ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
๑๓.
กัมมปัจจัย
กรรม
หมายถึง การจงใจกระทำ
องค์ธรรมได้แก่ เจตนาเจตสิก
ดังที่ อัฏฐ
สาลินีอรรถกถาแสดงไว้ว่า เจตนาหํ
ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ เจตยิตฺวา
กมฺมํ กาเยน วาจาย มนสา
ซึ่งแปลเป็นใจความว่า
ภิกษุทั้งหลาย เรา(ตถาคต)
กล่าวว่า
เจตนานั่นแหละ เป็นกรรม
เมื่อมีเจตนาแล้ว
บุคคลย่อมกระทำกรรมโดยทางกาย
ทางวาจา และทางใจ
เจตนา
ที่เป็นตัวกรรมนั้น มี
กิจฺจ
หรือ สตฺติ
อำนาจหน้าที่
๒ อย่าง คือ
๑.
เจตนา
คือ ความจงใจในสัมปยุตตธรรม
ที่เป็น กุสล อกุสล วิบาก
กิริยา ทุก ๆ
ขณะที่เกิดขึ้นนั้นเป็นปัจจัย
ช่วยอุปการะให้เกิดกุสลนามขันธ์
๔,
อกุสล
นามขันธ์ ๔,
วิบากนามขันธ์
๔ และ กิริยานามขันธ์ ๔
ดังนี้เรียกตาม กิจ หรือ
สัตติ คือ
อำนาจหน้าที่ว่าเป็น สังวิธานกิจ
หมายความว่า จงใจปรุงแต่ง
จัดแจง ให้สำเร็จกิจนั้น ๆ
เรียกตามปัจจัย
คือตามความอุปการะช่วยเหลือก็เป็น
สหชาต
กัมมปัจจัย หมายถึง
เจตนาที่เกิดพร้อมในขณะเดียวกันกับสัมปยุตตธรรม
คือ เกิด ในกาลปัจจุบัน
๒.
เจตนา
คือ ความจงใจในสัมปยุตตธรรม เฉพาะที่เป็นกุสลและอกุสล
เท่านั้น
ที่ดับไปแล้ว
แต่อำนาจแห่งเจตนานั้นเป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้เกิดผลวิบาก
และกัมมชรูปในอนาคตอย่างนี้เรียกตามกิจหรือสัตติ
อำนาจหน้าที่ว่าเป็น พีชนิธาน
กิจ
หมายความว่า
ยังให้เกิดพืชพันธุ์ขึ้น
เรียกตามปัจจัย คือ
ตามความอุปการะ ช่วยเหลือ
ว่าเป็น นานักขณิกกัมมปัจจัย
หมายถึงเจตนาที่เกิดในขณะที่ต่าง
ๆ กัน เกิดในกาลอนาคต
ที่เป็นปฏิสนธิกาลก็ได้
ที่เป็นปวัตติกาลก็ได้
รวมได้ความว่า
กัมมปัจจัยนี้
จำแนกออกได้เป็น ๒ คือ สหชาตกัมมปัจจัย
และ นานักขณิกกัมมปัจจัย
แต่ละปัจจัยมีความหมายสั้น ๆ
ดังนี้
ก.
เจตนา
ที่สัมปยุตตกับสหชาตธรรม
เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นาม
คือ จิต เจตสิก และแก่รูป
ที่เกิดพร้อมกับเจตนานั้น
อย่างนี้ได้ชื่อว่า สหชาตกัมมปัจจัย
ข.
เจตนาที่ต่างขณะกัน
คือ เจตนานั้น หรือกรรมนั้น
หรือสหชาตกัมมนั้น
ได้ดับไปแล้ว
เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามและแก่รูปที่เกิดขึ้นในอนาคต
โดยอาศัย
อำนาจแห่งกรรมที่ดับไปแล้วนั้น
อย่างนี้ได้ชื่อว่า นานักขณิกกัมมปัจจัย
สหชาตกัมมปัจจัย
๑.
สหชาตกัมม
หมายความว่า
เจตนาที่เกิดพร้อม
๒.
ประเภท
นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นสหชาตชาติ หมายความว่า
ปัจจัยธรรมกับปัจจยุบบันนธรรม
เกิดพร้อมกันในจิตดวงเดียวกัน
๔.
กาล
เป็นปัจจุบัน
หมายความว่าทั้งปัจจัยและปัจจยุบบันน
ต่างก็ยังไม่ทัน ดับไป
๕.
สัตติ
มีทั้ง ชนกสัตติ
และอุปถัมภกสัตติ
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ เจตนาเจตสิก ๘๙
ที่ในจิต ๘๙
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๑(เว้นเจตนา)
จิตตชรูป
ปฏิสนธิกัมมชรูป
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ เจตนาเจตสิก ๘๙
ที่ในจิต ๘๙,
และพาหิรรูป,
อาหารชรูป,
อุตุชรูป,
อสัญญสัตตกัมมชรูป,
ปวัตติกัมมชรูป
๗.
ความหมายโดยย่อ
สหชาตกัมมปัจจัยนี้มี ๗ วาระ
(๑)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล
เจตนาเจตสิก ๒๑ ที่ในกุสลจิต
๒๑ เป็นสหชาต กัมมปัจจัย
กุสลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๗ (เว้นเจตนา)
เป็นสหชาตกัมมปัจจยุบบันน
(๒)
กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
เจตนาเจตสิก ๒๑ ที่ในกุสลจิต
๒๑ ใน ปัญจโวการภูมิ
เป็นสหชาตปัจจัย จิตตชรูปที่มีกุสลนามขันธ์
๔ เป็นสมุฏฐานนั้น เป็นสหชาตกัมมปัจจยุบบันน
(๓)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย
เจตนาเจตสิก ๒๑ ที่ใน กุสลจิต
๒๑ ในปัญจโวการภูมิ เป็นสหชาตกัมมปัจจัย
กุสลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๗ (เว้นเจตนา)
ด้วย
และจิตตชรูป
ซึ่งมีกุสลนามขันธ์ ๔
เป็นสมุฏฐานนั้นด้วย เป็น
สหชาตกัมมปัจจยุบบันน
(๔)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล
เจตนาเจตสิก ๑๒ ที่ในอกุสลจิต
๑๒ เป็น สหชาตกัมมปัจจัย อกุสลจิต
๑๒ เจตสิก ๒๖ (เว้นเจตนา)
เป็นสหชาตกัมม
ปัจจยุบบันน
(๕)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
เจตนาเจตสิก ๑๒ ที่ในอกุสลจิต
๑๒ ใน ปัญจโวการภูมิ
เป็นสหชาตกัมมปัจจัย จิตตชรูป
ซึ่งมีอกุสลนามขันธ์ ๔ เป็นสมุฏ
ฐานนั้น เป็นสหชาตกัมมปัจจยุบบันน
(๖)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย
เจตนาเจตสิก ๑๒ ที่ใน อกุสลจิต
๑๒ ในปัญจโวการภูมิ เป็นสหชาตกัมมปัจจัย
อกุสลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๖ (เว้นเจตนา)
ด้วย
และจิตตชรูป ซึ่งมีอกุสลนามขันธ์
๔ เป็นสมุฏฐานนั้นด้วย
เป็นสหชาตกัมมปัจจยุบบันน
(๗)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
เจตนาเจตสิกที่ในวิบากจิต ๓๖
และ ที่ในกิริยาจิต ๒๐ ในปวัตติกาลและในปฏิสนธิกาลตามสมควร
เป็นสหชาตกัมม ปัจจัย
วิบากจิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐
เจตสิก ๓๗(เว้นเจตนา)
วิบากจิตตชรูป
กิริยา จิตตชรูป ในปวัตติกาล
และปฏิสนธิกัมมชรูป
ในปฏิสนธิกาล เป็นสหชาตกัมม
ปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๑๐ ปัจจัย คือ
๑.
สหชาตกัมมปัจจัย
๒.
สหชาตปัจจัย
๓.
อัญญมัญญปัจจัย
๔.
สหชาตนิสสยปัจจัย
๕.
วิปากปัจจัย
๖.
นามอาหารปัจจัย
๗.
สัมปยุตตปัจจัย
๘.
สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๙.
สหชาตัตถิปัจจัย
๑๐.
สหชาตอวิคตปัจจัย
นานักขณิกกัมมปัจจัย
เมื่อขณะกระทำทุจจริตก็ดี
สุจริตก็ดี
เจตนาที่เกิดพร้อมกับอกุสลจิตหรือกุสล
จิตนั้น เป็นสหชาตกัมมปัจจัย
ครั้นอกุสลจิตหรือกุสลจิตพร้อมด้วยเจตนานั้น
ๆ ดับ ไปแล้ว
เจตนานั้นก็มีสภาพกลับกลายเป็น
นานักขณิกกัมมปัจจัย
มีอำนาจหน้าที่
ให้บังคับผลแก่ผู้นั้นในอนาคตกาล
ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า
ทั้งในปวัตติกาล และ
ปฏิสนธิกาล
นานักขณิกกรรม
ที่เป็นกุสล อกุสลนั้น
มีอยู่ในสันดานด้วยกันทั้งนั้น
แต่เมื่อ
ขณะที่จะส่งผลให้ปรากฏขึ้น
ย่อมอาศัย กาล คติ อุปธิ และ
ปโยคะ เป็นเครื่อง ประกอบด้วย
คือ
ก.
กาล
หมายถึง คราว สมัย
ในสมัยใดที่พระพุทธศาสนารุ่งเรือง
ผู้ปกครอง
ประเทศปกครองด้วยความมีสีลธรรมเป็นที่ตั้ง
อย่างนี้เรียกว่า
กาลสัมปัตติ ถ้าเป็น
ไปอย่างตรงกันข้าม
ก็เรียกว่า กาลวิปัตติ
ข.
คติ
หมายถึงว่า
ผู้ที่เกิดอยู่ในสุคติภูมิ
มีมนุษย์ เทวดา พรหม
ก็เรียกว่า คติสัมปัตติ
ผู้ที่เกิดในทุคคติภูมิ
เป็นสัตว์นรก สัตว์ดิรัจฉาน
เปรต อสุรกาย เหล่านี้
เรียกว่า คติวิปัตติ
ค.
อุปธิ
หมายถึง ผู้มีอวัยวะ หรือ
อายตนะ มีหู ตา เป็นต้น
ครบถ้วน บริบูรณ์ เรียกว่า
อุปธิสัมปัตติ
ถ้าขาดตกบกพร่อง ไม่สมบูรณ์
ก็เรียกว่า อุปธิวิปัตติ
ง.
ปโยคะ
หมายถึง ความเพียร
ผู้ที่เพียรชอบ ประกอบแต่กาย
วาจา ใจ สุจริต
เช่นนี้เรียกว่า ปโยคสัมปัตติ
ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น
ก็เรียกว่า ปโยควิปัตติ
ในปวัตติกาล
ขณะใดเป็นผู้มีสัมปัตติ
ขณะนั้นนานักขณิกกรรมกุสล
ย่อมได้
โอกาสที่จะส่งผลให้ผู้นั้นได้ประสบกับอารมณ์ที่เป็นอิฏฐารมณ์
พร้อมทั้งได้รับกัมมช รูป
อันเป็นที่น่ารักน่าปรารถนา
ถ้าขณะใดมีวิปัตติ
ขณะนั้นนานักขณิกกรรมที่เป็น
อกุสล
ย่อมได้โอกาสส่งผลให้ผู้นั้นประสบกับอนิฏฐารมณ์
พร้อมทั้งได้รับกัมมชรูป
ที่ไม่น่ารักน่าปรารถนา
ส่วนในปฏิสนธิกาล
สัตว์ทั้งหลายย่อมได้รับทันที
ในขณะที่ปฏิสนธิ คือ อกุสลนานักขณิกกรรมก็ส่งผลให้ปฏิสนธิในอบายภูมิ
ถ้าเป็นกุสลนานักขณิกกรรม
ก็ส่งผลให้ปฏิสนธิเป็น
มนุษย์ เทวดา พรหม
ตามสมควรแก่กรรมของตนในอดีต
๑.
นานักขณิกกรรม
หมายความว่า
เจตนาในขณะที่ต่างกัน
๒.
ประเภท
นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
ในปัจจัยนี้ มีถึง ๓ ชาติ คือ
ก.
อนันตรูปนิสสยปกตูปชาติ
หมายความว่า ปัจจัยธรรมกับปัจจยุบบันน
ธรรมนั้นเกิดติดต่อกัน
โดยไม่มีระหว่างคั่นนั้นอย่างหนึ่ง
ปัจจัยธรรมนี้เป็นที่อาศัย
อันมีกำลัง อย่างแรงกล้าแก่ปัจจยุบบันนธรรมอย่างหนึ่ง
และปัจจัยธรรมอันเป็นที่
อาศัยอย่างแรงกล้าที่ได้ทำมาแล้วด้วยดีนั้น
ช่วยอุปการะแก่ปัจจยุบบันนธรรมอีก
อย่างหนึ่ง ทั้ง ๓ นี้ ได้แก่
มัคคเจตนาที่เป็นปัจจัยให้เกิดผลจิต
ข.
ปกตูปนิสสยชาติ
หมายความว่า
ปัจจัยธรรมอันเป็นที่อาศัยอย่างแรงกล้า
ที่ ได้ทำมาแล้วด้วยดีนั้น
ช่วยอุปการะแก่ปัจจยุบบันนธรรมให้เกิดขึ้น
ได้แก่ เจตนา
เจตสิกที่มีกำลังมากช่วยอุปการะให้เกิดวิบากนามขันธ์
๔
ค.
นานักขณิกกัมมชาติ
หมายความว่า
ปัจจัยธรรมที่เป็นอดีต คือ
ที่ดับไป แล้วนั้น
มีอำนาจให้เกิดปัจจยุบบันนธรรมในภายหลัง
ได้แก่
เจตนาเจตสิกที่มีกำลัง น้อย(ทุพละ)
เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กามวิบากจิตให้เกิดขึ้น
และเจตสิกที่มีกำลัง มาก(พลวะ)
และกำลังน้อย(ทุพละ)
เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กัมมชรูปให้เกิดขึ้น
๔.
กาล
เป็นอดีตกาล
๕.
สัตติ
เป็นชนกสัตติ แต่อย่างเดียว
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ เจตนาเจตสิกที่ในอกุสลจิต
๑๒ และที่ใน กุสลจิต ๒๑
ที่เป็นอดีต คือ
ที่ได้ดับไปแล้ว
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ วิบากจิต ๓๖ เจตสิก ๓๘
ปฏิสนธิกัมมช รูป อสัญญสัตตกัมมชรูป
ปวัตติกัมมชรูป
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ กุสลจิต ๒๑
กิริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๕๒ จิตตชรูป
พาหิรรูป อาหารชรูป อุตุชรูป
๗.
ความหมายโดยย่อ
นานักขณิกกัมมปัจจัยนี้ มี ๒
วาระ
(๑)
กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
กุสลเจตนา ๒๑ ในกุสลนามขันธ์
๔ ที่เป็น อดีต เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย
กุสลวิบากจิต ๒๙ เจตสิก ๓๘ และกัมมชรูป
เป็น นานักขณิกกัมมปัจจยุบบันน
(๒)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
อกุสลเจตนา ๑๒ ในอกุสลนามขันธ์
๔ ที่เป็นอดีต เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย
อกุสลวิบากจิต ๗ อัญญสมานาเจตสิก
๑๐ (เว้น
วิริยะ ปิติ ฉันทะ)
และกัมมชรูป
เป็นนานักขณิกกัมมปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๗ ปัจจัย คือ
๑.
นานักขณิกกัมมปัจจัย
๒.
อนันตรปัจจัย
๓.
สมนันตรปัจจัย
๔.
อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๕.
ปกตูปนิสสยปัจจัย
๖.
นัตถิปัจจัย
๗.
วิคตปัจจัย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ