ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
องค์ที่
๙ อุปาทาน
อุปาทานเป็นปัจจัยแก่ภพ
คือภพจะปรากฏเกิดมีขึ้นได้ก็เพราะ
อุปาทาน เป็นปัจจัย อุปาทาน
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
คหณ
ลกฺขณํ
มีการยึดไว้
เป็นลักษณะ
อมุญฺจน
รสํ
มีการไม่ปล่อย
เป็นกิจ
ตณฺหาทพฺหตฺตทิฏฺฐิ
ปจฺจุปฏฺฐานํ
มีตัณหาที่มีกำลังอย่างมั่นคง
และมีความเห็นผิด เป็นผล
ตณฺหา
ปทฏฺฐานํ
มีตัณหา
เป็นเหตุใกล้
ในบทก่อนอุปาทานที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของตัณหานั้น
ได้แก่ อุปาทาน ๔
ในบทนี้
อุปาทานที่เป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้เกิดภพ
ก็ได้แก่ อุปาทาน ๔
นั้นเหมือนกัน
ภพ
อันเป็นปัจจยุบบันนธรรมของอุปาทานนี้
ได้แก่ ภพ ๒ คือ กัมมภพ
และอุปปัตติภพ
กัมมภพ
การปรุงแต่งที่ทำให้เกิดปัจจยุบบันนธรรมขึ้นนั้น
ได้แก่ กรรม ๒๙ หรือ เจตนา ๒๙
คือ อกุสลเจตนา ๑๒ และโลกียกุสลเจตนา
๑๗ กล่าวอย่าง ธรรมดาสามัญ
กัมมภพ
ก็คือการทำบาปและการบำเพ็ญบุญนั่นเอง
อุปปัตติภพ
หมายถึง ปัจจยุบบันนธรรมที่เกิดปรากฏขึ้นในภพนั้น
ๆ โดย อาศัยกัมมภพเป็นปัจจัย
ดังนั้น อุปปัตติภพ ได้แก่
โลกียวิปากวิญญาณ ๓๒ เจตสิก
๓๕ กัมมชรูป ๑๘ หรือ ๒๐
กล่าวอย่างธรรมดาสามัญ ก็คือ
เมื่อได้ทำกรรม (กัมมภพ)
แล้วก็มาได้รับผล
(อุปปัตติภพ)
โดยเกิดเป็นสัตว์ใน
๓๑ ภูมิ ตามควร แก่กรรม
พร้อมทั้งมีการเห็น
การได้ยิน การได้กลิ่น
การรู้รส การสัมผัสถูกต้อง
และการนึกคิด
ตามควรแก่อัตภาพของตน
ในภพทั้ง
๒ คือ กัมมภพ
และอุปปัตติภพนี้
ก็ยังเป็นเหตุผลแก่กันและกันได้
อีกด้วย คือ
กล่าวโดย
กัมมภพเป็นเหตุ
อุปปัตติภพเป็นผล
ก็มีความหมายว่า เพราะได้
กระทำกรรมดีและกรรมชั่ว คือ
มีกัมมภพมาก่อน
จึงปรากฏผลได้เกิดมามีขันธ์
๕ หรือขันธ์ ๔ หรือขันธ์ ๑
ตามควรแก่กรรมนั้น ๆ
การได้เกิดมามีขันธ์นี่แหละ
คือ อุปปัตติภพ
กล่าวโดย
อุปปัตติภพเป็นเหตุ
กัมมภพเป็นผล
ก็มีความหมายว่า เมื่อได้
เกิดมามีขันธ์ ๕ หรือขันธ์ ๔
คือมีอุปปัตติภพเป็นเหตุ
จึงปรากฏผลให้มีกัมมภพ คือ
การกระทำกรรมดีกรรมชั่วทั้งหลายทั้งทางกาย
วาจา ใจ
ถ้าไม่มีอุปปัตติภพแล้ว กัมมภพก็ไม่ปรากฏ
อนึ่ง
สังขารที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของอวิชชา
กับกัมมภพที่เป็นปัจจยุบ
บันนธรรมของอุปาทานนี้
กล่าวโดยองค์ธรรมแล้ว
ก็ได้แก่ เจตนา ๒๙ เหมือนกัน
ถึงกระนั้นก็มีความแตกต่างกันอยู่
คือ
เมื่อกล่าวโดย
ตโยอัทธา คือ กาล ๓ แล้ว เจตนา
๒๙ ที่เกิดขึ้นในอดีตภพ
ซึ่งเป็นปัจจัยให้อุปาทานขันธ์ปรากฏเกิดขึ้นในปัจจุบันภพนี้นั้น
ชื่อว่า สังขาร
เจตนา
๒๙
ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันภพนี้
ซึ่งเป็นปัจจัยให้อุปาทานขันธ์ปรากฏ
เกิดขึ้นในอนาคตภพนั้น
ชื่อว่า กัมมภพ
บุพพเจตนา
ที่เกิดขึ้นก่อนการกระทำ
กุสล อกุสล นั้น ชื่อว่า
สังขาร
มุญจเจตนา
ที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังกระทำกุสล
อกุสลอยู่นั้น ชื่อว่า กัมมภพ
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ