ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
อายุของมนุษย์ในสมัยพุทธกาล
ตามปกติธรรมดาสามัญทั่ว ๆ ไป
ก็ประมาณ ๑๐๐ ปี
คือมีความชราอยู่ ๑๐๐ ปี ใน
๑๐๐ ปีนี้จัดเป็น ๑๐ วัย หรือ
๑๐ ระยะ ระยะละ ๑๐ ปี ดังนี้
๑.
มันททสกะ
วัยอ่อน นับแต่แรกเกิดถึง ๑๐
ขวบ ยังเป็นทารกอยู่ เพิ่ง
สอนนั่ง สอนยืน สอนเดิน
สอนพูด เล่นดิน
กินฝุ่นไปตามประสาทารก
๒.
ขิฑฑาทสกะ
วัยสนุก นับแต่อายุ ๑๐ ปี ถึง
๒๐ ปี ชอบสนุกเฮฮา ร่าเริง
สนุกที่ไหนไปที่นั่น
กำลังกินกำลังนอน กินมาก
นอนมาก เล่นมาก
๓.
วัณณทสก
วัยงาม นับแต่อายุ ๒๐ ปี ถึง ๓๐
ปี กำลังหนุ่ม กำลังสาว
รักสวยรักงาม
ยินดีอยู่กับอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดี
เพลิดเพลินอยู่กับ
อารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความเพลิดเพลิน
ไม่นึกถึงความทุกข์ยากลำบากทั้งปวง
๔.
พลทสกะ
วัยมีกำลัง นับแต่อายุ ๓๐ ปี
ถึง ๔๐ ปี กำลังเข้มแข็งและ
ขันแข็งในการงานที่จะตั้งเนื้อตั้งตัวให้เป็นหลักฐาน
คิดถึงการงานมากกว่าความ
สนุกสนานเพลิดเพลิน
๕.
ปัญญาทสกะ
วัยมีปัญญา นับแต่อายุ ๔๐ ปี
ถึง ๕๐ ปี มีสติรอบคอบ
กำลังมีปัญญาเฉียบแหลม
รู้จักเหตุ รู้จักผล
รู้จักคุณ รู้จักโทษ
๖.
หานิทสกะ
วัยเสื่อม นับแต่อายุ ๕๐
ปีถึง ๖๐ ปี
ทั้งกำลังกายและกำลัง
ปัญญาความคิด
เริ่มลดน้อยถอยลง เสื่อมลง
อ่อนทั้งแรง อ่อนทั้งใจ
๗.
ปัพภารมสกะ
วัยชรา นับแต่อายุ ๖๐ ปี ถึง ๗๐
ปี ร่วงโรยมากเข้า
ตาก็มักจะฝ้าฟางไม่ใคร่เห็น
หูก็ชักจะตึงจะหนวกไม่ใคร่ได้ยิน
ความจำก็เริ่มจะผิด ๆ พลาด ๆ
ไปบ้างแล้ว
๘.
วังกทสกะ
วัยหลังโกง นับแต่อายุ ๗๐
ปีถึง ๘๐ ปี
มีหลังอันค่อมลงมา
ไปไหนมาไหนก็ต้องใช้ไม้เท้าช่วยค้ำช่วยจุนไป
อย่างที่เรียกว่า เท้า
๓ ขา ตา ๒ ชั้น ฟันนอกปาก
ทนทรมานแบกสังขารร่างกายด้วยความยากลำบาก
๙.
โมมูหทสกะ
วัยหลง นับแต่อายุ ๘๐ ปีถึง ๙๐
ปี ความทรงจำเลอะเลือน หลง ๆ
ลืม ๆ พูดผิด ๆ พลาด ๆ
ลืมหน้าลืมหลัง
กินแล้วว่ายังไม่ได้กิน
๑๐.
สยนทสกะ
วัยนอน นับแต่อายุ ๙๐ ปีถึง
๑๐๐ ปี ถึงกับลุกไม่ไหวแล้ว
รับแขกในที่นอน
นอนกินนอนถ่าย
นอนรอความตายเท่านั้นเอง
อีกนัยหนึ่ง
เปรียบเทียบมนุษย์ว่าเหมือนกับสัตว์ดิรัจฉาน
๔ จำพวก ซึ่งเป็น
คติที่น่าคิดอยู่
เปรียบไว้ว่า
ตอนเด็ก
อุปมาเหมือน
หมู
มีแต่กินกับนอน
กินมาก นอนมาก
ตอนกลาง
อุปมาเหมือน
โค
ต้องทำงานวันยังค่ำ
คร่ำเคร่งในการยังชีพ
ตอนแก่
อุปมาเหมือน
สุนัข
ต้องเฝ้าบ้าน
เลี้ยงลูก เลี้ยงหลาน
ตอนหง่อม
อุปมาเหมือน
ลิง
อันเป็นที่ชวนหัว
และยั่วเย้าของลูกหลาน
ปัจจัย
๒๔ เกี่ยวแก่ชาติ
ในบท
ชาติเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะนี้
เมื่อกล่าวโดยปัจจัย ๒๔
แล้วตาม อภิ ธัมมภาชนิยนัย (ตามนัยแห่งพระอภิธรรม)
กล่าวว่า
การที่ชาติเป็นปัจจัยแก่ชรา
มรณะนั้นไม่ได้เป็นไปด้วยอำนาจแห่งปัจจัย
๒๔ แต่ประการใด ๆ เลย เพราะชรา
ก็ได้แก่ ฐีติขณะของชาติ
และมรณะก็ได้แก่ภังคขณะของชาติ
เช่นเดียวกัน
ส่วนตาม
สุตตันตภาชนิยนัย (ตามนัยแห่งพระสูตร)
ชาติเป็นปัจจัยช่วย
อุปการะแก่ชรามรณะนั้น
ก็ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๒๔
เพียงปัจจัยเดียว คือ ปกตูป
นิสสยปัจจัย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ