ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
๑๖.
อินทริยปัจจัย
อินทริย
คือความเป็นผู้ปกครอง
ความเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน
ซึ่งมีจำนวน ๒๒ จึงเรียกว่า
อินทรีย ๒๒ ในอินทรีย ๒๒
นั้นเป็นปัจจัยได้เพียง ๒๐
ส่วนอีก ๒ คือ อิตถินทรีย
และปุริสินทรีย
เป็นปัจจัยไม่ได้
เพราะธรรมที่จะเป็นปัจจัยได้
จะต้องมีอำนาจหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือทั้ง ๒ อย่าง คือ ชนกสัตติ
ทำให้ เกิดขึ้น
และอุปถัมภกสัตติ
ทำให้ตั้งอยู่ได้
อันความเป็นหญิงเป็นชายนั้น
ครอง
ความเป็นใหญ่แห่งเพศหญิงเพศชายของตนไว้ได้ก็จริง
แต่ไม่มีความสามารถในการที่
จะอุปการะช่วยเหลือให้ธรรมอื่นใดเกิดขึ้น
และไม่สามารถที่จะอุปการะช่วยเหลือให้
ธรรมอื่นใดตั้งอยู่ได้ด้วย
เมื่อไม่สามารถที่จะมีชนกสัตติ
หรืออุปถัมภกสัตติได้เช่นนี้
แล้ว ก็เป็นปัจจัยไม่ได้
อินทริยปัจจัย
จำแนกออกได้เป็น ๓ คือ
ก.
นามอินทริย
องค์ธรรม ๘ (คือ
ชีวิต จิต เวทนา สัทธา วิริยะ
สติ เอกัค คตา ปัญญา)
เป็นปัจจัยช่วยอุปการะ
โดยความเป็นใหญ่แก่ นาม รูป
ที่เกิดพร้อม กันกับตนนั้น
ได้ชื่อว่า สหชาตินทริยปัจจัย
ข.
วัตถุ
๕ (มีจักขุวัตถุ
เป็นต้น)
ที่เกิดก่อน
(เกิดพร้อมกับอดีตภวังคดวง
แรก)
เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ทวิปัญจวิญญาณ
๑๐ นั้น ได้ชื่อว่า ปุเรชาตินทริย
ปัจจัย
บ้างก็เรียกว่า วัตถุปุเรชาตินทริยปัจจัย
ค.
รูปชีวิตินทรีย
(คือ
ชีวิตรูป)
เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่
อุปาทินนกรูป (คือ
กัมมชรูป)
ที่เหลือ
๙ รูป หรือ ๘ รูป
ซึ่งอยู่ในกลาปเดียวกับชีวิตรูปนั้น
ได้ ชื่อว่า รูปชีวิตินทริยปัจจัย
สหชาตินทริยปัจจัย
๑.
สหชาตินทรีย
หมายถึง นามอินทรียองค์ธรรม ๘
๒.
ประเภท
นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นสหชาตชาติ
๔.
กาล
เป็นปัจจุบัน
๕.
สัตติ
มีทั้งชนกสัตติ
และอุปถัมภกสัตติ
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ นามอินทรียองค์ธรรม ๘
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒
ที่เกิดพร้อมกับปัจจัย ธรรม
และจิตตชรูป ปฏิสนธิกัมมชรูป
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ พาหิรรูป อาหารชรูป
อุตุชรูป อสัญญสัตต กัมมชรูป
ปวัตติกัมมชรูป
๗.
ความหมายโดยย่อ
สหชาตินทริยปัจจัยนี้ มี ๗
วาระ
(๑)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล
นามอินทรียองค์ธรรม ๘
ที่ในกุสลจิต ๒๑ เป็น
สหชาตินทริยปัจจัย กุสลสัมปยุตตขันธ์
คือ กุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาตินทริย
ปัจจยุบบันน
(๒)
กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
นามอินทรีย องค์ธรรม ๘
ที่ในกุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาตินทริยปัจจัย
กุสลจิตตชรูป เป็นสหชาตินทริยปัจจยุบบันน
(๓)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย
นามอินทรียองค์ธรรม ๘
ในกุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาตินทรียปัจจัย
กุสลจิต ๒๑ ด้วย กุสลจิตตชรูปด้วย
เป็น สหชาตินทริยปัจจยุบบันน
(๔)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล
อกุสลนามอินทรียองค์ธรรม ๕ (คือ
ชีวิต จิต เวทนา วิริยะ เอกัคคตา)
ที่ในอกุสลจิต
๑๒ เป็นสหชาตินทริยปัจจัย อกุสลจิต
๑๒ เป็นสหชาตินทริยปัจจยุบบันน
(๕)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
อกุสลนามอินทรียองค์ธรรม๕
ที่ในอกุสล จิต ๑๒
เป็นสหชาตินทรียปัจจัย อกุสลจิตตชรูปเป็นสหชาตินทริยปัจจยุบบันน
(๖)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย
อกุสลนามอินทรียองค์ ธรรม ๕
ที่ในอกุสลจิต ๑๒
เป็นสหชาตินทรียปัจจัย อกุสลจิต
๑๒ ด้วย อกุสล จิตตชรูปด้วย
เป็นสหชาตินทริยปัจจยุบบันน
(๗)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
นามอินทรียองค์ธรรม ๘
ที่ในวิบาก จิต ๓๖ กิริยาจิต
๒๐ ในปวัตติกาล
และในปฏิสนธิกาลตามสมควร
เป็นสหชาติน ทริยปัจจัย
วิบากจิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐
วิบากจิตตชรูป กิริยาจิตตชรูป
ในปวัตติกาล
และวิบากปฏิสนธิจิต ๑๙,
ปฏิสนธิกัมมชรูป
เป็นสหชาตินทริยปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๑๔ ปัจจัย คือ
๑.
สหชาตินทริยปัจจัย
๒.
เหตุปัจจัย
๓.
สหชาตาธิปติปัจจัย
๔.
สหชาตปัจจัย
๕.
อัญญมัญญปัจจัย
๖.
สหชาตนิสสยปัจจัย
๗.
วิปากปัจจัย
๘.
นามอาหารปัจจัย
๙.
ฌานปัจจัย
๑๐.
มัคคปัจจัย
๑๑.
สัมปยุตตปัจจัย
๑๒.
สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๑๓.
สหชาตัตถิปัจจัย
๑๔.
สหชาตอวิคตปัจจัย
ปุเรชาตินทริยปัจจัย
๑.
ปุเรชาตินทรีย
หมายความว่า ธรรมที่เกิดก่อน
เป็นปัจจัยช่วยอุปการะ
โดยความเป็นใหญ่
๒.
ประเภท
รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นวัตถุปุเรชาตชาติ
หมายความว่า
ปัจจัยธรรมที่เกิดก่อนนั้นช่วย
อุปการะแก่ปัจจยุบบันนธรรม
๔.
กาล
เป็นปัจจุบัน
๕.
สัตติ
มีทั้ง ชนกสัตติ
และอุปถัมภกสัตติ
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ วัตถุ ๕ คือ ปสาทรูป ๕
ที่เกิดพร้อมกับ อดีตภวังคดวงแรก
หรืออีกนัยหนึ่ง ฐีติปัตตปัญจวัตถุ
๔๙ ที่ยังกำลังมีอยู่กับ
ภวังคจิตก่อนที่จะถึง ปัญจวิญญาณ
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ สัพพจิตตสาธารณ
เจตสิก ๗
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ จิต ๗๙(เว้นทวิปัญจวิญญาณ
๑๐)
เจตสิก
๕๒ และรูปทั้งหมด
๗.
ความหมายโดยย่อ
ปุเรชาตินทริยปัจจัย
บ้างก็เรียกว่า วัตถุปุเรชาติน
ทริยปัจจัยนี้มีวาระเดียว
คือ อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
ได้แก่ อินทรียรูป ๕ คือ
จักขุนทรีย โสตินทรีย ฆานินทรีย
ชิวหินทรีย กายินทรีย ที่เป็นฐีติปัตต
เป็น ปุเรชาตินทริยปัจจัย ทวิปัญจวิญญาณ
๑๐ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
เป็นปุเร ชาตินทริยปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๖ ปัจจัย คือ
๑.
ปุเรชาตินทริยปัจจัย
๒.
วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๓.
วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๔.
วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๕.
วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
๖.
วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย
รูปชีวิตินทริยปัจจัย
๑.
รูปชีวิตินทรีย
หมายความถึง ชีวิตรูป
๒.
ประเภท
รูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นรูปชีวิตินทริยชาติ
หมายความว่า
ปัจจัยธรรมนั้นได้แก่
ชีวิตรูป
ซึ่งทำหน้าที่เป็นใหญ่
เป็นผู้ปกครองในการรักษารูปธรรมที่เกิดขึ้นด้วยกัน
๔.
กาล
เป็นปัจจุบัน
๕.
สัตติ
มีทั้ง ชนกสัตติ
และอุปถัมภกสัตติ
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ ชีวิตรูป
ทั้งในปฏิสนธิกาลและในปวัตติกาล
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ กัมมชรูปที่เหลือ ๙
รูป หรือ ๘ รูป ซึ่งอยู่
ในกลาปเดียวกับชีวิตรูปนั้น
ๆ
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ จิต ๘๙,
เจตสิก
๕๒ จิตตชรูป,
พาหิรรูป,
อาหารชรูป,
อุตุชรูป
และชีวิตรูป (ที่เป็นปัจจัย)
๗.
ความหมายโดยย่อ
รูปชีวิตินทรียปัจจัยนี้
มีวาระเดียว คือ อพยากตะ
เป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ได้แก่
ชีวิตรูปทั้งหลาย
เป็นรูปชีวิตินทริยปัจจัย
กัมมชรูป ที่เหลือ ๙ รูปหรือ ๘
รูป
ซึ่งอยู่ในกลาปเดียวกับชีวิตรูปนั้น
ๆ เป็นรูปชีวิตินทริย ปัจจยุบบันน
เช่น
จักขุทสกกลาป
มีอวินิพโภครูป ๘
จักขุปสาทรูป ๑ และชีวิตรูป ๑
รวม ๑๐ รูป ชีวิตรูป ๑
เป็นปัจจัยเสียแล้ว อวินิพโภครูป
๘ จักขุปสาทรูป ๑ รวม ๙ รูป
ที่เหลือนี้ก็เป็นปัจจยุบบันน
โดยทำนองเดียวกัน
ชีวิตนวกลาป มีอวินิพโภครูป ๘
และ ชีวิตรูป ๑ รวม ๙ รูป
ชีวิตรูป ๑
เป็นปัจจัยเสียแล้ว อวินิพโภครูป
๘ ที่เหลือ ก็เป็นปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๓ ปัจจัย คือ
๑.
รูปชีวิตินทริยปัจจัย
๒.
รูปชีวิตินทริยัตถิปัจจัย
๓.
รูปชีวิตินทริยอวิคตปัจจัย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ