ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
นัยแห่งการเทสนา
ปฏิจจสมุปปาทธรรม
๑๒ องค์นี้ พระพุทธองค์ทรงเทสนาเป็น
๔ นัย ดังปรากฏใน สังยุตตนิกาย
ว่า
๑.
อนุโลมเทสนา
หรือ
อาทิปริโยสาน อนุโลมเทสนา
แสดงแต่เบื้องต้น
จนถึงที่สุด คือตั้งแต่
อวิชชาเป็นลำดับไปจนถึง ชรา
มรณะ
๒.
มัชฌปริโยสาน
อนุโลมเทสนา หรือ
มัชฌโตปัฏฐายปริโย สานปวัตต
เทสนา
แสดงแต่ท่ามกลางไปจนถึงที่สุด
คือ
ตั้งแต่เวทนาตามลำดับไปจนถึงชรา
มรณะ
๓.
ปฏิโลมเทสนา
หรือ
ปริโยสานอาทิปฏิโลมเทสนา แสดงแต่เบื้องปลาย
สุด ย้อนทวนมาหาต้น คือ
ตั้งแต่ชรามรณะทวนกลับมาถึงอวิชชา
๔.
มัชฌอาทิปฏิโลมเทสนา
หรือ
มัชฌโตปัฏฐายอาทิปวัตตเทสนา
แสดง
แต่ท่ามกลางย้อนทวนมาหาต้น
คือ
ตั้งแต่ตัณหาทวนกลับมาถึงอวิชชา
ข้อ
๑ อนุโลมเทสนานั้น
ส่วนมากแสดงแก่สัตว์ที่มีกำเนิดเป็น
ชลาพุชะ และอัณฑชะ (คือ
คัพภเสยยกกำเนิด)
ซึ่งเป็นสัตว์ที่โดยปกติมีทุกข์มากกว่าสุข
เพื่อให้รู้ว่าที่ได้รับผลเช่นนั้นเนื่องมาจากอะไรเป็นสาเหตุ
จะได้ไม่หลงโทษว่าพระ อินทร์
พระพรหม หรือพระเจ้าเป็นผู้บรรดาลให้เป็นไป
จึงแสดงถึงผลก่อน
เพื่อให้รู้
ว่าที่ปรากฏผลเช่นนั้นเนื่องมาจากเหตุอะไร
เช่น สังขาร ๓
อันเป็นผลปรากฏขึ้นมา
ก็เพราะมีอวิชชาเป็นต้นเหตุ
ถ้าไม่มีอวิชชาเป็นต้นเหตุแล้ว
จะปรากฏผลให้มีสังขาร ๓
ขึ้นมาไม่ได้เลย
ในทำนองเดียวกัน
วิญญาณอันเป็นผลปรากฏขึ้นมาได้ก็เพราะมี
สังขาร ๓ เป็นต้นเหตุ
ตามลำดับมาจนที่สุด ชรา มรณะ
อันเป็นผลนั้น ก็ปรากฏ
ขึ้นมาเพราะมีชาติเป็นต้นเหตุ
ถ้าไม่เกิดมีชาติขึ้นมา
ก็ไม่มีผลให้มีการแก่และการ
ตายข้อนี้แสดงผล
ข้อ
๒ มัชฌปริโยสานอนุโลมเทสนานั้น
ส่วนมากแสดงแก่ สัตว์ที่เป็นโอป
ปาติกกำเนิด (มีเทวดาและพรหม
เป็นต้น)
ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีทุกข์น้อย
มีความสุข สบายเป็นส่วนใหญ่
จึงไม่ใคร่เชื่อผล(นัตถิกทิฏฐิ)
ไม่เชื่อว่า
ตายแล้วจะต้องเกิด
ในภายหน้าอีก เป็นผู้ที่มี
วิภวตัณหา(อุจเฉททิฏฐิ)
ข้อนี้แสดงเพื่อให้แจ้งในอนาคต
ข้อ
๓ ปฏิโลมเทสนานั้น
ส่วนมากแสดงแก่สัตว์ที่ยึดมั่นในสัสสตทิฏฐิ
ที่
เห็นว่าสัตว์และโลกเที่ยง (ภวตัณหา)
เป็นจำพวกที่ไม่เชื่อเหตุ (อเหตุกทิฏฐิ)
ข้อนี้
แสดงถึงเหตุก่อน
เพื่อให้เห็นธรรมอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ตามลำดับ
คือมี ชรา มรณะก็เพราะมีชาติ
มีชาติก็เพราะได้ทำกัมมภพ มีกัมมภพก็เพราะยึดมั่นในอุปา
ทาน ฯลฯ ฯลฯ ข้อนี้แสดงเหตุ
ข้อ
๔ มัชฌอาทิปฏิโลมเทสนานั้น
ส่วนมากแสดงแก่สัตว์ที่ยึดมั่นว่า
สัตว์ โลกและกรรมต่าง ๆ นั้น
เมื่อตายแล้วก็สูญหมด (อุจเฉททิฏฐิ)
ซึ่งไม่เชื่อทั้งเหตุ
ทั้งผล (อกริยทิฏฐิ)
จึงแสดงให้เห็นว่าสัตว์จะดำรงคงอยู่ได้ด้วยอาหาร
อาหารต่าง ๆ
จะเกิดขึ้นได้ด้วยอาศัยตัณหาเป็นเหตุให้เกิด
ตัณหาจะปรากฏขึ้นได้ก็ด้วยอาศัยเวทนา
เป็นเหตุ
เวทนาก็อาศัยผัสสะเป็นเหตุ
ฯลฯ ฯลฯ
ข้อนี้แสดงเพื่อให้แจ้งในอดีต
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ