ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

องค์ที่ ๔ นามรูป

นามรูป เป็นปัจจัยแก่ สฬายตนะ คือ อายตนะภายใน ๖ จะปรากฏขึ้นได้ก็ เพราะมีนามรูป  เป็นปัจจัย

นามในบทนี้ คือ เจตสิก มีลักขณาทิจตุกะดังนี้

นมน ลกฺขณํ                      มีการน้อมไปสู่อารมณ์ เป็นลักษณะ

สมฺปโยค รสํ                      มีการประกอบกับวิญญาณ และประกอบกันเอง โดยอาการที่เกิดพร้อมกันเป็นต้น เป็นกิจ

อวินิพฺโภค ปจฺจุปฏฺฐานํ    มีการไม่แยกกันกับจิต เป็นผล

วิญฺญาณ ปทฏฺฐานํ             มีวิญญาณ เป็นเหตุใกล้

รูปในที่นี้ คือ กัมมชรูป(โดยตรง) จิตตชรูป(โดยอ้อม) ลักขณาทิจตุกะ ของ รูปมีดังนี้

รุปฺปน ลกฺขณํ                    มีการสลาย แตกดับ เป็นลักษณะ แตกดับไปด้วย อำนาจปัจจัย

วิกิรณ รสํ                          มีการแยกออกจากกัน(กับจิต)ได้ เป็นกิจ

อพฺยากตา ปจฺจุปฏฺฐานํ       มีความเป็นอพยากตธรรม (ในที่นี้หมายถึงความ ไม่รู้อารมณ์) เป็นผล

วิญฺญาณ ปทฏฺฐานํ             มีวิญญาณ เป็นเหตุใกล้

นาม คือ เจตสิก ที่เป็นปัจจัยแก่อายตนะนั้น ได้แก่ เจตสิก ๓๕ ที่ประกอบ กับโลกียวิปากจิต ๓๒ เท่านั้น

รูป ที่เป็นปัจจัยแก่อายตนะนั้น ก็ได้แก่ กัมมชรูป เท่านั้น

อายตนะที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของนามรูปนั้นได้แก่ สฬายตนะ คือ อายตนะภายใน ๖ ที่มีชื่อว่า อัชฌัตติกายตนะ มีจักขวายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ และ มนายตนะ

อายตนะ มีความหมายว่า เป็นเครื่องต่อ เป็นบ่อเกิดแห่งจิตและเจตสิก เป็นเครื่องต่อเป็นบ่อเกิดแห่งวิถีจิต

นามรูปเป็นปัจจัยแก่สฬายตนะ ดังนี้

.    เพราะเหตุว่ามี กัมมชรูป คือ  จักขุปสาท            จึงปรากฏ  จักขวายตนะ

.   เพราะเหตุว่ามี กัมมชรูป คือ  โสตปสาท            จึงปรากฏ  โสตายตนะ

.   เพราะเหตุว่ามี กัมมชรูป คือ  ฆานปสาท           จึงปรากฏ  ฆานายตนะ

.   เพราะเหตุว่ามี กัมมชรูป คือ  ชิวหาปสาท           จึงปรากฏ  ชิวหายตนะ

.   เพราะเหตุว่ามี กัมมชรูป คือ  กายปสาท            จึงปรากฏ  กายายตนะ

.    เพราะเหตุว่ามี กัมมชรูป เจตสิก ๓๕ (ที่ประกอบกับโลกียวิปากวิญญาณ ๓๒) จึงปรากฏ มนายตนะ

โดยเฉพาะ มนายตนะนี้ มีวาทะ เป็น ๒ นัย คือ

. อรรถกถาจารย์ และฎีกาจารย์บางท่าน กล่าวว่า มนายตนะนี้ได้แก่ โลกีย วิปากจิต ๓๒

. ภาสาฎีกาจารย์บางท่านกล่าวว่า มนายตนะนี้ได้แก่ ภวังคจิต ๑๙ เท่านั้น โดยอ้างว่า ภวังคจิต เป็นตัวมโนทวาร ช่วยอุปการะให้ ผัสสะ และเวทนาเกิดขึ้น ซึ่งตรงกับพุทธภาษิตที่ว่า มนญฺจ ปฏิจฺจ ธมฺเม จ อุปฺปชฺชติ มโนวิญฺญาณํ ติณฺณํ สงฺคติ ผสฺโส ผสฺสปจฺจยา เวทนา ฯลฯ ซึ่งแปลความว่า มโนวิญญาณ ย่อมปรากฏขึ้นได้เพราะอาศัย มโนทวาร กับ ธัมมารมณ์ เมื่อธรรมทั้ง ๓ นี้ ประชุมร่วมกันแล้วเรียกว่า ผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัยแก่เวทนา ฯลฯ

อนึ่ง มีข้อสังเกตอยู่ว่า ในบทก่อนกล่าวว่า วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป คือ โลกียวิปากวิญญาณทำให้เกิดเจตสิก และกัมมชรูป

ในบทนี้กล่าวว่า นามรูปเป็นปัจจัยแก่ สฬายตนะ คือ นามอันได้แก่เจตสิก ทำให้เกิดมนายตนะ อันได้แก่ โลกียวิปากวิญญาณ ๓๒  และ กัมมชรูปทำให้เกิด ปัญจายตนะ (อายตนะ ๕) นี่ก็คือ ปสาทรูป ๕ นั่นเอง

รวมกล่าวอย่างสั้น ๆ ก็ได้ความว่า บทก่อนกล่าวว่า จิตทำให้เกิดเจตสิก แต่ บทนี้กลับกล่าวว่า เจตสิกทำให้เกิดจิต จึงทำให้เป็นที่น่าสงสัยอยู่

ข้อนี้มีอธิบายว่า การที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเช่นนี้ ก็ด้วยอำนาจแห่ง สหชาตปัจจัย คือ ความเกิดพร้อมกัน เกิดร่วมกันของธรรมเหล่านั้นประการหนึ่ง และด้วยอาศัยอำนาจแห่ง อัญญมัญญปัจจัย คือ ความอาศัยซึ่งกันและกันของ ธรรมเหล่านั้นอีกประการหนึ่ง

กล่าวคือ นาม คือเจตสิกกับมนายตนะ คือโลกียวิปากวิญญาณนั้นเกิดพร้อม กันเกิดร่วมกัน ดังนั้นจะว่าเจตสิกเกิดพร้อมกับจิตเกิดร่วมกับจิต หรือจะว่าจิตเกิด พร้อมกับเจตสิกเกิดร่วมกับเจตสิก ก็ได้ทั้ง ๒ อย่าง นี่กล่าวโดยอำนาจแห่ง สหชาต ปัจจัย

กล่าวโดยอำนาจแห่งอัญญมัญญปัจจัย จิตกับเจตสิกที่เกิดพร้อมกันเกิดร่วมกัน นั้นต่างก็อาศัยซึ่งกันและกัน อุปการะหรืออุดหนุนซึ่งกันและกัน ดังนั้นจะว่าเจตสิก อุดหนุนอุปการะจิต หรือว่าจิตอุปการะอุดหนุนเจตสิกก็ได้ทั้ง ๒ อย่างอีกเหมือนกัน

ส่วนรูปนั้น ปสาทรูป ๕ และปัญจายตนะ คือ อายตนะทั้ง ๕ ก็เป็นรูปอัน เดียวกันนั่นเอง แต่เมื่อกล่าวโดยสมุฏฐาน ก็เรียกว่า กัมมชรูป และเมื่อกล่าวโดย ความเป็นเครื่องต่ออันเป็นบ่อเกิดแห่งวิถีจิต ก็เรียกว่า อายตนะ เมื่อมีปสาทรูปจึง จะเป็นเครื่องต่อก่อให้เกิดจิต เจตสิก และวิถีจิตได้

สอบถาม ปัญหาธรรมะ ได้ที่ลานธรรมมูลนิธิ ค่ะ...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...