ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
๖.
สหชาตปัจจัย
๑.
สหชาต
หมายความว่า เกิดพร้อมกัน
๒.
ประเภท
นามรูปเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นสหชาตชาติ หมายความว่า
ปัจจัยธรรมเกิดพร้อมกับปัจจยุบ
บันนธรรม และช่วยอุดหนุนปัจจยุบบันนธรรมนั้นด้วย
๔.
กาล
เป็นปัจจุบันกาล หมายความว่า
ปัจจัยธรรมนั้นยังอยู่ในระหว่าง
อุปาทะ ฐีติ ภังคะ
คือยังไม่ทันดับไป
๕.
สัตติ
มีทั้ง ชนกสัตติ และ
อุปถัมภกสัตติ
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒
ทั้งในปฏิสนธิกาลและ ในปวัตติกาล,
มหาภูตรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง
๔ ทั้งในปฏิสนธิกาล และในปวัตติ
กาล,
หทยวัตถุกับปัญจโวการปฏิสนธิ
๑๕ ดวง เจตสิก ๓๕
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒,
มหาภูตรูปกับอุปา
ทายรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง
๔,
หทยวัตถุกับปัญจโวการปฏิสนธิ
๑๕ เจตสิก ๓๕
องค์ธรรมของปัจจนิก
ไม่มี
เพราะปัจจัยนี้ไม่มีธรรมที่ไม่ใช่ผล
๗.
ความหมายโดยย่อ
สหชาตปัจจัยนี้ มี ๙ วาระ
(๑)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล
กุสลจิต ๒๑ คือ กุสลนามขันธ์ ๔
แล้วแต่จะยก
เอาขันธ์ใดว่าเป็นปัจจัย
ขันธ์นั้นก็เป็นสหชาตปัจจัย
กุสลจิต ๒๑ คือ กุสลนามขันธ์
ที่เหลือ ก็เป็นสหชาตปัจจยุบบันน
(๒)
กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
กุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาตปัจจัย
จิตตชรูปที่
เกิดด้วยกุสลจิตนั้น
ก็เป็นสหชาตปัจจยุบบันน
(๓)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย
กุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาต ปัจจัย
กุสลจิต ๒๑ ด้วยจิตตชรูปที่เกิดด้วยกุสลจิตนั้นด้วยเป็นสหชาตปัจจยุบบันน
(๔)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล
อกุสลจิต ๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์
๔ แล้ว
แต่จะยกเอาขันธ์ใดว่าเป็นปัจจัย
ขันธ์นั้นก็เป็นสหชาตปัจจัย
อกุสลจิต ๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์
ที่เหลือ ก็เป็นสหชาตปัจจยุบบันน
(๕)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
อกุสลจิต ๑๒ เป็นสหชาตปัจจัย
จิตต ชรูปที่เกิดด้วยอกุสลจิตนั้น
ก็เป็นสหชาตปัจจยุบบันน
(๖)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย
อกุสลจิต ๑๒ เป็นสห ชาตปัจจัย
อกุสลจิต ๑๒ ด้วย จิตตชรูปที่เกิดด้วยอกุสลจิตนั้นด้วย
เป็นสหชาตปัจจ ยุบบันน
(๗)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
วิบากจิต ๓๖ คือ
วิบากนามขันธ์ ๔,
กิริยาจิต
๒๐ คือ กิริยานามขันธ์ ๔
เป็นสหชาตปัจจัย วิบากจิต ๓๖
คือ วิบาก นามขันธ์ ๔,
กิริยาจิต
๒๐ คือ กิริยานามขันธ์ ๔,
วิบากจิตตชรูป
กิริยาจิตตชรูป ตามสมควร
เป็นสหชาตปัจจยุบบันน
มหาภูตรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง
๔แล้วแต่จะยกเอารูปใดว่าเป็นสหชาตปัจจัย
รูปที่เหลือก็เป็นสหชาตปัจจยุบบันน
มหาภูตรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง
๔ เป็นสหชาตปัจจัย
อุปาทายรูปที่อาศัยเกิด
กับมหาภูตรูปนั้น เป็นสหชาตปัจจยุบบันน
(๘)
กุสลด้วยอพยากตะด้วยเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
กุสลจิต ๒๑ คือ กุสล นามขันธ์ ๔
ด้วย
และมหาภูตรูปที่เกิดจากกุสลจิตนั้นด้วยเป็นสหชาตปัจจัย
กุสล จิตตชมหาภูตรูปที่เหลือ
และกุสลจิตตชอุปาทายรูป
เป็นสหชาตปัจจยุบบันน
(๙)
อกุสลด้วยอพยากตะด้วย
เป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลจิต
๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์ ๔ ด้วย
และ อกุสลจิตตชมหาภูตรูปด้วย
เป็นสหชาตปัจจัย อกุสล จิตตชมหาภูตรูปที่เหลือ
และอกุสลจิตตชอุปาทายรูป
เป็นสหชาตปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๘ ปัจจัย คือ
๑.
สหชาตปัจจัย
๒.
อัญญมัญญปัจจัย
๓.
สหชาตนิสสยปัจจัย
๔.
วิปากปัจจัย
๕.
สัมปยุตตปัจจัย
๖.
สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗.
สหชาตัตถิปัจจัย
๘.
สหชาตอวิคตปัจจัย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ