ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
๑๐.
ปุเรชาตปัจจัย
ปุเรชาตปัจจัยนี้
จำแนกได้เป็น ๒ คือ
ก.
วัตถุที่เกิดก่อน
และยังไม่ทันดับไป
ได้ช่วยอุปการะให้ปัจจยุบบันนธรรม
ได้เกิดขึ้น
อย่างนี้ได้ชื่อว่า วัตถุปุเรชาตปัจจัย
ข.
อารมณ์
เฉพาะแต่ที่เป็นรูปธรรม
อย่างที่เรียกว่าปัจจยุบบันนนิปผันนรูป
ที่เกิดก่อนและยังไม่ทันดับไป
ได้ช่วยอุปการะให้ปัจจยุบบันนธรรมได้เกิดขึ้น
อย่าง นี้เรียกว่า
อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตปัจจัยนี้
คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง
ๆ ทั้งหมดเหมือนกับ วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัยทุกประการ
๑.
วัตถุปุเรชาต
หมายความว่า วัตถุ ๖
ที่เกิดก่อน
๒.
ประเภท
รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นวัตถุปุเรชาตชาติ
หมายความว่า
ปัจจัยธรรมซึ่งช่วยอุปการะแก่
ปัจจยุบบันนธรรมนั้น
โดยการที่เป็นที่ตั้งด้วย
และโดยการที่เกิดก่อนด้วย
๔.
กาล
เป็นกาลปัจจุบัน หมายความว่า
แม้ปัจจัยธรรมจะเกิดก่อน
แต่ก็ยัง ไม่ทันดับไป คือ
ยังอยู่ในระหว่างฐีติขณะ
ยังไม่ทันถึงภังคขณะ
๕.
สัตติ
มีทั้ง ชนกสัตติ
และอุปถัมภกสัตติ
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ วัตถุ ๖ คือ จักขุวัตถุ
โสตวัตถุ ฆานวัตถุ ชิวหาวัตถุ
กายวัตถุ และหทยวัตถุ
ที่เกิดก่อนปัจจยุบบันน
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ จิต ๘๕ (เว้นอรูปวิบาก
๔)
ทั้งที่แน่นอน
และไม่แน่นอน ในปัญจโวการภูมิ
ที่เป็นปวัตติกาล
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ โลภมูลจิต ๘,
โมหมูลจิต
๒,
มโนทวารา
วัชชนจิต ๑,
มหากุสลจิต
๘,
มหากิริยาจิต
๘,
อรูปจิต
๑๒ และโลกุตตรจิต ๗ (เว้นโสดาปัตติมัคคจิต
๑)
รวมจิต
๔๖ ดวง
ทั้งที่แน่นอนและไม่แน่นอน
ปัญจ โวการปฏิสนธิจิต ๑๕
และรูปทั้งหมด
ที่ว่าทั้งที่แน่นอนและไม่แน่นอนนั้น
เรื่องนี้ได้แสดงไว้ในปริจเฉทที่
๓ ตอน วัตถุสังคหะ แล้ว
แต่เพื่อทบทวนความจำ
จึงขอกล่าวซ้ำในที่นี้อีกว่า
(๑)
ปัจจยุบบันนธรรมที่แน่นอน
ได้แก่ โทสมูลจิต ๒,
อเหตุกจิต
๑๗ (เว้น
มโนทวาราวัชชนจิต ๑)
มหาวิบาก
๘,
รูปาวจรจิต
๑๕ และโสดาปัตติมัคคจิต
๑
รวมจิต ๔๓ ดวงนี้
ต้องอาศัยวัตถุเกิดอย่างแน่นอน
(๒)
ปัจจยุบบันนธรรมที่ไม่แน่นอน
ได้แก่ โลภมูลจิต ๘,
โมหมูลจิต
๒,
มโนทวาราวัชชนจิต
๑,
มหากุสลจิต
๘,
มหากิริยาจิต
๘,
อรูปกุสลจิต
๔,
อรูป
กิริยาจิต ๔ และโลกุตตรจิต ๗ (เว้นโสดาปัตติมัคคจิต
๑)
รวมจิต
๔๒ ดวงนี้ ถ้าเกิดในปัญจโวการภูมิ
ก็ต้องอาศัยวัตถุเกิด
ถ้าเกิดในจตุโวการภูมิไม่ต้องอาศัยวัตถุ
ก็เกิดได้
(๓)
ปัจจนิกธรรมที่แน่นอน
ได้แก่ อรูปวิบากจิต ๔ และ
รูปทั้งหมดซึ่งเกิด
ขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยวัตถุ
จึงเป็นปัจจนิกธรรมที่แน่นอน
(๔)
ปัจจนิกธรรมที่ไม่แน่นอน
ก็คือ จิต ๔๒ ดวง ตามข้อ (๒)
นั่นเอง
ซึ่งจิต ๔๒ ดวงนี้ เกิดในปัญจโวการภูมิ
ก็เป็นปัจจยุบบันนธรรม
ถ้าเกิดในจตุโว การภูมิ
ก็เป็นปัจจนิกธรรมไป
จึงว่าไม่แน่นอน
๗.
ความหมายโดยย่อ
วัตถุปุเรชาตปัจจัยนี้ มี ๓
วาระ คือ
(๑)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
วัตถุ ๖ ที่เกิดก่อน
เป็นวัตถุปุเรชาต ปัจจัย
วิบากจิต ๓๒ (เว้นอรูปวิบาก
๔),
กิริยาจิต
๒๐ ที่เกิดทีหลังวัตถุ ๖ นั้น
เป็นวัตถุปุเรชาตปัจจยุบบันน
เช่น
วัตถุ
๕ มีจักขุวัตถุ เป็นต้น
เป็นวัตถุปุเรชาตปัจจัย ทวิปัญจวิญญาณ
๑๐ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น
เป็นวัตถุปุเรชาตปัจจยุบบันน
หทยวัตถุ
ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่เกิดก่อน
ๆ มีปฏิสนธิจิตเป็นต้น
เป็นวัตถุ ปุเรชาตปัจจัยวิบากจิต
๒๒ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ
๑๐ อรูปวิบาก ๔)
เป็นวัตถุปุเร
ชาตปัจจยุบบันน
หทยวัตถุ
ที่เกิดอยู่ก่อนเวลาที่จะออกจากนิโรธสมาบัตินั้น
เป็นวัตถุปุเรชาต ปัจจัย
อนาคามิผลจิต ๑ อรหัตตผลจิต ๑
ที่เกิดขึ้นในขณะออกจากนิโรธสมาบัตินั้น
เป็นวัตถุปุเรชาตปัจจยุบบันน
วัตถุ
๖
ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป
๑๗ ขณะ เป็น วัตถุปุเรชาตปัจจัย
จิตที่เกิดพร้อมกับวัตถุ ๖
ที่เหลือ ๑๖ ขณะ อันได้แก่
โลกีย วิบากจิต ๒๘ (เว้นอรูปวิบาก
๔)
กิริยาจิต
๒๐ เป็นวัตถุปุเรชาตปัจจยุบบันน
(๒)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล
หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงก่อน
ๆ มีอาวัชชนจิต เป็นต้น
เป็นวัตถุปุเรชาตปัจจัย
กุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่
กุสลจิต ๒๑ ที่เกิดทีหลัง
เป็นวัตถุปุเรชาตปัจจยุบบันน
หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป
๑๗ ขณะเป็นวัตถุ ปุเรชาตปัจจัย
มรณาสันนกุสลชวนะ อันได้แก่
โลกียกุสลจิต ๑๗ เป็นวัตถุปุเรชาต
ปัจจยุบบันน
(๓)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล
หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงก่อน
ๆ มี อาวัชชนจิต เป็นต้น
เป็นวัตถุปุเรชาตปัจจัย อกุสลนามขันธ์
๔ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒
เป็นวัตถุปุเรชาตปัจจยุบบันน
หทยวัตถุ
ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป
๑๗ ขณะ เป็น วัตถุปุเรชาตปัจจัย
มรณาสันนอกุสลชวนะ อันได้แก่
อกุสลจิต ๑๒ เป็นวัตถุปุเร ชาตปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๘ ปัจจัย คือ
๑.
วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๒.
อารัมมณปัจจัย
๓.
อารัมมณาธิปติปัจจัย
๔.
อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๕.
วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๖.
วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗.
วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘.
วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย
อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๑.
อารัมมณปุเรชาต
หมายความว่า
อารมณ์เฉพาะที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น
และเกิดก่อนปัจจยุบบันนธรรมด้วย
๒.
ประเภท
รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นอารัมมณชาติ หมายความว่า
ปัจจัยนั้นได้แก่อารมณ์
และในที่นี้
หมายเฉพาะอารมณ์ที่เป็นนิปผันนรูปเท่านั้น
๔.
กาล
เป็นปัจจุบันกาล หมายความว่า
แม้อารมณ์นั้นจะเกิดก่อน
แต่ก็ยัง คงมีอยู่
ยังไม่ทันดับไป คือยังอยู่ใน
ฐีติขณะ จึงจะเป็นปัจจัยได้
๕.
สัตติ
มีทั้ง ชนกสัตติ
และอุปถัมภกสัตติ
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ อารมณ์ ๖ ที่เป็น นิปผันนรูป
๑๘ และยัง อยู่ในระหว่างฐีติขณะ
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ กามจิต ๕๔ อภิญญาจิต ๒
เจตสิก ๕๐ (เว้นอัปปมัญญา)
ที่เกิดจากปัจจุบันนิปผันนรูป
๑๘
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ จิต ๗๖(เว้นทวิปัญจวิญญาณ
๑๐ มโนธาตุ ๓)
ที่ไม่ได้เกิดจากอารมณ์
๖ ที่เป็นปัจจุบันนิปผันนรูป
๑๘ และรูปทั้งหมด
๗.
ความหมายโดยย่อ
อารัมมณปุเรชาตปัจจัย นี้มี ๓
วาระ
(๑)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
อารมณ์ ๖ คือปัจจุบันนิปผันนรูป
๑๘ เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจัย
กามวิบากจิต ๒๓ กามกิริยาจิต
๑๑ กิริยาอภิญญาจิต ๑ เจตสิก
๓๕ (เว้นวิรตี)
เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจยุบบันน
เช่น
รูปารมณ์
สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์
โผฏฐัพพารมณ์
ที่เป็นปัจจุบัน เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจัย
ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มโนธาตุ ๓
เป็นอารัมมณปุเรชาต ปัจจยุบบันน
ปัจจุบันนิปผันนรูป
๑๘ เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจัย
มโนทวาราวัชชนจิต ๑,
กามกิริยาชวนะ
๙,
ตทาลัมพนะ
๑๑ เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจยุบบันน
พระอรหันต์พิจารณา
จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย รูป
เสียง กลิ่น รส โผฏ ฐัพพะ และหทยวัตถุ
โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา
รูปเหล่านี้ที่เป็นปัจจุบัน
เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจัย
มหากิริยาจิต ๘
ที่พิจารณารูปเหล่านี้
เป็นอารัมมณ ปุเรชาตปัจจยุบบันน
พระอรหันต์เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ
ได้ยินเสียงด้วยทิพพโสต
รูปและเสียงนั้น เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจัย
กิริยาอภิญญาจิตของพระอรหันต์
ที่เห็นรูปนั้น ที่ได้
ยินเสียงนั้น เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจยุบบันน
(๒)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล
อารมณ์ ๖ คือ ปัจจุบันนิปผันนรูป
๑๘ เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจัย
มหากุสล ๘,
กุสลอภิญญา
๑,
เจตสิก
๓๖ (เว้น
อัปปมัญญา)
เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจยุบบันน
เช่น
พระเสกขบุคคลและปุถุชนทั้งหลายพิจารณา
จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย รูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทยวัตถุ
โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา
รูปเหล่านี้ที่เป็นปัจจุบัน
เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจัย
มหากุสลจิต ๘ ที่พิจารณารูป
เหล่านี้เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจยุบบันน
พระเสกขบุคคลและปุถุชนทั้งหลาย
เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ
ได้ยินเสียงด้วย ทิพพโสต
รูปและเสียงนั้นเป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจัย
กุสลอภิญญาจิตที่เห็นรูปนั้น
ที่ได้ยินเสียงนั้น
เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจยุบบันน
(๓)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล
อารมณ์
๖
คือ ปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘
เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจัย
อกุสลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗
เป็นอารัมมณปุเรชาต
ปัจจยุบบันน เช่น
ยินดีเพลิดเพลินต่อ
จักขุ โสต ฆานะ ชิวหา กาย รูป
เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ และหทยวัตถุ
เมื่อนึกถึงรูปเหล่านี้แล้วมี
ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา
อุทธัจจะ และโทมนัสเกิดขึ้น
รูปเหล่านี้ที่เป็นปัจจยุบบันน
เช่น อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
ราคะ
ทิฏฐิเป็นต้นที่เกิดขึ้นอันได้แก่อกุสลจิต
๑๒ นั้น
เป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๘ ปัจจัย คือ
๑.
อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๒.
อารัมมณปัจจัย
๓.
อารัมมณาธิปติปัจจัย
๔.
วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๕.
อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๖.
วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗.
อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘.
อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ