุสลจิต ๑๒
เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๗ ปัจจัย คือ
๑.
อนันตรปัจจัย
๒.
สมนันตรปัจจัย
๓.
อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๔.
อาเสวนปัจจัย
๕.
นานักขณิกกัมมปัจจัย
๖.
นัตถิปัจจัย
๗.
วิคตปัจจัย
ปกตูปนิสสยปัจจัย
๑.
ปกตูปนิสสย
มีความหมายว่า
การอิงอาศัยที่มีกำลังอย่างแรงกล้านั้น
เป็น
ไปอย่างปกติตามธรรมดาของสภาพธรรมนั้น
ๆ เอง
๒.
ประเภท
บัญญัติ นาม รูป เป็นปัจจัย
นามเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นปกตูปนิสสยชาติ ซึ่งมี ๒
ประเภท คือ
สุทธปกตูปนิสสยชาติ และ
มิสสกปกตูปนิสสยนานักขณิกกัมมชาติ
สุทธปกตูปนิสสยชาติ
หมายความว่า จิต เจตสิก
ที่เกิดก่อน ๆ และ รูป
บัญญัติที่มีกำลังมาก (พลวะ)
นั้นช่วยอุปการะแก่จิต
เจตสิก ที่เกิดทีหลัง
มิสสกปกตูปนิสสยนานักขณิกกัมมชาติ
หมายความว่า กุสลกรรม อกุสล
กรรม ที่มีกำลังมาก (เว้นมัคคเจตนา)
นั้นช่วยอุปการะแก่
วิบากนามขันธ์
๔.
กาล
เป็นปัจจุบัน อดีต อนาคต
และกาลวิมุตติ
๕.
สัตติ
มีชนกสัตติแต่อย่างเดียว
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒
ที่เกิดก่อนๆ,
รูป
๒๘
และบัญญัติที่เป็นชนิดที่มีกำลังมาก
(บัญญัตินั้นเว้น
อสุภบัญญัติ,
กสิณบัญญัติ,
โกฏฐาสบัญญัติ,
อานาปานบัญญัติ,
อากาสบัญญัติ,
นามบัญญัติ
เป็นต้น)
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒
ที่เกิดทีหลัง
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ รูปทั้งหมด
๗.
ความหมายโดยย่อ
ปกตูปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ
(๑)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล
กุสลจิต ๒๐ (เว้นอรหัตตมัคคจิต
๑)
ที่มีกำลัง
อย่างแรงกล้าเป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
กุสลจิต ๒๑
ที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยนั้น
เป็น ปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน
เช่น
สัทธา
สีล สุตะ จาคะ ปัญญา อันได้แก่
มหากุสลจิต ๘ เป็นปกตูปนิสสย
ปัจจัย กุสลจิต ๒๑ คือ
การบำเพ็ญทาน สีล ภาวนา
ที่เกิดขึ้นจากกุสลที่เป็นปัจจัย
นั้นตามควรแก่การกระทำนั้น ๆ
เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน
มหากุสล
ที่เจริญสมถภาวนา
เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
ฌานจิตที่เกิดขึ้นเพราะ
การเจริญภาวนานั้น
เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน
ฌานจิตเบื้องต่ำ
เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
ฌานจิตเบื้องสูงไปตามลำดับ
เป็น ปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน
มหากุสลในอธิฏฐานวิถีที่ปรารถนาจะให้อภิญญาจิตเกิด
เป็นปกตูปนิสสย ปัจจัย
ปัญจมฌานกุสลจิตที่ให้อภิญญาจิตเกิดขึ้นนั้น
เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน
มหากุสลที่เจริญวิปัสสนาภาวนา
เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
มัคคจิตที่เกิดขึ้น
เพราะการเจริญภาวนานั้นเป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน
มัคคจิตเบื้องต่ำ
เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
มัคคจิตเบื้องสูงไปตามลำดับ
เป็น ปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน
มัคคจิต
เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ มี
อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ และ
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ อัน
ได้แก่ ปัญญาในมหากุสล
เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน
(๒)
กุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล
โลกียกุสลจิต ๑๗
ที่มีกำลังอย่างแรงกล้าเป็น
ปกตูปนิสสยปัจจัย อกุสลจิต ๑๒
ที่เกิดโดยอาศัยกุสลนั้น
เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบ บันน
เช่น
อาศัย
สัทธา สีล สุตะ จาคะ ปัญญา
ในโลกียกุสลจิต ๑๗
อย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่มีกำลังอย่างแรงกล้า
เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
ทำให้เกิดมี ราคะ ทิฏฐิ มานะ
โมหะ และ โทมนัส ขึ้นได้
อกุสลจิตที่เกิดขึ้นเพราะเหตุดังกล่าวนี้แหละเป็นปกตูปนิสสย
ปัจจยุบบันน
(๓)
กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
กุสลจิต ๒๑
ที่มีกำลังอย่างแรงกล้า เป็น
ปกตูปนิสสยปัจจัยแก่
วิบากนามขันธ์ ๔ (ตามอภิธรรมนัย)
กุสลํกมฺมํ
วิปากสฺสอุป นิส ย.
ปจฺจเยนปจฺจโย
กุสลกัมม เป็นปัจจัยแก่
กุสลกัมมชรูป (ตาม
สุตตันตนัย)
เช่น
สัทธา สีล สุตะ จาคะ ปัญญา
ในกุสลจิต ๒๑
ที่มีกำลังอย่างแรงกล้า
เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
ย่อมทำให้เกิด ทุกขกาย สุขกาย
และ ผลสมาบัติ อันได้แก่
กายวิญญาณจิต ๒ ผลจิต ๔
เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน
และกุสลเจตนาอันแรง
กล้าเป็นปัจจัย แก่กัมมชรูป (อสัญญีสัตว์)
มหากุสลเจตนา
๘ ในอดีตภพ
นับถอยหลังตั้งแต่ชาติที่ ๒
เป็นต้นไป มหัคคตกุสลเจตนา ๙
ในอดีตภพ เฉพาะชาติที่ ๒
และมัคคเจตนาในชาตินี้ เป็น
ปกตูปนิสสยปัจจัย
กุสลวิบากจิต ๒๙ คือ
อเหตุกกุสลวิบากจิต ๘
มหาวิบาก ๘ มหัคคตวิบาก ๙
และผลจิต ๔
เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน
อรหัตตมัคคจิต
๑ ที่มีกำลังอย่างแรงกล้า
เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
การเข้า ฌานสมบัติ อันได้แก่
มหัคคตกิริยาจิต ๙ ก็ดี ,
การพิจารณาสังขารโดยความเป็น
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
อันได้แก่ มหากิริยา ๘ ก็ดี
การบรรลุปฏิสัมภิทาญาณ
อันได้แก่
ปัญญาในมหากิริยาก็ดี และ
อภิญญากิริยาจิต ๑,
ก็ดี
เหล่านี้เป็นปกตูป
นิสสยปัจจยุบบันน
มัคคจิต
๔ เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ผลจิต
๔ เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน
(๔)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล
อกุสลจิต ๑๒
ที่มีกำลังอย่างแรงกล้าเป็น
ปกตูปนิสสยปัจจัย อกุสลจิต ๑๒
เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน
ข้อนี้มีรายละเอียด มากมาย
แต่รวมได้ความว่า
อาศัย
ราคะ โทสะ โมหะ ทิฏฐิ มานะ
เป็นต้น อันได้แก่ อกุสลจิต
๑๒ หรือ อกุสลกรรมบถ ๑๐
ประการที่มีกำลังอย่างแรงกล้า
เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ก่อให้
เกิด ทุจจริตทางกายกรรม ๓
ทางวจีกรรม ๔ ทางมโนกรรม ๓
อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒
นั่นเอง
เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน
(๕)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล
อกุสลจิต ๑๒
ที่มีกำลังอย่างแรงกล้าเป็น
ปกตูปนิสสยปัจจัย กุสลจิต ๒๑
เป็น ปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน
เช่น
มีราคะ
ที่มีกำลังอย่างแรงกล้า
ปรารถนาภพที่ดี (ภวสมฺปตฺติ)
ปรารถนา
ทรัพย์สมบัติ (โภคสมฺปตฺติ)
อันได้แก่
โลภมูลจิต นั่นเอง
เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
จึงทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา
อันได้แก่ มหากุสลจิต ๘ ก็ดี
ยังฌานให้เกิดขึ้น
ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น
อันได้แก่ มหัคคตกุสลจิต ๙
ก็ดี ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น
อันได้แก่
รูปาวจรปัญจมฌานกุสลอภิญญาจิต
๑ ก็ดี ยังมัคคให้เกิดขึ้น
อันได้แก่ มัคคจิต ๔ ก็ดี
เหล่านี้ล้วนแต่เป็น
ปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน
ทั้งนั้น
อาศัย
โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ
ที่มีกำลังอย่างแรงกล้า
ประกอบอกุสลกรรม แล้ว
อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒
เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
มีความปรารถนาจะลบล้าง
ผลของกรรมนั้น ๆ จึงทำทาน
รักษาสีล เจริญภาวนา
อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ ดังนี้
เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน
(๖)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
อกุสลจิต ๑๒
ที่มีกำลังอย่างแรงกล้าเป็น
ปกตูปนิสสยปัจจัย วิบากจิต ๓๖
กิริยาจิต ๒๐
เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน
เช่น
บุคคลที่อาศัย
โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ
และความปรารถนาในภวสมบัติ
โภคสมบัติ อันได้แก่ อกุสลจิต
๑๒ ที่มีกำลังอย่างแรงกล้า
เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
ย่อมทำให้เกิดทุกขกาย
สุขกายก็ดี เกิดผลจิต ๔ ก็ดี
เกิดอกุสลวิบากจิต ๗ ก็ดี
เหล่านี้เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน
(๗)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
วิบากจิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐
และรูป ๒๘
เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
วิบากจิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐
เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบ บันน
เช่น
ความสุขกาย
ความทุกข์กาย อุตุ อาหาร
เสนาสนะ
เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
ช่วยอุปการะแก่ ความสุขกาย
ความทุกข์กาย ผลสมาบัติ (คือ
ผลจิต ๔)
เหล่านี้
เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน
ผลจิต
๔ เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
สุขสหคตกายวิญญาณ
เป็นปกตูปนิสสย ปัจจยุบบันน
พระอรหันต์
อาศัยความสุขกาย
หรือทุกข์กาย ตลอดจนความเย็น
ความร้อน อาหาร ที่อยู่อาศัย
อันเป็นที่สบายและไม่สบาย
เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
ย่อมยัง
สมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
ย่อมเข้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว
อันได้แก่ มหัคคตกิริยา จิต ๙,
ย่อมพิจารณาสังขาร
โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา อันได้แก่ มหา กิริยา ๘
เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
(๘)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล
วิบากจิต ๓๕ (เว้นอรหัตตผล
๑)
กิริยาจิต
๒๐ รูป ๒๘
เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
กุสลจิต ๒๑
เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน
เช่น
อาศัยความสุขกาย
ทุกข์กาย อุตุ อาหาร เสนาสนะ
อันเป็นที่สบายเป็น
ปกตูปนิสสยปัจจัย สัทธา
ได้แก่ สัทธาเจตสิก ๑,
สีล
ได้แก่ วีรตีเจตสิก ๓,
สุตะ
ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ๑,
จาคะ
ได้แก่ อโลภเจตสิก ๑,
ปัญญา
ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ๑
ที่ในกุสลจิต ๒๑
เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน
อาศัยความสุขกาย
ทุกข์กาย อุตุ อาหาร เสนาสนะ
อันเป็นที่สบายเป็น
ปกตูปนิสสยปัจจัยจึงทำทาน
รักษาสีล เจริญภาวนา
ยังฌานให้เกิดขึ้น
ยังสมาบัติให้ เกิดขึ้น
ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น
ยังมัคคให้เกิดขึ้น
อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑
เป็นปกตูป นิสสยปัจจยุบบันน
(๙)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล
โลกียวิบากจิต ๓๒ อาวัชชนจิต
๒ รูป ๒๘
เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
อกุสลจิต ๑๒
เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน
อาศัยความสุขกาย
ทุกข์กาย อาศัย อุตุ อาหาร
เสนาสนะ เป็นปกตูปนิสสย
ปัจจัย จึงกระทำทุจจริตธรรม
คือ อกุสลกรรมบถ ๑๐
มีกายทุจจริต ๓ วจีทุจจริต ๔
มโนทุจจริต ๓ อันได้แก่ อกุสล
๑๒ นั่นเอง
เป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๒ ปัจจัยเท่านั้น คือ
๑.
ปกตูปนิสสยปัจจัย
๒.
นานักขณิกกัมมปัจจัย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ