ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
๒๐.
วิปปยุตตปัจจัย
คำว่า
วิปปยุตตในบทนี้
มีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่า
สัมปยุตตในบท ก่อน กล่าวคือ
วิปปยุตต มีความหมายว่า
ไม่ประกอบกันพร้อมด้วยลักษณะ
๔ ประการ
อันหมายถึงนามธรรมกับรูปธรรมโดยตรง
นามธรรมกับรูปธรรมอาจเกิด
ร่วมกันได้
เกิดพร้อมกันก็ได้
แต่อย่างไรเสียก็ไม่ครบลักษณะ
๔ ประการนั้นได้
เมื่อไม่ครบลักษณะ ๔
ประการนั้นก็เป็นสัมปยุตตไม่ได้
จึงเป็นวิปปยุตตไป และ วิปปยุตต
ก็มี ๒ นัย คือ
ก.
เป็นวิปปยุตตโดยความไม่มี
เช่น ทิฏฐิวิปปยุตต คือ
จิตที่ไม่ประกอบด้วย ทิฏฐิ
จิตที่ปราศจากทิฏฐิ
จิตที่ไม่มีทิฏฐิ
ญาณวิปปยุตต
คือ
จิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา
จิตที่ปราศจากปัญญา จิตที่
ไม่มีปัญญา อย่างนี้เรียกว่า อภาววิปปยุตต
ข.
เป็นวิปปยุตตโดยความไม่ปนกัน
ไม่ระคนกัน อย่างนี้เรียกว่า วิสังสัฏฐ
วิปปยุตต
ได้แก่คำว่า วิปปยุตต ในวิปปยุตตปัจจัยนี้
สรุปรวมความว่า
วิปปยุตตปัจจัยนี้
นามธรรมและรูปธรรมเกิดร่วมกันช่วย
อุปการะกันตามสมควร
โดยอำนาจแห่ง วิปปยุตตปัจจัย
วิปปยุตตปัจจัยนี้
จำแนกออกได้เป็น ๔ คือ
ก.
สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
มีลักษณะ ๒ ประการ คือ
ปัจจัยธรรมเกิดร่วม
พร้อมกันกับปัจจยุบบันนธรรมอย่างหนึ่ง
แต่ว่าไม่เป็นสัมปยุตต
ซึ่งกันและกันอีก อย่างหนึ่ง
ข.
วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
มีลักษณะ ๓ ประการ คือ
ปัจจัยธรรมนั้น
เป็นวัตถุอย่างหนึ่ง
ปัจจัยธรรมนั้นเกิดก่อนอย่างหนึ่ง
และปัจจัยธรรมนั้นเป็นวิปป
ยุตตอีกอย่างหนึ่ง
ค.
วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
มีลักษณะ ๔ ประการ คือ ปัจจัย
ธรรมนั้นเป็นวัตถุ,
ปัจจัยธรรมนั้นเป็นอารมณ์,
ปัจจัยธรรมนั้นเกิดก่อน
และปัจจัย ธรรมนั้นเป็นวิปปยุตต
ง.
ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
มีลักษณะ ๒ ประการ คือ
ปัจจัยธรรมนั้นเป็น
นามธรรมที่เกิดทีหลังปัจจยุบบันนธรรมอย่างหนึ่ง
และเป็นวิปปยุตตอีกอย่างหนึ่ง
อีกนัยหนึ่งแสดงว่า
วิปปยุตตปัจจัยนี้
จำแนกออกเป็น ๓ โดยรวมข้อ ข.
และข้อ
ค.
เข้าเป็น
๑ เรียกว่า ปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
ไม่แยกเป็น วัตถุปุเรชาต
และวัตถารัมมณปุเรชาต
สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๑.
สหชาตวิปปยุตต
หมายความว่า เกิดพร้อมกัน
แต่ไม่ประกอบอย่างระคน ปนกัน
๒.
ประเภท
นามรูปเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นสหชาตชาติ
๔.
กาล
เป็นกาลปัจจุบัน
๕.
สัตติี
มีทั้ง ชนกสัตติ
และอุปถัมภกสัตติ
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ นามขันธ์ ๔
ที่เป็นปฏิสนธิกาลและปวัตติ
กาล คือ จิต ๗๕ (เว้นอรูปวิบาก
๔,
ทวิปัญจวิญญาณ
๑๐ และจุติจิตของพระ อรหันต์)
เจตสิก
๕๒ ในปัญจโวการภูมิ และ
ปัญจโวการปฏิสนธินามขันธ์
๔ คือ ปฏิสนธิจิต ๑๕ เจตสิก ๓๕
และ ปฏิสนธิหทยวัตถุ (ที่อุปการะแก่กันและกันได้
เฉพาะในปฏิสนธิกาล)
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ จิตตชรูป ปฏิสนธิกัมมชรูป
และปฏิสนธิ หทยวัตถุ
ที่อุปการะแก่กันและกันกับปัญจโวการปฏิสนธินามขันธ์
๔ ,
ปัญจโวการ
ปฏิสนธินามขันธ์ ๔
ที่อุปการะแก่กันและกันกับปฏิสนธิหทยวัตถุ
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ (เว้นปัญจโวการปฏิสนธิ
นามขันธ์ ๔),
พาหิรรูป,อาหารชรูป,อุตุชรูป,อสัญญสัตตกัมมชรูป,ปวัตติกัมมชรูป
๗.
ความหมายโดยย่อ
สหชาตวิปปยุตตปัจจัยนี้ มี ๓
วาระ
(๑)
กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
กุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่
กุสลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘
ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งหรือทั้ง ๔
ขันธ์เป็นสหชาตวิปปยุตตปัจจัย
กุสลจิตตช รูป
ที่เกิดพร้อมกับกุสลนามขันธ์นั้น
เป็นสหชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน
(๒)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
อกุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่
อกุสลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗
ขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง หรือทั้ง ๔
ขันธ์ เป็นสหชาตวิปปยุตตปัจจัย
อกุสลจิตตชรูปที่เกิดพร้อมกับอกุสลนามขันธ์นั้น
เป็นสหชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน
(๓)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
วิบากนามขันธ์ ๔ อันได้แก่
วิบากจิต ๒๒ (เว้นอรูปวิบาก
๔,
ทวิปัญจวิญญาณ
๑๐ และ จุติจิตของพระอรหันต์),
กิริยา
นามขันธ์ ๔ อันได้แก่
กิริยาจิต ๒๐,
เจตสิก
๓๘,
ขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง
หรือทั้ง ๔ ขันธ์ เป็นสหชาตวิปปยุตตปัจจัย
วิบากจิตตชรูป,
กิริยาจิตตชรูป,
ปฏิสนธิกัมมช
รูป,
ปฏิสนธิหทยวัตถุ
เป็นสหชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน
และ
ปฏิสนธิหทยวัตถุ
เป็นสหชาตวิปปยุตตปัจจัย
ปัญจโวการปฏิสนธินามขันธ์ ๔
เป็นสหชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๗ ปัจจัย คือ
๑.
สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๒.
สหชาตปัจจัย
๓.
อัญญมัญญปัจจัย
๔.
สหชาตนิสสยปัจจัย
๕.
วิปากปัจจัย
๖.
สหชาตัตถิปัจจัย
๗.
สหชาตอวิคตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัยนี้
คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง
ๆ ทั้งหมด เหมือนกับวัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัยทุกประการ
๑.
วัตถุปุเรชาต
หมายความว่า วัตถุ ๖
ที่เกิดก่อน
๒.
ประเภท
รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นวัตถุปุเรชาตชาติ
หมายความว่า
ปัจจัยธรรมซึ่งช่วยอุปการะแก่
ปัจจยุบบันนธรรมนั้น
โดยการที่เป็นที่ตั้งด้วย
และโดยการที่เกิดก่อนด้วย
๔.
กาล
เป็นกาลปัจจุบัน หมายความว่า
แม้ปัจจัยธรรมจะเกิดก่อน
แต่ก็ยัง ไม่ทันดับไป
คือยังอยู่ในระหว่าง ฐีติขณะ
ยังไม่ทันถึงภังคขณะ
๕.
สัตติ
มีทั้ง
ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ วัตถุ ๖ คือ จักขุวัตถุ
โสตวัตถุ ฆานวัตถุ ชิวหาวัตถุ
กายวัตถุ และหทยวัตถุ
ที่เกิดก่อนปัจจยุบบันน
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ จิต ๘๕ (เว้นอรูปวิบาก
๔)
ทั้งที่แน่นอน
และไม่แน่นอน ในปัญจโวการภูมิ
ที่เป็นปวัตติกาล
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ โลภมูลจิต ๘,
โมหมูลจิต
๒,
มโนทวาราวัชชน
จิต ๑,
มหากุสลจิต
๘,
มหากิริยาจิต
๘,
อรูปจิต
๑๒ และโลกุตตรจิต ๗ (เว้น
โสดาปัตติมัคคจิต ๑)
รวม
จิต ๔๖ ดวง
ทั้งที่แน่นอนและไม่แน่นอน
ปัญจโวการ ปฏิสนธิจิต ๑๕
และรูปทั้งหมด
ที่ว่าทั้งที่แน่นอนและไม่แน่นอนนั้น
เรื่องนี้ได้แสดงไว้ในปริจเฉทที่
๓ ตอน วัตถุสังคหะแล้ว
แต่เพื่อทบทวนความจำ
จึงขอกล่าวซ้ำในที่นี้อีกว่า
(๑)
ปัจจยุบบันนธรรมที่แน่นอน
ได้แก่ โทสมูลจิต ๒,
อเหตุกจิต
๑๗ (เว้น
มโนทวาราวัชชนจิต ๑)
มหาวิบาก
๘,
รูปาวจรจิต
๑๕ และโสดาปัตติมัคคจิต ๑
รวมจิต ๔๓
ดวงนี้ต้องอาศัยวัตถุเกิดอย่างแน่นอน
(๒)
ปัจจยุบบันนธรรมที่ไม่แน่นอน
ได้แก่ โลภมูลจิต ๘,
โมหมูลจิต
๒,
มโนทวาราวัชชนจิต
๑,
มหากุสลจิต
๘,
มหากิริยาจิต
๘,
อรูปกุสลจิต
๔,
อรูป
กิริยาจิต ๔ และโลกุตตรจิต ๗ (เว้นโสดาปัตติมัคคจิต
๑)
รวมจิต
๔๒ ดวงนี้ ถ้าเกิดในปัญจโวการภูมิก็ต้องอาศัยวัตถุเกิด
ถ้าเกิดในจตุโวการภูมิไม่ต้องอาศัยวัตถุ
ก็เกิดได้
(๓)
ปัจจนิกธรรมที่แน่นอน
ได้แก่ อรูปวิบากจิต ๔
และรูปทั้งหมด ซึ่งเกิด
ขึ้นได้
โดยไม่ต้องอาศัยวัตถุ
จึงเป็นปัจจนิกธรรมที่แน่นอน
(๔)
ปัจจนิกธรรมที่ไม่แน่นอน
ก็คือ จิต ๔๒ ดวงตามข้อ (๒)
นั่นเอง
ซึ่งจิต ๔๒ ดวงนี้เกิดในปัญจโวการภูมิ
ก็เป็นปัจจยุบบันนธรรม
ถ้าเกิดในจตุโวการ ภูมิ
ก็เป็นปัจจนิกธรรม
จึงว่าไม่แน่นอน
๗.
ความหมายโดยย่อ
วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัยนี้
มี ๓ วาระ คือ
(๑)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
วัตถุ ๖ ที่เกิดก่อน
เป็นวัตถุปุเรชาต วิปปยุตตปัจจัย
วิบากจิต ๓๒(เว้นอรูปวิบาก
๔),กิริยาจิต
๒๐ ที่เกิดทีหลังวัตถุ ๖ นั้น
เป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน
เช่น
วัตถุ
๕
มีจักขุวัตถุเป็นต้นเป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐
มีจักขุวิญญาณเป็นต้นเป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน
หทยวัตถุ
ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่เกิดก่อน
ๆ มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น
เป็นวัตถุ ปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
วิบากจิต ๒๒ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ
๑๐ อรูปวิบาก ๔)
เป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน
หทยวัตถุ
ที่เกิดอยู่ก่อนเวลาที่จะออกจากนิโรธสมาบัตินั้น
เป็นวัตถุปุเรชาต วิปปยุตตปัจจัย
อนาคามิผลจิต ๑ อรหัตตผลจิต ๑
ที่เกิดขึ้นในขณะออกจากนิโรธ
สมาบัตินั้น เป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน
วัตถุ
๖
ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป
๑๗ ขณะ เป็นวัตถุ ปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
จิตที่เกิดพร้อมกับวัตถุ ๖
ที่เหลือ ๑๖ ขณะ อันได้แก่
โลกียวิบากจิต ๒๘ (เว้นอรูปวิบาก
๔)
กิริยาจิต
๒๐ เป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตต
ปัจจยุบบันน
(๒)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล
หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงก่อน
ๆ มี อาวัชชนจิต เป็นต้น
เป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
กุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่
กุสลจิต ๒๑ ที่เกิดทีหลัง
เป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน
หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป
๑๗ ขณะเป็นวัตถุ ปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
มรณาสันนกุสลชวนะ อันได้แก่
โลกียกุสลจิต ๑๗ เป็นวัตถุ ปุเรชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน
(๓)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล
หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงก่อน
ๆ มี อาวัชชนจิต เป็นต้น
เป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
อกุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่
อกุสลจิต ๑๒ เป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน
หทยวัตถุ
ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป
๑๗ ขณะ เป็น วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
มรณาสันนอกุสลชวนะ อันได้แก่
อกุสลจิต ๑๒ เป็น วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๘ ปัจจัย คือ
๑.
วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๒.
อารัมมณปัจจัย
๓.
อารัมมณาธิปติปัจจัย
๔.
อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๕.
วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๖.
วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗.
วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘.
วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย
วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง
ๆ ทั้ง หมด เหมือนกับวัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัยทุกประการ
๑.
วัตถารัมมณปุเรชาต
หมายความว่า หทยวัตถุที่เกิดก่อน
ซึ่งเป็นอารมณ์
ด้วยนั้นเป็นที่ตั้งที่อาศัยแก่จิตที่เกิดทีหลัง
๒.
ประเภท
รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นอารัมมณชาติ หมายความว่า
ปัจจัยธรรม
ซึ่งช่วยอุปการะแก่ ปัจจยุบบันนธรรมนั้นได้แก่
อารมณ์นั่นเอง
๔.
กาล
เป็นกาลปัจจุบัน หมายความว่า
ปัจจัยธรรมนั้นยังอยู่ในระหว่าง
ฐีติขณะ ยังไม่ถึง ภังคขณะ
๕.
สัตติ
มีทั้งชนกสัตติ
และอุปถัมภกสัตติ
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอย
หลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ จิตที่เหลืออีก ๑๖
ขณะนั้น คือ มโนทวารา
วัชชนจิต ๑,
กามชวนจิต
๒๙,
ตทาลัมพนจิต
๑๑ และอภิญญาจิต ๒ (เฉพาะอิทธิ
วิธอภิญญาเท่านั้น)
ขณะที่เอาหทยวัตถุเป็นอารมณ์
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ จิต ๘๙
ในเวลาที่ไม่ได้เอาหทยวัตถุเป็นอารมณ์
และรูปทั้งหมด
๗.
ความหมายโดยย่อ
วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัยนี้
มี ๓ วาระ
(๑)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับ
ถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗
ขณะเป็นปัจจัย
จิตที่เหลืออีก ๑๖ ขณะ (เว้นกุสลชวนะ
และอกุสลชวนะ)
อันได้แก่
มโนทวาราวัชชนจิต ๑,
หสิตุปปาทจิต
๑,
มหากิริยา
จิต ๘,
ตทาลัมพนจิต
๑๑ และ
อิทธิวิธอภิญญากิริยาจิต ๑
เป็นปัจจยุบบันน
(๒)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล
หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอย
หลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ
เป็นปัจจัย มรณาสันนกุสลชวนจิต
๕ ขณะ อันได้แก่ มหากุสลจิต ๘
และอิทธิวิธอภิญญากุสลจิต ๑
เป็นปัจจยุบบันน
(๓)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล
หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอย
หลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ
เป็นปัจจัย มรณาสันนอกุสลชวนจิต
๕ ขณะ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒
เป็นปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๘ ปัจจัย คือ
๑.
วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๒.
อารัมมณปัจจัย
๓.
อารัมมณาธิปติปัจจัย
๔.
อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๕.
อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๖.
วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตปัจจัย
๗.
วัตถารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘.
วัตถารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัยนี้
คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง
ๆ ทั้งหมด เหมือนกับปัจฉาชาตปัจจัยทุกประการ
เมื่อกล่าวมาถึงปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัยนี้
ก็จะเห็นได้ว่า คำว่า
ชาตะมีอยู่ ๓ ปัจจัย คือ สหชาตะ
ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ นี้
อันคำว่า ชาตะในปัจจัย ๒๔ นี้
มีความหมายถึง ๓ อย่าง คือ
สหชาตะ
ได้แก่
นาม
รูป ที่เกิดอยู่ใน อุปาทะ ฐีติ
ภังคะ
ปุเรชาต
ได้แก่
รูป
ที่เกิดอยู่ในฐีติขณะเท่านั้น
ปัจฉาชาตะ
ได้แก่
นาม
ที่เกิดอยู่ในอุปาทะ และฐีติขณะ
๑.
ปัจฉาชาตะ
หมายความถึงนามที่เกิดทีหลัง
ช่วยอุปการะแก่รูปที่เกิดก่อน
๒.
ประเภท
นามเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นปัจฉาชาตชาติ
หมายความว่า
ปัจจัยธรรมนั้นเกิดทีหลังแล้วช่วย
อุปการะแก่ปัจจยุบบันนธรรมที่เกิดก่อน
๔.
กาล
เป็นปัจจุบันกาล หมายความว่า
ปัจจัยธรรมนั้นยังไม่ดับไป
๕.
สัตติ
มีอำนาจเป็น อุปถัมภกสัตติ
แต่อย่างเดียว
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ จิต ๘๕ (เว้นอรูปวิบาก
๔ และปฏิสนธิ จิต)
เจตสิก
๕๒ ที่เกิดทีหลัง
มีปฐมภวังคจิต เป็นต้น
ที่เกิดอยู่ในปัญจโวการภูมิ
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ รูป ที่เป็น ฐีติปัตตะ
ที่เกิดพร้อมกับขณะ ทั้ง ๓
ของจิตที่เกิดก่อน ๆ
มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ จิต ๘๙,
เจตสิก
๕๒,
รูปขณะที่เกิดขึ้น
(อุปาทขณะของรูป),
พาหิรรูป,
อสัญญสัตตกัมมชรูป
๗.
ความหมายโดยย่อ
ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัยนี้
มี ๓ วาระ
(๑)
กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
กุสลนามขันธ์ ๔ ได้แก่
กุสลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘
ที่เกิดทีหลังในปัญจโวการภูมิ
เป็นปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
รูป ๒๘ คือ ติชกาย ได้แก่ กัมมชรูป
จิตตชรูป อุตุชรูป ในรูปภูมิ,
จตุชกาย
ได้แก่ กัมมชรูป จิตตชรูป
อุตุชรูป อาหารชรูป ในกามภูมิ
ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป
ซึ่งเกิดมาพร้อมกับจิตดวงก่อน
ๆ เป็นปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน
(๒)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
อกุสลนามขันธ์ ๔ ได้แก่ อกุสลจิต
๑๒ เจตสิก ๒๗ ที่เกิดทีหลัง
เป็นปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
รูป ๒๘ คือ ติชกาย จตุชกาย
ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป
ซึ่งเกิดมาพร้อมกับจิตดวงก่อน
ๆ เป็นปัจฉาชาต วิปปยุตตปัจจยุบบันน
(๓)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
วิบากนามขันธ์ ๔ ได้แก่
วิบากจิต ๓๒ (เว้นอรูปวิบาก
๔ และปฏิสนธิจิต),
กิริยานามขันธ์
๔ ได้แก่ กิริยาจิต ๒๐ เจตสิก
๓๘ ที่เกิดทีหลัง เป็นปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
เอกชกาย ได้แก่ ปฏิสนธิ กัมมชรูป,
ทวิชกาย
ได้แก่ กัมมชรูป อุตุชรูป,
ติชกาย
ในปัญจโวการ รูปภูมิ จตุชกาย
ในกามภูมิ ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป
ซึ่งเกิดมาพร้อมกับจิตดวงก่อน
ๆ มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น
เป็นปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม
๔ ปัจจัย คือ
๑.
ปัจฉาชาตปัจจัย
๒.
ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
๓.
ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย
๔.
ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ