ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
องค์ที่
๖ ผัสสะ
ผัสสะ
เป็นปัจจัยแก่ เวทนา
คือ
เวทนาจะปรากฏขึ้นได้ก็เพราะมีผัสสะเป็น
ปัจจัย ผัสสะมีลักขณาทิจตุกะ
ดังนี้
ผุสน
ลกฺขโณ
มีการกระทบอารมณ์
เป็นลักษณะ
สงฺฆฏฺฏน
รโส
มีการประสานจิตกับอารมณ์
เป็นกิจ
สงฺคติ
ปจฺจุปฏฺฐาโน
มีการประชุมร่วมพร้อมกันระหว่างวัตถุ
อารมณ์และ วิญญาณ เป็นผล
สฬายตน
ปทฏฺฐาโน
มีอัชฌัตติกายตนะ
๖ เป็นเหตุใกล้
ในบทก่อน
ผัสสะ ที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของสฬายตนะนั้น
ได้แก่ ผัสสะ ๖
มีจักขุสัมผัสสะ เป็นต้น
มีมโนสัมผัสสะ เป็นที่สุด
ในบทนี้
ผัสสะ
ที่เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
ก็ได้แก่ ผัสสะ ๖ นั่นเอง
เวทนาที่ เป็นปัจจยุบันนธรรมของผัสสะ
ก็ได้แก่ เวทนา ๖ คือ
๑.
เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสสะ
เป็นปัจจัยได้ชื่อว่า
จักขุสัมผัสสชาเวทนา
๒.
เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ
โสตสัมผัสสะ
เป็นปัจจัยได้ชื่อว่า
โสตสัมผัสสชาเวทนา
๓.
เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ
ฆานสัมผัสสะ
เป็นปัจจัยได้ชื่อว่า
ฆานสัมผัสสชาเวทนา
๔.
เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสสะ
เป็นปัจจัยได้ชื่อว่าชิวหาสัมผัสสชาเวทนา
๕.
เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ
กายสัมผัสสะ
เป็นปัจจัยได้ชื่อว่า
กายสัมผัสสชาเวทนา
๖.
เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสสะ
เป็นปัจจัยได้ชื่อว่า
มโนสัมผัสสชาเวทนา
ธรรมชาติใดที่เสวยอารมณ์
ธรรมชาตินั่นแหละชื่อว่า
เวทนา คือความรู้สึกใน
อารมณ์นั้น
ความรู้สึกในอารมณ์
หรือการเสวยอารมณ์ที่ชื่อว่า
เวทนานี้ กล่าวโดยลักษณะ
แห่งการเสวยอารมณ์ ก็มี ๓ คือ
สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา
กล่าวโดยประเภทแห่งอินทรีย
คือโดยความเป็นใหญ่ในการเสวยอารมณ์
ก็มี ๕ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา
โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา
และอุเบกขาเวทนา
กล่าวโดยอาศัยทวาร
คือ
อาศัยทางที่ให้เกิดเวทนาตามนัยแห่งปฏิจจสมุปปาท
ที่กำลังกล่าวถึงอยู่ในขณะนี้
ก็มี ๖ คือ
เวทนาที่เกิดทางจักขุ ทางโสตะ
ทางฆานะ ทางชิวหา ทางกาย
และทางใจ
เวทนาที่เกิดทางจักขุที่เรียกว่า
จักขุสัมผัสสชาเวทนา
เกิดทางโสตที่เรียกว่า โสตสัมผัสสชาเวทนา
เกิดทางฆานะที่เรียกว่า ฆานสัมผัสสชาเวทนา
และเกิดทาง ชิวหาที่เรียกว่า
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา รวม ๔
ทางนี้เป็นอุเบกขาเวทนาแต่
อย่างเดียว
เวทนาที่เกิดทางกายที่เรียกว่า
กายสัมผัสสชาเวทนานั้น
เป็นสุขเวทนา หรือ ทุกขเวทนา
อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒
อย่างนี้เท่านั้น
คือถ้ากายได้สัมผัสถูกต้องกับ
อิฏฐโผฏฐัพพารมณ์ คือ
อารมณ์ที่ดี ก็เป็นสุขเวทนา
แต่เมื่อกายได้สัมผัสถูกต้องกับ
อนิฏฐโผฏฐัพพารมณ์ คือ
อารมณ์ที่ไม่ดี
ก็เป็นทุกขเวทนา
ส่วนเวทนาที่เกิดทางใจที่เรียกว่า
มโนสัมผัสสชาเวทนานั้น
เมื่อได้เสวย
อารมณ์ที่ดีที่เรียกว่า
อิฏฐารมณ์
ก็มีความชื่นชมยินดีทางใจ
เป็นโสมนัสเวทนา
แต่ถ้าได้เสวยอารมณ์ที่ไม่ดีที่เรียกว่า
อนิฏฐารมณ์
ทางธรรมถือว่ามีความอาพาธ
ทางใจ จึงได้ชื่อว่า
เป็นโทมนัสเวทนา
หากว่าได้เสวยอารมณ์ที่เป็นปานกลาง
ที่ เรียกว่า มัชฌัตตารมณ์
ก็มีความเฉย ๆ
ไม่ถึงกับเกิดความชื่นชมยินดี
จึงได้ชื่อว่า
เป็นอุเบกขาเวทนา
เวทนาทั้ง
๖ ที่กล่าวในบทนี้
หมายเฉพาะเวทนาที่ประกอบกับโลกียวิปาก
วิญญาณ ๓๒ เท่านั้น
โดยถือสืบเนื่องมาจากวิปากวิญญาณ
คือจิตที่เป็นปัจจยุบ
บันนของสังขาร โลกียวิปากวิญญาณ
๓๒ นี้
ก็มีเวทนาที่เกิดร่วมได้ด้วยเพียง
๔ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา
โสมนัสเวทนา และ
อุเบกขาเวทนาเท่านี้
ไม่มีโทมนัส เวทนา ด้วย
ผัสสะกับเวทนาต่างก็เป็นเจตสิกเหมือนกัน
และประกอบกับจิตร่วมกันพร้อม
กัน
ถึงกระนั้นต่างก็เป็นปัจจัยซึ่งกันและกันได้ด้วยอำนาจแห่งสหชาตปัจจัย
และ อัญญมัญญปัจจัย
ทำนองเดียวกับจิตและเจตสิก
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในบท
นามรูป เป็นปัจจัยแก่สฬายตนะนั้น
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ