ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
๑.
เหตุปัจจัย
เหตุ
แปลว่า เค้ามูล หรือ
สิ่งที่ทำให้เกิดผล
นอกจากนี้ยังแปลว่า ข้อความ
เรื่องราว เรื่องต้น
เรื่องที่เกิดขึ้น
เครื่องก่อเรื่อง ก็ได้
เหตุมี ๔ อย่าง คือ
ก.
เหตุเหตุ
ได้แก่ เหตุ ๖ คือ โลภะ โทสะ
โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ
ข.
ปจฺจยเหตุ
ได้แก่ มหาภูตรูป ๔
อันเป็นเหตุในการเรียกชื่อของ
รูปขันธ์
ค.
อุตฺตมเหตุ
ได้แก่ กุสลกรรม และอกุสลกรรม
อันเป็นเหตุให้เกิดกุสล
วิบาก และอกุสลวิบาก
ง.
สาธารณเหตุ
ได้แก่ อวิชชา
อันเป็นเหตุให้เกิดสังขารธรรมทั่วทั้งหมด
(ขันธ์
๕)
๑.
เหตุ
ในเหตุปัจจัยนี้หมายถึง
เหตุ ๖ อันได้แก่ โลภเหตุ
โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ
อโทสเหตุ และ อโมหเหตุ
๒.
ประเภท
เหตุปัจจัยอยู่ในประเภทนามเป็นปัจจัย
นามรูปเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นสหชาตชาติ หมายความว่า
ปัจจัยธรรม
และปัจจยุบบันนธรรม
นั้นเกิดขึ้นในจิตดวงเดียวกัน
๔.
กาล
เป็นกาลปัจจุบัน หมายความว่า
ปัจจัยธรรมนั้นยังอยู่ในระหว่าง
อุปาทะ ฐีติ ภังคะ คือ
ยังไม่ทันดับไป
๕.
สัตติ
คือ อำนาจ
เหตุปัจจัยนี้มีทั้ง
ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ
ชนกสัตติ
มีอำนาจช่วยอุปการะให้ปัจจยุบบันนธรรมเกิดขึ้นได้
อุปถัมภกสัตติ
มีอำนาจช่วยอุปการะให้ปัจจยุบบันนธรรมตั้งอยู่ได้
๖.
องค์ธรรม
มี ๓
อย่างคือองค์ธรรมของปัจจัย
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
และองค์ธรรมของปัจจนิก (ปัจจนิก
หมายความว่าธรรมที่ไม่ใช่ผล
คือไม่ใช่ปัจจยุบ บันน)
ปัจจัยธรรม
ได้แก่ เหตุ ๖ คือ โลภเหตุ
โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ
อโทสเหตุ และ อโมหเหตุ
ปัจจยุบบันนธรรม
ได้แก่ สเหตุกจิต ๗๑,
เจตสิก
๕๒ (เว้นโมหเจตสิกที่ใน
โมหมูลจิต ๒),
สเหตุกจิตตชรูป
และสเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูป
ปัจจนิกธรรม
ได้แก่ อเหตุกจิต ๑๘,
อัญญสมานาเจตสิก
๑๒ (เว้นฉันทะ),
โมหเจตสิกที่ในโมหมูลจิต
๒,อเหตุกจิตตชรูป,
อเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูป,
พาหิรรูป,
อาหารรูป,
อุตุชรูป,
อสัญญสัตตกัมมชรูป
และ ปวัตติกัมมชรูป
๗.
ความหมายโดยย่อ
เหตุปัจจัยมี ๗ วาระ
(๑)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล
อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
อันเป็นกุสลเหตุ
นั้นเป็นเหตุปัจจัย กุสลจิต
๒๑ กับเจตสิกที่ประกอบ
เป็นเหตุปัจจยุบบันน
(๒)
กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
อันเป็น กุสลเหตุ ๓ นั้น
เป็นเหตุปัจจัย กุสลจิตตชรูป
เป็นเหตุปัจจยุบบันน
(๓)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย
กุสลเหตุ ๓ เป็นเหตุปัจจัย
กุสลนามขันธ์ ๔ ได้แก่
กุสลจิต ๒๑
กับเจตสิกที่ประกอบด้วย
และกุสลจิตตชรูป ด้วย
เป็นเหตุปัจจยุบบันน
(๔)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล
โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ
อันเป็นอกุสลเหตุ ๓
นั้นเป็นเหตุปัจจัยอกุสลนามขันธ์
๔ ได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ กับ
เจตสิกที่ประกอบ
เป็นเหตุปัจจยุบบันน
(๕)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
อกุสลเหตุ ๓ นั้น
เป็นเหตุปัจจัย อกุสล
จิตตชรูป
เป็นเหตุปัจจยุบบันน
(๖)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย
อกุสลเหตุ ๓ เป็นเหตุ ปัจจัย
อกุสลนามขันธ์ ๔ ด้วย
อกุสลจิตตชรูปด้วย
เป็นเหตุปัจจยุบบันน
(๗)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
อัน เป็นอพยากตเหตุ ๓
เป็นเหตุปัจจัย
สเหตุกวิบากจิต ๒๑,
สเหตุกกิริยาจิต
๑๗,
สเหตุกวิบากจิตตชรูป,
สเหตุกกิริยาจิตตชรูป,
สเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูป
เป็นเหตุ ปัจจยุบบันน (ถ้าเป็นในจตุโวการภูมิ
ปัจจยุบบันนธรรม
ก็ต้องเว้นรูป)
อนึ่งเมื่อกล่าวถึงจิต
จะต้องแสดงเจตสิกที่ประกอบด้วยเสมอไป
แต่ในที่นี้บาง
แห่งไม่ได้แสดงเจตสิกด้วย
เพราะอยากจะตัดให้สั้นเข้า
และเห็นว่าย่อมจะเข้าใจกัน
อยู่โดยทั่วไปแล้วว่า
เมื่อมีจิต
ก็ต้องมีเจตสิกประกอบอย่างแน่นอน
ดังนั้นแม้ในบท ต่อ ๆ ไป
จะกล่าวถึงจิตเฉย ๆ
ก็ขอให้นึกเห็นถึงเจตสิกที่ประกอบด้วยเสมอไป
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม
๑๒ ปัจจัย คือ
๑.
เหตุปัจจัย
๒.สหชาตาธิปติปัจจัย
๓.
สหชาตปัจจัย
๔.
อัญญมัญญปัจจัย
๕.สหชาตนิสสยปัจจัย
๖.
วิปากปัจจัย
๗.
สหชาตินทริยปัจจัย
๘.มัคคปัจจัย
๙.
สัมปยุตตปัจจัย
๑๐.สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๑๑.สหชาตัตถิปัจจัย
๑๒.สหชาตอวิคตปัจจัย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ