ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
การสะดุดหยุดลงแห่งวัฏฏะ
และ สมุฏฐานของอวิชชา
การหมุนวนแห่ง
สังสารวัฏฏะจะสะดุดหยุดลง
และความเจริญอยู่ของอวิชชา
นั้น
วัฏฏะจะหยุดการหมุนวนก็เพราะความดับแห่งมูลทั้ง
๒ นั้น
อนึ่ง
อวิชชา จะเจริญอยู่ได้
ก็เพราะความบังเกิดขึ้นแห่ง
อาสวะทั้งหลายของ เหล่าสัตว์
ผู้สยบด้วยชรามรณะบีบคั้นอยู่เป็นนิจ
มีอธิบายด้วยการอุปมาว่า
ต้นไม้ทั้งหลายที่เจริญงอกงามอยู่ได้
ก็ด้วยอาศัยราก แก้ว
ถ้าทำลายรากแก้วเสียแล้ว
ต้นไม้นั้นจะเหี่ยวแห้งลง
และในที่สุดก็ตายไปอย่าง
แน่นอน สัตว์ทั้งหลาย คือ
รูปนามนี้ที่เจริญอยู่ในสังสารวัฏฏโดยไม่มีที่สิ้นสุดนั้น
ก็ เพราะอำนาจแห่งอวิชชา
และตัณหา ต่อเมื่อใดอวิชชา
และตัณหา อันเป็นมูลทั้ง ๒
นี้ถูกทำลายให้สูญไปได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว
ความเจริญของรูปนามอันได้แก่
ความเวียน
ว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย
ก็เป็นอันสิ้นสุดลงเมื่อนั้น
เมื่อกล่าวถึง
สมุฏฐานของอวิชชา
อวิชชาจะเจริญอยู่ได้ก็เพราะความบังเกิด
ขึ้นแห่งอาสวะทั้งหลาย
ซึ่งมีความหมายชัดอยู่แล้วว่า
สมุฏฐานของอวิชชา ก็คือ
อาสวะทั้ง ๔ อันได้แก่
กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ และ
อวิชชาสวะ นั่นเอง
ก็เมื่อ
อาสวะ เป็นปัจจัยให้เกิด
อวิชชาแล้ว
ธรรมใดเล่าที่เป็นสาเหตุให้เกิด
อาสวะ
มีคำแก้ว่า
อาสวะนั้นย่อมมีอยู่ใน ตัณหา
อุปาทาน กัมมภพ เป็นประจำ ตาม
ควรแก่ที่จะมีได้อยู่แล้ว
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า
ธรรมที่เป็นเหตุให้ ตัณหา
อุปาทาน กุสล อกุสล กัมมภพ
ที่เกิดขึ้นนั่นแหละ
เป็นสาเหตุแห่ง อาสวะ
การที่อวิชชาเกิดขึ้นหรือปรากฏขึ้น
ก็เพราะอาศัยการเกิดขึ้นแห่งอาสวะนั้น
เป็นปัจจัยเช่นนี้แล้ว
เหตุใดจึงยกเอาอวิชชาขึ้นกล่าวไว้เป็นเหตุแรกในปฏิจจสมุป
ปาทนี้
ปฏิจจสมุปปาทนี้เป็นตัววัฏฏะติดต่อกันเป็นวงกลม
อันว่าวงกลมนั้นจะกล่าว อ้าง
ว่าตรงไหนเป็นต้นเป็นปลายไม่ได้
แต่ที่ยกเอาอวิชชาขึ้นกล่าวก่อนธรรมองค์
อื่นนั้น
ไม่ใช่อวิชชาเป็นต้นของวัฏฏะ
หรือเป็นองค์ที่เกิดก่อน
หากเป็นเพราะ
อวิชชานี้เป็นตัวประธาน
เป็นตัวสำคัญ
เป็นรากเง้าเค้ามูลที่ก่อให้เกิดมี
วัฏฏะ คือ
การหมุนวนเป็นวงกลมขึ้น
ถ้าไม่มีอวิชชา
อันเป็นตัวสำคัญนี้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ปฏิจจสมุปปาทอีก ๑๑ องค์
ก็จะไม่ปรากฏเกิดขึ้นได้เลย
ดังนั้น
สมเด็จพระมหามุนี
ทรงแสดงว่า
วัฏฏะอันหาเบื้องต้นมิได้
ซึ่งเป็นไปในภูมิ ทั้ง ๓
มีอาการเกี่ยวพันกันอย่างไม่ขาดสาย
ดังที่บรรยายมาฉะนี้ว่า ปฏิจจสมุปปาท
จิตฺเต
สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคฺคติ ปฏิกงฺขา
เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว
ทุคคติย่อมหวังได้
จิตฺเต
อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปฏิกงฺขา
เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง
สุคติย่อมหวังได้
รู้อะไรก็ไม่สู้เท่ารู้ตัว
ไม่พันพัวอกุสลพ้นอุบาย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ