ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
องค์ที่
๑๒ ชรา มรณะ
ชรา
มรณะ ที่เป็นองค์ที่ ๑๒ นี้
ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดปัจจยุบบันนธรรมตาม
นัยแห่งปฏิจจสมุปปาทนี้
ที่ไม่เป็นปัจจัยเพราะเหตุใดนั้น
จะได้กล่าวต่อไปข้างหน้า
ตอนนี้จะกล่าวถึงลักขณาทิจตุกะของชรา
และมรณะก่อน
ชรา
มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
ขนฺธปริปาก
ลกฺขณา
มีความแก่ความเสื่อมของขันธ์
ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันภพ
เป็นลักษณะ
มรณูปนยน
รสา
มีการนำเข้าไปใกล้ความตาย
เป็นกิจ
โยพฺพนฺนวินาส
ปจฺจุปฏฺฐานา
มีการทำลายวัยที่ดี
เป็นอาการปรากฏ
ปริปจฺจมาน
รูป ปทฏฺฐานา
มีรูปที่กำลังแก่
เป็นเหตุใกล้
มรณะ
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
จุติ
ลกฺขณํ
มีการเคลื่อนย้ายจากภพที่ปรากฏอยู่
เป็นลักษณะ
วิโยค
รสํ
มีการจากสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งปวง
บรรดาที่เคยพบเห็นกันในภพนี้
เป็นกิจ
คติวิปฺปลาส
ปจฺจุปฏฺฐานํ
มีการย้ายที่อยู่จากภพเก่า
เป็นอาการปรากฏ
ปริภิชฺชมาน
นามรูป ปทฏฺฐานํ
มีนามรูปที่กำลังดับ
เป็นเหตุใกล้
ในบทก่อน
ชรา อันเป็นปัจจยุบบันนธรรมของชาตินั้น
ได้แก่ ความเก่าแก่
เสื่อมโทรมของวิบากนามขันธ์
๔ และ กัมมชรูป
มรณะ
อันเป็นปัจจยุบบันนธรรมของชาตินั้น
ได้แก่
อาการที่กำลังดับไปของ วิบาก
นามขันธ์ ๔ และกัมมชรูป
ในบทนี้
ชรา มรณะ ก็ได้แก่
ความเก่าแก่เสื่อมโทรมและอาการที่กำลังดับไป
ของวิบากนามขันธ์ ๔ และกัมมชรูป
เหมือนกับบทก่อนนั่นเอง
ชรา
มรณะ อันเป็นปัจจยุบบันนธรรมของชาตินี้
เมื่อมีชาติคือความเกิดขึ้น
แล้วก็เป็นที่แน่นอนว่าจะต้องชรา
และมรณะเป็นที่สุด
แต่ถ้าชาติ คือการเกิดขึ้น
ไม่ปรากฏขึ้นแล้ว ชรา มรณะ
ก็จะปรากฏไม่ได้
ชรา
นับว่ามี ๒ คือ รูปชรา
และนามชรา
รูปชรา
หมายถึง
ความชราของรูปที่เกิดขึ้นตามวัย
โดยมีอาการปรากฏให้เห็น
ด้วยนัยน์ตา เช่น ฟันหัก
ผมหงอก หนังเหี่ยว หลังโกง
เป็นต้น อย่างนี้ชื่อว่า วโย
วุทธิชรา ซึ่งเป็นบัญญัติ
เป็นความชราที่ปรากฏชัด (ปากฏชรา)
เป็นความชรา
ที่เปิดเผย คือไม่ปกปิด (อัปปฏิจฉันนชรา)
อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า
ปรมัตถชรา หรือ ขณิกชรา
ซึ่งได้แก่ ฐีติขณะของรูป
เป็นความชราที่ปกปิด
ไม่เปิดเผย (ปฏิจฉันนชรา)
เป็นความชราที่ไม่ปรากฏ
คือ
ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยนัยน์ตา
(อปากฏชรา)
รูปชรานี้ยังจำแนกออกได้เป็น
๒ คือ อภิกฺกมชรา
แก่ขึ้น และปฏิกฺกมชรา
แก่ลง
ผู้ที่อยู่ในวัยที่
๑ มันททสกวัย วัยอ่อน
จนถึงวัยที่ ๔ พลทสกวัย
วัยที่มีกำลัง นั้นเรียกว่า อภิกฺกมชรา
คือกำลังแก่ขึ้น
ส่วนผู้ที่เลยวัยที่
๔ พลทสกวัยไปแล้วนั้นเรียกว่า
ปฏิกฺกมชรา คือกำลังแก่ลง
นามชรา
ได้แก่ ฐีติขณะของนามธรรม คือ
ปรมัตถชรา หรือ ขณิกชรา หรือ
ปฏิจฉันนชรา นั่นเอง
เป็นความชราที่มองด้วยนัยน์ตาไม่เห็น
มรณะ
ก็นับว่ามี ๒ คือ รูปมรณะ
และนามมรณะ
รูปมรณะ
หมายถึง ความดับไปของรูป
ที่เรียกว่าภังคขณะ
ซึ่งในที่นี้หมายถึง
สมมติมรณะ ที่เรียกกันว่า
คนตาย สัตว์ตาย เป็นต้น
นั้นด้วย
นามมรณะ
ก็คือความดับไปของนามขันธ์
๔ เรียกว่า ภังคขณะ
สรุปอย่างย่อที่สุดก็ว่า
อุปาทขณะ
ของวิบากนามขันธ์
๔ และกัมมชรูป
ชื่อว่า
ชาติ
ฐีติขณะ
ของวิบากนามขันธ์
๔ และกัมมชรูป
ชื่อว่า
ชรา
ภังคขณะ
ของวิบากนามขันธ์
๔ และกัมมชรูป
ชื่อว่า
มรณะ
อนึ่ง
คำว่า มรณะ หรือ ตาย นี้
มีคำที่ใช้ในความหมายนี้หลายคำด้วยกันเป็นต้นว่า
จุติ
ตาย
จวนตา
การเคลื่อนไป
เภโท
การทำลายไป
อันตรธาน
การสูญไป
มัจจุ
ความตาย
กาลกิริยา
การทำกาละ
ขันธานัง
เภโท
ความแตกแห่งขันธ์
กเลวรัสส
นิกเขโป
การทอดทิ้งสรีระร่างกาย
ชีวิตินทริยยัสส
อุปัจเฉโท
การขาดไปซึ่งชีวิตินทรีย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ