ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
ข้อกำหนดแห่งปัจจัยแต่ละปัจจัย
ปัจจัย
๒๔ ซึ่งแบ่งเป็น ๖ หมวดนั้น
แต่ละหมวดแต่ละปัจจัย
มีความหมาย ดังต่อไปนี้
หมวดที่
๑ นามเป็นปัจจัยแก่นาม ๖
ปัจจัย
จิตฺตเจตสิกา
ธมฺมา
นิรุจฺธาหิ
อนนฺตรํ
ปจฺจุปนฺนาน
นามานํ
จตุธา
โหนฺติ ปจฺจยา
ทฺวานนฺตร
นตฺถิ ตาย
อโถ
วิคตตาย จ ฯ
แปลความตามคาถานี้
ก็ได้เป็นหลักเกณฑ์
เป็นข้อกำหนด
เป็นข้อจำกัดความ
หมายแห่งปัจจัย คือ
ข้อกำหนดข้อที่
๑ ธรรม
คือจิตและเจตสิกทั้งหลายที่ดับไปแล้ว
โดยไม่มี ระหว่างคั่น
เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นใหม่ติดต่อกัน
อัน เป็นปัจจุบัน
ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๔ คือ อนันตรปัจจัย
สมนันตรปัจจัย นัตถิปัจจัย และ
วิคตปัจจัย
ปุริมา
ชวนานิ
อาเสวนเสน
ตุ
ปจฺฉิมานํ
ชวนานํ
อญฺโญญฺญํ
สหชาตกา ฯ
ข้อกำหนดข้อที่
๒
ส่วนชวนจิตในขณะก่อน
ย่อมเป็นปัจจัยช่วยอุปการะ
แก่ชวนจิตในขณะหลัง
ด้วยอำนาจแห่ง อาเสวนปัจจัย
จิตฺตเจตสิกา
ธมฺมา
สมฺปยุตฺเตน
ปจฺจยา
อิตนามํ
นามสฺสเสว
ฉธา
ภวติ ปจฺจโย
ข้อกำหนดข้อที่
๓
ธรรม
คือจิตและเจตสิกทั้งหลายที่ประกอบร่วมกัน
ย่อม
เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กันและกันด้วยสามารถแห่ง
สัมปยุตตปัจจัย
นามธรรมย่อมเป็นปัจจัยแก่นามธรรมอย่างเดียวโดย
๖ ปัจจัย ดังที่กล่าวมา
แล้วนี้
สัมปยุตต
กับ วิปปยุตต
ธรรมที่จะเรียกว่าเป็น
สัมปยุตต นั้น
จะต้องประกอบกันด้วยลักษณะ ๔
ประการ คือ เอกุปปาทะ เอกนิโรธะ
เอกาลัมพนะ และเอกวัตถุกะ
มิฉะนั้นแล้วจะ เรียกว่าเป็นสัมปยุตต
ไม่ได้
๑.
นามขันธ์
๔ อันได้แก่ จิต เจตสิก
นั้นเป็นสัมปยุตต
เพราะประกอบกัน
ด้วยอาการครบลักษณะทั้ง ๔
๒.
นามขันธ์
๔ กับนิพพาน นามขันธ์ ๔ กับรูป
เป็นวิปปยุตตอย่างเดียว
๓.
รูปกับรูป
รูปกับนิพพาน
ไม่เรียกว่าเป็น สัมปยุตตหรือวิปปยุตต
๔.
ระหว่าง
กุสลธรรม อกุสลธรรม อพยากตธรรม
ที่เป็นจิต เจตสิก ซึ่งกัน
และกัน เป็นวิปปยุตต ชื่อว่า
ชาติวิปปยุตต
๕.
ระหว่าง
นามขันธ์ ๔ ที่เกิดในกามภูมิ
รูปภูมิ อรูปภูมิ
ซึ่งกันและกันเป็น วิปปยุตต
ชื่อว่า ภูมิวิปปยุตต
๖.
ระหว่าง
นามขันธ์ ๔ ที่เป็นอดีต อนาคต
ปัจจุบัน ซึ่งกันและกันเป็น
วิปปยุตต ชื่อว่า กาลวิปปยุตต
๗.
ระหว่าง
นามขันธ์ ๔
ที่เกิดอยู่ภายในตัวเรา
และภายนอกตัวเรา ซึ่งกัน
และกัน เป็นวิปปยุตต ชื่อว่า
สันตานวิปปยุตต
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ