ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
ปฏิจจสมุปปาทธรรม
นัยที่ ๔ ติสันธิ
อาการ
๒๐,
สนธิ
๓,
สังเขป
๔ พึงมีด้วยประการฉะนี้
อวิชชา ตัณหา และ อุปาทาน
พึงทราบว่าเป็นกิเลสวัฏฏ
หมายความว่า
ในอาการ ๒๐
นั้นได้กล่าวมาแล้ว
ส่วนสังเขป ๔ และกิเลส วัฏฏ
จะได้กล่าวต่อไปข้างหน้า
บัดนี้จะได้กล่าวถึงติสันธิ
คือ สนธิ ๓ หรือเงื่อน ๓
สนธิ
คือความสัมพันธ์สืบต่อระหว่างเหตุกับผล
และระหว่างผลกับเหตุ อีก
นัยหนึ่ง สนธิ คือ เงื่อนต่อ
เป็นเงื่อนที่เหตุกับผล
และผลกับเหตุต่อกันที่ตรงนั้น
ซึ่งเป็นเงื่อนต่อของอาการ
๒๐ หรือของกาล ๓
ที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง ความ
สัมพันธ์สืบต่อหรือเงื่อนต่อนี้
มี ๓ เงื่อน คือ
๑.
สังขาร
กับ วิญญาณ เป็นสนธิ ๑ คือ
ระหว่างสังขารอันเป็นอดีตเหตุ
กับวิญญาณ
อันเป็นปัจจุบันผลต่อกัน
ซึ่งเรียกว่า เหตุผลสัมพันธ์
๒.
เวทนา
กับ ตัณหา เป็นสนธิ ๑ คือ
ระหว่างเวทนาอันเป็นปัจจุบันผล
กับตัณหา
อันเป็นปัจจุบันเหตุต่อกัน
ซึ่งเรียกว่า ผลเหตุสัมพันธ์
๓.
ภพ
กับ ชาติ เป็นสนธิ ๑ คือ
ระหว่างภพอันเป็นปัจจุบันเหตุ
กับชาติ
อันเป็นอนาคตผลต่อกัน
ซึ่งเรียกว่า เหตุผลสัมพันธ์
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ