ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
ปัจจัย
๒๔ เกี่ยวแก่นามรูป
ในบท
นามรูป เป็นปัจจัยแก่ สฬายตนะนี้
เมื่อกล่าวโดยปัจจัย ๒๔ แล้ว
ก็มี
รายละเอียดที่จะกล่าวได้เป็นหลายรายการด้วยกัน
จึงขอกล่าวรวบยอดเป็นส่วนรวม
ทั้งหมดว่า
นามรูปที่อุปการะช่วยเหลือแก่
สฬายตนะนั้นด้วยอำนาจแห่งปัจจัย
๑๖ ปัจจัย คือ
๑.เหตุปัจจัย
๒.สหชาตปัจจัย
๓.อัญญมัญญปัจจัย
๔.นิสสยปัจจัย
๕.ปุเรชาตปัจจัย
๖.ปัจฉาชาตปัจจัย
๗.กัมมปัจจัย
๘.วิปากปัจจัย
๙.อาหารปัจจัย
๑๐.อินทรียปัจจัย
๑๑.ฌานปัจจัย
๑๒.มัคคปัจจัย
๑๓.สัมปยุตตปัจจัย
๑๔.วิปปยุตตปัจจัย
๑๕.อัตถิปัจจัย
๑๖.อวิคตปัจจัย
ในจำนวน
๑๖ ปัจจัยนี้
ปัจจัยใดที่ได้เคยแสดงความหมายแล้วในบทก่อน
ก็จะไม่กล่าวซ้ำในที่นี้อีก
จะกล่าวถึงความหมายเฉพาะปัจจัยที่ไม่ซ้ำกับบทก่อน
คือ
๑.
ปุเรชาตปัจจัย
กล่าวถึงรูปธรรมที่เกิดก่อน
อุปการะช่วยเหลือให้เกิดนาม
ธรรมอันมีความหมายว่า วัตถุ ๖
เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่วิญญาณธาตุ
๗ ใน ปวัตติกาล(วัตถุปุเรชาตปัจจัย)
นั้นอย่างหนึ่ง
อารมณ์
๕ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่
ปัญจวิญญาณวิถี (อารัมมณปุเรชาต
ปัจจัย)
อีกหนึ่ง
ทั้ง
๒ อย่างนี้ด้วยอำนาจแห่ง ปุเรชาตปัจจัย
๒.
ปัจฉาชาตปัจจัย
กล่าวถึง นามธรรม คือ
จิตเจตสิกที่เกิดภายหลังเป็น
ปัจจัยช่วยอุปการะแก่รูปธรรมที่เกิดก่อน
ตัวอย่างในบทนี้เช่น
จักขุวิญญาณ และเจตสิก ๗ ดวง
อันเป็นนามที่เกิด
ภายหลังนี่แหละ
เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่
จักขุปสาทรูป(จักขวายตนะ)
ที่เกิดก่อน
ให้ตั้งอยู่ได้ด้วยดีตลอดไป
๓.
กัมมปัจจัย
กล่าวถึง ก.
เจตนาที่เกิดร่วมพร้อมกัน
เป็นปัจจัยช่วย
อุปการะแก่นามรูปที่เกิดพร้อมกับเจตนานั้น
ซึ่งเรียกว่า สหชาตกัมมปัจจัยอย่างหนึ่ง
กล่าว โดยหน้าที่การงานเรียกสังวิธานกิจ
ข.
เจตนาที่เกิดต่างขณะกัน
(คือดับไปแล้วนั้น)
เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่
นามรูป
ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยกรรม(คือเจตนาที่ดับไปแล้ว)นั้น
ซึ่งเรียกว่า นานักขณิก กัมมปัจจัย
อีกอย่างหนึ่ง
กล่าวโดยหน้าที่การงานเรียกพีชนิธานกิจ
ทั้ง
๒ อย่างนี้ด้วยอำนาจแห่งกัมมปัจจัย
๔.
ฌานปัจจัย
กล่าวถึงองค์ฌาน ๕ (คือ
เจตสิก ๕ ดวง อันได้แก่ วิตก
วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามและรูปที่เกิดพร้อมกับตน
ตัวอย่างในบทนี้ก็หมายถึง
องค์ฌาน ๕
ที่ในปฏิสนธิจิตเป็นปัจจัยช่วย
อุปการะแก่ ปฏิสนธิจิต เจตสิก
และกัมมชรูป
นี่กล่าวถึงในปฏิสนธิกาล
ส่วนใน ปวัตติกาลก็หมายถึง
องค์ฌาน ๕
ที่ในวิบากจิตเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่วิบากจิต
เจตสิก และจิตตชรูป
๕.
มัคคปัจจัย
กล่าวถึง องค์มัคค ๙ (คือเจตสิก
๙ ดวง อันได้แก่ ปัญญา วิตก
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ วิริยะ สติ เอกัคคตา
และทิฐิ)
เป็น
ปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามและรูปที่เกิดพร้อมกับตน
ตัวอย่างในบทนี้
ก็หมายถึง องค์มัคคที่ในสเหตุกปฏิสนธิจิต
๑๗ ที่ใน ปฏิสนธิกาล
เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่สเหตุกปฏิสนธิจิต
๑๗ เจตสิกที่ประกอบ และกัมมชรูป
ส่วนในปวัตติกาล
องค์มัคคที่ในสเหตุกวิบากจิต
๑๗ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะ แก่สเหตุกวิบากจิต
๑๗ เจตสิกที่ประกอบ และจิตตชรูป
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ