ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

. อธิปติปัจจัย

อธิปติปัจจัยนี้ จำแนกออกได้เป็น ๒ คือ

. อารมณ์ ๖ อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่พึงกระทำให้เอาใจใส่เป็นพิเศษ ช่วย อุปการะแก่นามนั้น ชื่อว่า อารัมมณาธิปติปัจจัย

. อธิบดีทั้ง ๔ มี ฉันทาธิปติ เป็นต้น เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามรูป ที่เกิดขึ้นพร้อมกันกับตนนั้น ชื่อว่า สหชาตาธิปติปัจจัย

อารัมมณาธิปติปัจจัย

. อารมณ์ ต้องเป็นอารมณ์ ๖ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเอาใจใส่เป็นพิเศษด้วย ไม่ใช่เพียงแต่เอาใจใส่อย่างธรรมดา

. ประเภท นามรูป เป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

. ชาติ เป็น อารัมมณชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นได้แก่ อารมณ์นั้น เอง (แต่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษด้วย)

. กาล เป็นได้ทั้ง อดีต อนาคต ปัจจุบัน และ กาลวิมุตติ

. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ นิปผันนรูป๑๘ ที่เป็นอิฏฐารมณ์, จิต ๘๔ (เว้นโทสจิต ๒ โมหจิต ๒ ทุกขกายวิญญาณ ๑), เจตสิก ๔๗ (เว้นโทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ วิจิกิจฉา) และ นิพพาน

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ โลภมูลจิต ๘ ,มหากุสล ๘, มหากิริยา ญาณสัมปยุตต ๔, โลกุตตรจิต ๘, เจตสิก ๔๕ (เว้น โทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ วิจิกิจฉา อัปปมัญญา ๒)

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๒ และรูปทั้งหมดที่ ไม่เป็นอิฏฐารมณ์

. ความหมายโดยย่อ อารัมมณาธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ

() กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล กุสลที่ได้บำเพ็ญมาแล้ว อันได้แก่ กุสลจิต ๒๐ (เว้นอรหัตตมัคค) ซึ่งทำให้ซาบซึ้งตรึงใจเป็นพิเศษก็ดี ฌานที่ได้ที่ถึงแล้ว อันได้แก่ มหัคคตกุสลจิต ๙ ก็ดี โคตรภูและโวทาน อันได้แก่ มหากุสลญาณสัมปยุตตจิต ๔ ก็ดี และมัคคจิตเบื้องต่ำ ๓ อันเกิดขึ้นแล้วแก่พระเสกขบุคคลก็ดี ธรรมเหล่านี้เป็น อารัมมณาธิปติปัจจัย มหากุสลจิตที่พิจารณาธรรมนั้น ๆ เป็น อารัมมณาธิปติปัจจ ยุบบันน

() กุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล กุสลที่ได้บำเพ็ญมาแล้ว อันได้แก่ โลกียกุสล ๑๗ เมื่อนึกถึงกุสลเหล่านี้ โดยความเอาใจใส่เป็นพิเศษ ก็เป็น อารัมมณาธิปติปัจจัย อาจทำให้เกิด ราคะ ทิฏฐิได้ ราคะ ทิฏฐิ คือ อกุสลจิตที่เกิดขึ้นโดยอารมณ์เหล่านี้ เป็นอารัมมณาธิปติปัจจยุบบันน

() กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสล คือ อรหัตตมัคค ๑ เป็นอารัมมณา ธิปติปัจจัย มหากิริยาจิต (ในปัจจเวกขณวิถี) ที่พิจารณาอรหัตตมัคคนั้น เป็นอารัมม ณาธิปติปัจจยุบบันน

() อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล ผู้ที่เพลิดเพลินต่อราคะ ต่อทิฏฐิ โดยความ เอาใจใส่เป็นพิเศษ อันได้แก่ โลภจิต ๘ ดวงนั้น เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย ทำให้ เกิด ราคะ ทิฏฐิขึ้นอีก ราคะ ทิฏฐิ อันได้แก่ โลภมูลจิต ๘ ที่เกิดขึ้นอีกนี่แหละ เป็นอารัมมณาธิปติปัจจยุบบันน

() อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อรหัตตผลจิตก็ดี นิพพานก็ดี เป็น อารัมมณาธิปติปัจจัย มหากิริยาจิต (ในปัจจเวกขณวิถี) ที่พิจารณาอรหัตตผลจิต ก็ดี พิจารณานิพพานก็ดี เป็นอารัมมณาธิปติปัจจยุบบันน

() อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล ผลจิตเบื้องต่ำ ๓ ก็ดี นิพพานก็ดี เป็น อารัมมณาธิปติปัจจัย มหากุสลจิตของพระเสกขบุคคล ๓ ที่พิจารณา(ปัจจเวกขณะ) ผลจิตก็ดี นิพพานก็ดี เป็นอารัมมณาธิปติปัจจยุบบันน

นิพพาน เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย โคตรภูของติเหตุกปุถุชน โวทานของพระ เสกขบุคคล ๓ อันได้แก่ มหากุสลญาณสัมปยุตต ๔ และ มัคคจิต ๔ ของมัคค บุคคล ๔ เป็นอารัมมณาธิปติปัจจยุบบันน

() อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล เอาใจใส่เป็นพิเศษในวัตถุ ๖, กามอารมณ์ ๕, โลกียวิบาก ๓๑ (เว้นทุกขสหคตกายวิญญาณ ๑) และกิริยาจิต ๒๐ เป็น อารัมมณาธิปติปัจจัย เกิดความเพลิดเพลิน มี ราคะ ทิฏฐิ อันได้แก่ โลภจิต ๘ ขึ้น เป็นอารัมมณาธิปติปัจจยุบบันน

. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

. อารัมมณาธิปติปัจจัย                                        . อารัมมณปัจจัย

. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย                              . อารัมมณูปนิสสยปัจจัย

. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย                                      . อารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย

. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย                                   . อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

สหชาตาธิปติปัจจัย

. อธิปติ ได้แก่ ฉันทาธิปติ วิริยาธิปติ จิตตาธิปติ และวิมังสาธิปติ

. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

. ชาติ เป็นสหชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมและปัจจยุบบันนธรรม เกิดร่วมในจิตดวงเดียวกัน

. กาล เป็นได้เฉพาะในกาลที่เป็นปัจจุบัน

. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และ อุปถัมภกสัตติ

. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่  ฉันทเจตสิก วิริยเจตสิก ปัญญาเจตสิกที่ใน สาธิปติชวน ๕๒ (คือ ชวนจิต ๕๕ เว้น หสิตุปปาทจิต ๑ โมหมูลจิต ๒ จึงเหลือ ๕๒) และจิตเฉพาะสาธิปติชวนจิต ๕๒

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ สาธิปติชวนจิต ๕๒, เจตสิก ๕๐ (เว้นวิจิ กิจฉาเจตสิก ๑ และเว้นฉันทะ วิริยะ ปัญญา ในขณะที่เป็นอธิบดี ๑) จิตตชรูปที่ เกิดด้วยสาธิปติชวนจิต ๕๒ นั้น

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ กามจิต ๕๔ ที่ไม่ได้เกิดร่วมกับอธิบดี, องค์ ธรรมของอธิบดี เฉพาะองค์ที่กำลังเป็นอธิบดี, มหัคคตวิบาก ๙, จิตตชรูปที่ไม่ได้ เกิดร่วมกับอธิบดี, กัมมชรูป, อุตุชรูป, อาหารชรูป

. ความหมายโดยย่อ สหชาตาธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ

() กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล กุสลอธิบดี ๔ องค์ใดองค์หนึ่งในมหากุสล ๘ มหัคคตกุสล ๙ มัคคจิต ๔ เป็นสหชาตาธิปติปัจจัย นามขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตต ด้วยกุสลอธิบดีนั้น อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาตาธิปติปัจจยุบบันน

() กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลอธิบดี ๔ องค์ใดองค์หนึ่งในกุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาตาธิปติปัจจัย กุสลสาธิปติจิตตชรูป เป็นสหชาตาธิปติปัจจยุบบันน

() กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย กุสลอธิบดี ๔ องค์ใดองค์ หนึ่งในกุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาตาธิปติปัจจัย กุสลจิต ๒๑ ด้วย และกุสลสาธิปติ จิตตชรูปด้วย เป็นสหชาตาธิปติปัจจยุบบันน

() อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อธิบดี ๓ (เว้นวิมังสาธิปติ) องค์ใดองค์หนึ่ง ในโลภมูล ๘ โทสมูล ๒ เป็นสหชาตาธิปติปัจจัย  นามขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตต ด้วยอกุสลอธิบดีนั้น อันได้แก่ โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ เป็นสหชาตาธิปติ ปัจจยุบบันน

() อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลอธิบดี ๓ องค์ใดองค์หนึ่งในอกุสล จิต ๑๐ เป็นสหชาตาธิปติปัจจัย จิตตชรูปที่เกิดร่วมด้วยอกุสลจิต ๑๐  ดวงนั้น เป็น สหชาตาธิปติปัจจยุบบันน

() อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย อกุสลอธิบดี ๓ องค์ใด องค์หนึ่งในอกุสลจิต ๑๐ เป็นสหชาตาธิปติปัจจัย อกุสลจิต ๑๐ คือ โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ และอกุสลสาธิปติจิตตชรูปด้วย เป็นสหชาตาธิปติปัจจยุบบันน

() อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อธิบดี ๔ องค์ใดองค์หนึ่งที่ในสเหตุก กิริยาจิต ๑๗, ที่ในผลจิต ๔ เป็นสหชาตาธิปติปัจจัย สเหตุกกิริยาจิต ๑๗ ผลจิต ๔ และ อพยากตสาธิปติจิตตชรูป เป็นสหชาตาธิปติปัจจยุบบันน

. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๑๓ ปัจจัย คือ

. สหชาตาธิปติปัจจัย                     . เหตุปัจจัย                               . สหชาตปัจจัย

. อัญญมัญญปัจจัย                     . สหชาตนิสสยปัจจัย                      . วิปากปัจจัย

. นามอาหารปัจจัย                      . สหชาตินทริยปัจจัย                       . มัคคปัจจัย

๑๐. สัมปยุตตปัจจัย                      ๑๑. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย                  

๑๒. สหชาตัตถิปัจจัย                     ๑๓. สหชาตอวิคตปัจจัย

สอบถาม ปัญหาธรรมะ ได้ที่ลานธรรมมูลนิธิ ค่ะ...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...