ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

ปัจฉิมคาถาในปัฏฐานนัย

ธรรมทั้งหลายที่ในกาล ๓ ก็ดี พ้นจากกาล ๓ ก็ดี เป็นภายในก็ดี เป็นภาย นอกก็ดี อันมีปัจจัยปรุงแต่งก็ดี มิได้ปรุงแต่งก็ดี ตามที่เกิดขึ้นดังพรรณนามาฉะนี้

ล้วนตั้งอยู่แล้วด้วยสามารถแห่งธรรม ๓ อย่าง อันได้แก่ บัญญัติธรรม ๑ นามธรรม ๑ รูปธรรม ๑ นั้น ชื่อว่า ปัจจัย ๒๔ ตามนัยแห่งคัมภีร์มหาปัฏฐาน โดยประการทั้งปวง ตามควรแก่ที่จะเป็นไปได้

สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ          ฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา

บัญญัติธรรม

ได้กล่าวแล้วตั้งแต่ต้นตามนัยแห่งคาถาที่ ๒ ว่าปัจจยสังคหวิภาคนี้แสดงธรรม ๒ ส่วน คือ ปฏิจจสมุปปาทนัยส่วนหนึ่ง และปัฏฐานนัย (คือปัจจัย ๒๔) อีก ส่วนหนึ่ง เมื่อได้แสดงธรรม ๒ ส่วนนั้นแล้ว ก็ควรจะจบได้แล้ว แต่ว่าในปัจฉิม คาถาที่ ๒ (คือคาถาที่ ๒๗) มีใจความว่า ปัจจัย ๒๔ ล้วนตั้งอยู่แล้วด้วยสามารถ แห่งบัญญัติธรรม นามธรรม และรูปธรรม

นามธรรม และรูปธรรม ได้แสดงมาแล้วมากมาย ส่วนบัญญัติธรรมได้กล่าว ถึงบ้างแต่เพียงเล็กน้อย เหตุนี้ พระอนุรุทธาจารย์ จึงแสดงบัญญัติธรรมโดยมีข้อ ความละเอียดพอประมาณ ในตอนท้ายปริจเฉทนี้ด้วยการเริ่มคาถาที่ ๒๘ และ ๒๙ ว่า

๒๘. ตตฺถ รูปธมฺมา รูปกฺ         ขนฺโธ วาติ วิชานิยา

จิตฺตเจตสิกกฺขาตา       จตุขนฺธา อรูปิโน ฯ

๒๙. อสงฺขตํ นิพฺพานญฺจ        อิติ ปญฺจวิธํ อิทํ

อรูปนฺติ จ วเกฺยน        นามนฺติ จ ปวุจฺจติ ฯ

แปลความว่า ธรรมเหล่านั้น(คือ บัญญัติธรรม นามธรรม รูปธรรม) รูปธรรม ทั้งหลายพึงทราบว่า เป็นรูปขันธ์อย่างเดียว อรูปขันธ์ ๔ นั้น ได้แก่ จิต เจตสิก ซึ่งเป็น สังขตธรรม

อรูปขันธ์ ๔ และรวมนิพพาน ๑ ซึ่งเป็นอสังขตธรรมเข้าไปด้วยเป็น ๕ อย่างนี้ ท่านกล่าวว่าเรียก อรูปก็ได้ เรียกนามก็ได้

คาถาทั้ง ๒ นี้ แสดงถึงรูปนาม ย้ำให้รู้ว่า รูปธรรมทั้ง ๒๘ รูปนั้นเรียกว่า รูปขันธ์อย่างเดียว ส่วนนามธรรม คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่เป็นขันธ์และเป็นฝ่ายสังขตธรรม กับนิพพาน ที่เป็นขันธวิมุตติ และเป็นฝ่ายอสังขตธรรม รวมนามธรรมทั้ง ๕ อย่างนี้เรียกว่า อรูปก็ได้ เพราะนาม ธรรมทั้ง ๕ อย่างนี้ ไม่มีรูป ไม่ใช่รูป จึงเรียก อรูป

๓๐     อวเสสา จ ปญฺญตฺติ            ตโต จ นามรูปโต

ปญฺญาปิยตฺติ ปญฺญฺตติ        สรปญฺญาปนโต ตถา

ทุวิชา ปญฺญตฺติ โหติ           อิติ วิญฺญูหิ จิตฺติตํ ฯ

แปลความว่า ส่วนธรรมที่เหลือจากรูปธรรม นามธรรมนั้น ชื่อว่า บัญญัติ บัญญัติธรรมนั้นมี ๒ อย่าง คือ ปญฺญาปิยตฺตาปญฺญตฺติ และ ปญฺญาปนโต ปญฺญตฺติ ซึ่งนักปราชญ์ทั้งหลายได้บัญญัติไว้แล้วดังนี้

หมายความว่า นอกจากสภาวธรรมอันเป็นรูปธรรม และนามธรรมแล้ว ยังมี บัญญัติธรรมอันเป็นอสภาวะ คือเป็นธรรมที่ไม่มีสภาวะ แต่เป็นธรรมที่สมมติขึ้น ตั้งขึ้น บัญญัติขึ้น เพื่อจะได้ใช้พูดจาว่าขานกันให้รู้เรื่องราวต่าง ๆ ได้

บัญญัติธรรมนี้ จำแนกโดยประเภทใหญ่แล้ว มี ๒ ได้แก่ ปัญญาปิยัตตา บัญญัติ หรือ อัตถบัญญัติ ๑ และ ปัญญาปนโตบัญญัติ หรือ สัททบัญญัติ อีก ๑

ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ ซึ่งบ้างก็เรียก อัตถบัญญัตินั้น บัญญัติขึ้น สมมติขึ้น ตั้งขึ้น เพื่อให้รู้เนื้อความแห่งรูปร่าง สัณฐาน หรือลักษณะอาการของชื่อนั้น ๆ เช่น ภูเขา ต้นไม้ บ้านเรือน ยืน เดิน เป็นต้น

ปัญญาปนโตบัญญัติ ซึ่งบ้างก็เรียกว่า สัททบัญญัตินั้น บัญญัติขึ้น สมมติขึ้น ตั้งขึ้น เพื่อให้รู้จักเสียงที่เรียกชื่อนั้น ๆ คือ รู้ด้วยเสียง รู้ด้วยคำพูด ที่หมายถึง อัตถบัญญัตินั้น เช่น ในขณะที่ไม่ได้เห็นภูเขา ไม่ได้เห็นต้นไม้ แต่เมื่อออกเสียง พูดว่า ภูเขา พูดว่า ต้นไม้ ก็รู้และเข้าใจได้ว่า ภูเขา ต้นไม้ มีรูปร่าง สัณฐาน อย่างนั้น ๆ หรือพูดว่ายืน พูดว่าเดิน ก็รู้และเข้าใจได้ว่ามีกิริยาอาการอย่างนั้น ๆ

ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ

ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ หรืออัตถบัญญัตินี้ จำแนกออกได้เป็น ๖ ประเภท ตาม สิ่งที่ได้อาศัยบัญญัติขึ้น สมมติขึ้น ตั้งขึ้น เป็นชื่อนั้น ๆ คือ

. สัณฐานบัญญัติ เป็นการบัญญัติขึ้น สมมติขึ้น ตั้งขึ้น โดยอาศัยรูปทรง ส่วนสัด สัณฐานของวัตถุนั้น ๆ มาเรียกขานกัน เช่น ภูเขา ต้นไม้ แม่น้ำ ทะเล จาน ชาม มีด จอบ เสียม เป็นต้น

. สมูหบัญญัติ เป็นการสมมติขึ้น ตั้งขึ้น โดยอาศัยความประชุมของวัตถุ ต่าง ๆ มาเรียกขานกัน เช่น เกวียน บ้าน เรือน โบสถ์ ศาลา เป็นต้น

. สัตตบัญญัติ เป็นการตั้งขึ้น โดยอาศัย รูปร่างกาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเป็นขันธ์ ๕ มาเรียกขานกัน เช่น คน เป็ด ไก่ ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น

. ทิสากาลาทิบัญญัติ เป็นการตั้งขึ้นโดยอาศัยเวลาที่พระอาทิตย์ พระจันทร์ ดวงดาวต่าง ๆ หมุนเวียนไปตามทิศต่าง ๆ นั้นมาเรียกขานกัน เช่น ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก วัน เดือน ปี เป็นต้น

. ถูปคูหาทิบัญญัติ บ้างก็เรียก อากาสบัญญัติ เป็นการตั้งขึ้น โดยอาศัย ช่องว่างที่มหาภูตรูป ๔ ไม่ติดต่อกัน อันบุคคลไม่ได้ทำไม่ได้ขุดขึ้น แต่เป็นของเกิด ขึ้นเอง เช่น หลุม โพรง เหว ถ้ำ เป็นต้น

. นิมิตบัญญัติ เป็นการตั้งขึ้น โดยอาศัยเครื่องหมาย ข้อนี้มีความหมาย กว้างขวางมาก เช่น นิมิตของกัมมัฏฐาน ก็มี บริกัมมนิมิต อุคคหนิมิต ปฏิภาค นิมิต เป็นต้น นิมิตของสัณฐาน เช่น สุภนิมิต สวย งาม น่ารัก น่าชม อสุภนิมิต ไม่สวย ไม่งาม น่าเกลียด น่าชัง เป็นต้น นิมิตของกิริยาอาการ เช่น เดิน ยืน นั่ง นอน เป็นต้น

ทั้ง ๖ นี้ เป็นอัตถบัญญัติ เป็นเงาของเนื้อความ ไม่มีปรากฏโดยปรมัตถสัจจ กำหนดเปรียบเทียบเรียกเอาอย่างนั้นเอง เพื่อให้รู้อย่างเดียวกันยังกันและกันให้รู้ทั่ว ว่า สิ่งนี้ชื่อนั้น สิ่งนั้นชื่อนี้ นี่แหละจึงได้ชื่อว่า ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ คือ บัญญัติ เป็นเหตุยังกันและกันให้รู้ทั่ว

ปัญญาปนโตบัญญัติ

ปัญญาปนโตบัญญัติ หรือ สัททบัญญัติ หมายถึงคำพูดที่บุคคลได้ออกเสียง เรียกขาน เมื่อต้องประสงค์ในกาลภายหลัง ตามชื่อที่ตั้งไว้แต่ก่อนแล้วนั้น

ปัญญาปนโตบัญญัตินี้ มีชื่อเรียกได้ถึง ๖ ชื่อ คือ

. ชื่อว่า นามบัญญัติ หมายความว่า มีสภาพน้อมสู่เนื้อความ และทำให้เนื้อ ความนั้นน้อมสู่ตน เช่นคำว่า ภูเขา ก็น้อมตามเนื้อความว่าเป็นเนินที่สูงขึ้นเป็น จอมใหญ่ เมื่อพูดว่า ภูเขา ก็ทำให้เข้าใจได้ว่า หมายถึงเนื้อความอย่างนั้น

. ชื่อว่า นามกัมมบัญญัติ หมายความว่าชื่อต่าง ๆ เหล่านั้นแหละเป็นชื่อ ที่พึงเรียกกันโดยทั่วไป

. ชื่อว่า นามเธยยบัญญัติ หมายความว่า ชื่อต่าง ๆ เหล่านั้น นักปราชญ์ ทั้งหลายได้ตั้งชื่อไว้ตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว

. ชื่อว่า นิรุตติบัญญัติ หมายความว่า นักปราชญ์ได้พิจารณาคิดตั้งขึ้น สมมติขึ้น ซึ่งถ้อยคำนั้น ชื่อเหล่านั้นจึงปรากฏมีขึ้นมา

. ชื่อว่า พยัญชนบัญญัติ หมายความว่า เป็นถ้อยคำที่สามารถแสดงเนื้อ ความให้รู้ให้ปรากฏได้

. ชื่อว่า อภิลาปบัญญัติ หมายความว่า ผู้ที่พูดย่อมนึกถึงเนื้อความ คือ รูปร่างสัณฐานของวัตถุนั้น เช่น ภูเขา แล้ว จึงเปล่งเสียงพูดออกมา

รวมความว่า ไม่ว่าคำใดคำหนึ่งก็ตาม ภาษาใดภาษาหนึ่งก็ตาม เช่น คำว่า ภูเขา ก็มีชื่อเรียกได้เป็น ๖ อย่าง มี นามะ นามกัมมะ เป็นต้น ดังที่ได้กล่าวแล้วนี้

สัททบัญญัตินี้ เรียก นามบัญญัติก็ได้ อันหมายเฉพาะว่าเป็นนามบัญญัติ ดังที่กล่าวในข้อ ๑ ข้างบนนี้

สัททบัญญัติจำแนกได้เป็น ๖ ประเภท

ปัญญาปนโตบัญญัติ  หรือ สัททบัญญัติ  จำแนกได้เป็น ๖ ประเภท คือ วิชชมานบัญญัติ  อวิชชมานบัญญัติ  วิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ  อวิชชมาเนน วิชชมานบัญญัติ  วิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ  และ อวิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ  มีความหมายโดยย่อ ดังต่อไปนี้

. วิชชมานบัญญัติ เป็นคำพูดที่มีคำเดียว และคำนั้นมีสภาวปรมัตถปรากฏ อยู่ เช่นคำว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จิต เจตสิก นิพพาน เป็นต้น

. อวิชชมานบัญญัติ เป็นคำพูดที่มีอยู่คำเดียวเหมือนกัน แต่คำนั้นไม่มี สภาวปรมัตถปรากฏอยู่ เป็นโลกโวหารโดยแท้ เช่นคำว่า ภูเขา ต้นไม้ โต๊ะ เก้าอี้ แมว สุนัข เป็นต้น

. วิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ เป็นคำพูด ๒ คำ คำแรกเป็นปรมัตถ คำหลังเป็นโลกโวหาร เช่น อภิญญา ๖, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗

คำว่า อภิญญา พละ  โพชฌงค์ เป็นคำปรมัตถ คือ วิชชมานบัญญัติและอยู่ หน้า ส่วนเลขที่บอกจำนวน ๖ , ๕ หรือ ๗ นั้นเป็นโลกโวหาร คือ อวิชชมาน บัญญัติและอยู่หลัง จึงเรียกว่า วิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ

. อวิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ เป็นคำพูด ๒ คำเหมือนกัน แต่คำแรก เป็นโลกโวหาร คำหลังเป็นปรมัตถ เช่น ฉฬภิญฺโญ ปญฺจพโล สตฺตโพชฺฌงฺโค

คำที่บอกจำนวน ฉฬ=,ปญฺจ=,สตฺต=๗ นั้นเป็นโลกโวหาร คือ อวิชชมาน และอยู่ข้างหน้า ส่วนคำว่า ภิญฺโญ=อภิญญา,พโล=พละ,โพชฺฌงฺโค=โพชฌงค์ ซึ่ง เป็นปรมัตถ คือ วิชชมาน และอยู่หลัง ดังนั้นคำบาลี ที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้จึงเป็น อวิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ

. วิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ เป็นคำพูด ๒ คำ ซึ่งทั้งคำแรกและคำหลัง เป็นปรมัตถด้วยกันทั้งคู่ เช่น จักขุวิญญาณ โลภจิต โลกุตตร อภิญญา เป็นต้น

. อวิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ  เป็นคำพูด ๒ คำ ซึ่งทั้งคำแรกและคำ หลังเป็นโลกโวหารด้วยกันทั้งคู่ เช่น ราชบุตร ราชรถ ภรรยาเศรษฐี พี่สะใภ้ น้องเขย เป็นต้น

สรุปพอให้จำง่ายได้ดังนี้

วิชชมานบัญญัติ                                       เป็นคำปรมัตถ

อวิชชมานบัญญัติ                                     เป็นคำโลกโวหาร

วิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ                            คำปรมัตถอยู่หน้า คำโลกโวหารอยู่หลัง

อวิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ                            คำโลกโวหารอยู่หน้า คำปรมัตถอยู่หลัง

วิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ                              คำหน้าและคำหลังเป็นปรมัตถทั้งคู่

อวิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ                           คำหน้าและคำหลังเป็นโลกโวหารทั้งคู่

คำพูดทั้งหลายเป็นบัญญัติทั้งนั้น

คำปรมัตถ คือ คำที่มีสภาวปรมัตถปรากฏอยู่นั้น เป็นคำที่มีลักขณาทิจตุกะ คือ ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน และ ปทัฏฐาน

คำโลกโวหาร คือ คำที่ไม่มีสภาวปรมัตถปรากฏอยู่นั้น เป็นคำที่ไม่มีลักขณา ทิจตุกะ

แสดงความเป็นไปที่รู้ความหมายของสัททบัญญัติ

มีคาถาที่แสดงถึงวิถีจิตที่ให้รู้ความหมายในสัททบัญญัติ อัตถบัญญัติ และการ ตั้งชื่อให้ปรากฏแก่ชนทั้งหลาย เป็นทำนองปัจฉิมคาถาแห่งบัญญัติธรรม รวม ๒ คาถา คือ

๓๑. วจีโฆสานุสาเรน               โสตวิญฺญาณวีถิยา

ปวตฺตานนฺตรุปฺปนฺน        มโนทฺวา รสฺส โคจรา ฯ

๓๒. อตฺถา ยสฺสานุสาเรน           วิญฺญายนฺติ ตโต ปรํ

สายํ ปญฺญตฺติ วิญฺเญยฺยา    โลกสงฺเกต นิมฺมิตาฯ

แปลความว่า

บุคคลทั้งหลาย ได้รู้ถึง อัตถบัญญัติ คือ วัตถุสิ่งของ เรื่องราวต่าง ๆ โดยเป็น ไปตามนามบัญญัติ ภายหลังจากนามัคคหณวิถี นามบัญญัติซึ่งเป็นอารมณ์ของ นามัคคหณวิถีที่เกิดขึ้นในลำดับแห่งโสตทวารวิถี และอตีตัคคหณวิถี สมูหัคคหณวิถี ซึ่งเกิดขึ้น เป็นไปตามคำพูดนั้น นักศึกษาพึงทราบนามบัญญัตินั้นว่า นักปราชญ์ทั้ง หลายย่อมตั้งขึ้นอนุโลมไปตามโวหารของโลก ทีละเล็กละน้อย

หมายความว่า เมื่อได้ยินเสียงตลอดจนรู้ความหมายนั้น วิถีจิตเกิด ๕ หรือ ๔ วิถี ซึ่งได้กล่าวแล้วในคู่มือการศึกษาวิถีสังคหวิภาค ปริจเฉทที่ ๔ ตอน ตทนุวัตติ กมโนทวารวิถี หรือ อนุพันธกมโนทวารวิถี ขอให้ดูที่นั่นประกอบด้วย ในที่นี้จะ กล่าวซ้ำแต่เพียงโดยย่อ คือ

. ได้ยินเสียงที่กำลังปรากฏอยู่ เป็นวิถีแรก ชื่อ โสตวิญญาณวิถี

. รู้เสียงดับไปแล้ว เป็นวิถีที่ ๒ ชื่อ อตีตัคคหณวิถี

. รวมเสียงที่ได้ยิน เป็นวิถีที่ ๓ ชื่อ สมูหัคคหณวิถี แต่ถ้าเสียงนั้นพยางค์ เดียว วิถีนี้ก็ไม่มี เพราะไม่ต้องมีการรวมเสียงแต่อย่างใด

. รู้นามรู้ชื่อว่าเสียงนั้นเป็นอะไร เช่นรู้ว่า เป็นเป็ด เป็นไก่ เป็นต้น เป็น วิถีที่ ๔ ชื่อ นามัคคหณวิถี

. รู้ความหมายแห่งรูปร่างสัณฐานว่า เป็ด ไก่ มีรูปร่างส่วนสัดเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เป็นวิถีที่ ๕ ชื่อ อัตถัคคหณวิถี

สัททบัญญัติและอัตถบัญญัติ ที่ปรากฏอยู่ในโลกทุกวันนี้ ก็เพราะนักปราชญ์  ทั้งหลายในอดีตและปัจจุบัน ได้บัญญัติขึ้น สมมติขึ้น ตั้งขึ้น อนุโลมไปตามโวหาร ของโลกทีละเล็กทีละน้อย แม้ต่อไปในอนาคต ก็จะต้องมีการบัญญัติขึ้นใหม่อีก เรื่อย ๆ ตลอดไป ให้สมกับที่เรียกว่า เป็นความเจริญรุ่งเรืองของชาวโลก

บปริจเฉทที่ ๘ ชื่อ ปัจจยสังคหวิภาค

สอบถาม ปัญหาธรรมะ ได้ที่ลานธรรมมูลนิธิ ค่ะ...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...