ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
องค์ที่
๗ เวทนา
เวทนา
เป็นปัจจัยแก่ ตัณหา
คือ ตัณหาจะปรากฏเกิดขึ้นได้
ก็เพราะมี เวทนาเป็นปัจจัย
เวทนา มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
อนุภวน
ลกฺขณา
มีการเสวยอารมณ์
เป็นลักษณะ
วิสยรสสมฺโภค
รสา
มีการเสวยรสของอารมณ์
เป็นกิจ
สุขทุกฺข
ปจฺจุปฏฺฐานา
มีความสุขและทุกข์
เป็นผล
ผสฺส
ปทฏฺฐานา
มีผัสสะ
เป็นเหตุใกล้
ในบทก่อน
เวทนาที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของผัสสะนั้น
ได้แก่ เวทนา ๖ มี จักขุสัมผัสสชาเวทนา
เป็นต้น มีมโนสัมผัสสชาเวทนา
เป็นที่สุด
ในบทนี้
เวทนาที่เป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้เกิดตัณหานี้
ก็ได้แก่ เวทนา ๖ นั้นเอง
ตัณหาที่เกิดขึ้น
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย คือ
ตัณหาที่เป็นปัจจยุบบันนธรรม
ของเวทนานั้น ได้แก่
โลภเจตสิก ดวงเดียวเท่านั้น
และเป็นปัจจัยให้เกิดปัจจยุบ
บันนธรรมดังนี้
เมื่อมีสุขเวทนาอยู่
ก็มีความติดใจในสุขนั้น
และมีความปรารถนามีความ
ประสงค์จะให้คงเป็นสุขอยู่อย่างนั้นตลอดไป
หรือให้สุขยิ่งกว่านั้นขึ้นไปอีก
ดังนี้จึง ได้ชื่อว่า
สุขเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา
ข้อนี้เห็นได้ง่าย
เพราะสัตว์ทั้งหลายย่อม
เกลียดทุกข์
ประสงค์สุขด้วยกันทั้งนั้น
เมื่อมีทุกขเวทนาอยู่
ก็เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาได้
คือมีความปรารถนา มีความ
ประสงค์จะให้ทุกข์นั้นหายไปหมดไปสิ้นไป
แล้วมีความปรารถนาให้เกิดมีความสุข
ต่อไป ดังนี้ จึงได้ชื่อว่า
ทุกขเวทนา
เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา
เมื่อมีอุเบกขาเวทนาอยู่
ก็เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาได้
ด้วยคิดว่า แม้จะไม่ถึงกับ
มีความสุขก็ตาม
แต่เมื่อไม่ได้รับความทุกข์ดังที่เป็นอยู่เช่นนี้ก็ดีอยู่แล้ว
จึงปรารถนา
จะไม่ให้มีความทุกข์มาเบียดเบียน
ประสงค์ให้คงเป็นอุเบกขาอยู่เช่นนี้เรื่อยๆ
ตลอด ไป
ยิ่งถึงกับมีความสุขด้วยก็ยิ่งดีมาก
ดังนี้จึงได้ชื่อว่า
อุเบกขาเวทนา เป็นปัจจัยให้
เกิดตัณหา
ตัณหานี้
มีแสดงไว้เป็นหลายนัย เช่น
๑.
กล่าวโดยอารมณ์
ตัณหาก็คือความยินดีติดใจอยากได้
ซึ่งอารมณ์ทั้ง ๖ อันได้แก่
รูปตัณหา
ยินดีติดใจอยากได้
รูปารมณ์
สัททตัณหา
ยินดีติดใจอยากได้
สัททารมณ์
คันธตัณหา
ยินดีติดใจอยากได้
คันธารมณ์
รสตัณหา
ยินดีติดใจอยากได้
รสารมณ์
โผฏฐัพพตัณหา
ยินดีติดใจอยากได้
โผฏฐัพพารมณ์
ธัมมตัณหา
ยินดีติดใจอยากได้
ธัมมารมณ์
๒.
กล่าวโดยอาการที่เป็นไป
คือเมื่อมีความยินดีติดใจอยากได้ในอารมณ์
๖
นั้นแล้วก็มีอาการที่เป็นไป
๓ อย่างที่เรียกว่า กามตัณหา
ภวตัณหา และวิภวตัณหา
มีอาการเป็นไปดังนี้
ก.
กามตัณหา
เป็นความยินดีติดใจในอารมณ์
๖ ที่เกี่ยวกับกามคุณอารมณ์
ทั้ง ๕ แต่ไม่ประกอบด้วย สัสสตทิฏฐิ
และอุจเฉททิฏฐิ
ข.
ภวตัณหา
เป็นความยินดีติดใจในอารมณ์
๖ ที่ประกอบด้วยความเห็น
ดังต่อไปนี้
อย่างใดอย่างหนึ่งด้วย คือ
(๑)
ติดใจในกามภพ
การได้เกิดเป็นมนุษย์
เป็นเทวดา
(๒)
ติดใจในรูปภพ
การได้เกิดเป็นรูปพรหม
(๓)
ติดใจในอรูปภพ
การได้เกิดเป็นอรูปพรหม
(๔)
ติดใจในฌานสมาบัติ
การได้รูปฌาน
อรูปฌาน
(๕)
ติดใจในตัวตน
คือเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายมีตัวตน
และตัวตนนี้ไม่สูญหายไป ไหน
ถึงจะตายก็ตายแต่ร่างกาย
ตัวตนที่เป็นมนุษย์ก็จะไปเกิดเป็นมนุษย์อีก
ตัวตนที่ เป็นสัตว์อย่างใด
ก็จะไปเกิดเป็นสัตว์อย่างนั้นอีก
ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
โดยเห็นว่า
เที่ยงอันเป็นความเห็นผิดที่เรียกว่า
สัสสตทิฏฐิ (ข้อ
ข.
นี้มีมาใน
สุตตันตมหาวัคค อรรถกถา)
ค.
วิภวตัณหา
เป็นความยินดีติดใจในอารมณ์
๖ ที่ประกอบด้วย อุจเฉททิฏฐิ
คือ ติดใจในความเห็นที่ว่า
สิ่งทั้งหลายในโลกนี้มีตัวมีตนอยู่
แต่ว่าตัวตนนั้นไม่
สามารถที่จะตั้งอยู่ได้ตลอดไป
ย่อมต้องสูญต้องสิ้นไปทั้งหมด
ตลอดจนการกระทำ
ทั้งหลายทั้งปวง
ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว
ก็สูญหายไปสิ้นเช่นเดียวกัน
แม้ผู้ ที่มีความเห็นว่า
พระนิพพานมีตัวมีตน
แล้วปรารถนาพระนิพพานเช่นนั้น
ความ
ปรารถนาเช่นนี้ก็ได้ชื่อว่า
วิภวตัณหา
รวมความในข้อ
๒ นี้ได้ว่า
อาการที่เป็นไปในตัณหา ๓
ก็ได้แก่ พวกหนึ่ง มีอุจเฉททิฏฐิเห็นว่าสูญ
พวกหนึ่งมีสัสสตทิฏฐิเห็นว่าเที่ยง
ส่วนอีกพวกหนึ่งติดใจ
อยากได้โดยไม่ได้คำนึงถึงว่าเป็นสิ่งที่สูญหรือเที่ยงแต่อย่างใด
ๆ เลย
๓.
กล่าวโดยพิสดาร
เป็นการกล่าวอย่างกว้างขวางนั้น
ตัณหานี้มีถึง ๑๐๘ คือ
อารมณ์ของตัณหามี ๖
และอาการที่เป็นไปของตัณหามี
๓ จึงเป็นตัณหา (๖x๓)
๑๘
ตัณหา ๑๘
นี้มีทั้งที่เป็นภายในและภายนอก
ภายใน ๑๘ ภายนอก ๑๘ ก็เป็น ๓๖
ตัณหา ๓๖ นี้มีได้ทั้ง ๓ กาล
คือในอดีตกาล ๓๖
มีในปัจจุบันกาล ๓๖
และจะมีในอนาคตกาลอีก ๓๖
จึงเป็นตัณหา ๑๐๘ ด้วยกัน
เวทนา
เป็นปัจจัยแก่ ตัณหานี้
เป็นได้เฉพาะแก่ผู้ที่มีกิเลสอยู่เท่านั้น
ส่วนผู้ที่
สิ้นอาสวะกิเลสโดยสิ้นเชิงแล้วนั้น
เวทนาก็หาเป็นปัจจัยแก่ตัณหาไม่
อนึ่ง ในมัชฌิมปัณณาสก์อรรถกถาแสดง ความยินดีติดใจในการเจริญสมถะ และวิปัสสนา ก็เรียกว่า ธัมมตัณหาได้เหมือนกัน ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ว่า ธมฺม ราเคน ธมฺมนนฺทิยาติ ปททฺวเยหิ สมถวิปสฺสนาสุ ฉนฺทราโค วุตฺโต ซึ่งแปล ความว่า พระผู้มีพระภาคทรงกล่าวถึงความยินดีติดใจในการเจริญสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยบท ๒ บทว่า ธัมมราคะ ธัมมนันทิ ซึ่ง หมายความว่า ฉันทะ ราคะ ที่เกิดขึ้นในสมถภาวนาวิปัสสนาภาวนา ชื่อว่า ธัมมตัณหา
ปัจจัย
๒๔ เกี่ยวแก่ เวทนา
ในบท เวทนา เป็นปัจจัยแก่ตัณหานี้ เมื่อกล่าวโดยปัจจัย ๒๔ แล้ว ก็เป็นไป ได้ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยปัจจัยเดียวเท่านั้น ปัจจัยนั้น คือ ปกตูปนิสสยปัจจัย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ