ปริจเฉทที่ ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
๑๗.
ฌานปัจจัย
๑.
ฌาน
มีความหมายว่า
ก.
การเพ่งอารมณ์
ตามธรรมดา ตามปกติ มีรูปารมณ์เป็นต้นนั้นอย่างหนึ่ง
การเพ่งอารมณ์ในการเจริญสมถภาวนา
มีกสิณเป็นต้นนั้นอีกอย่างหนึ่ง
ทั้ง ๒ อย่าง นี้เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน
ข.
การเพ่งอารมณ์ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา
มีการเพ่งอารมณ์ ไตรลักษณ์
คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
นั้นเรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน
ค.
ฌานปัจจัยธรรม
ที่ช่วยอุปการะแก่ปัจจยุบบันนธรรมทั้งหลายนั้น
ช่วย อุปการะโดยอำนาจแห่งอารัมมณูปนิชฌาน
หรือโดยอำนาจแห่งลักขณูปนิชฌาน
ก็ แล้วแต่กรณี
ง.
สรุปความว่า
ฌานปัจจัยก็ได้แก่ องค์ฌาน ๕
คือ วิตก วิจาร ปิติ เวทนา
และเอกัคคตาทั้ง ๕
อย่างนี้นั่นเอง หมายความว่า
วิตก ก็เรียกฌาน วิจาร
ก็เรียกว่า ฌาน เป็นต้น
วิตก
ทำหน้าที่ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์
วิจาร
ทำหน้าที่ประคองจิตให้อยู่ที่
อารมณ์นั้น ปิติ
ทำหน้าที่อิ่มใจในอารมณ์นั้น
เวทนา
ทำหน้าที่เสวยอารมณ์นั้น และเอกัคคตา
ก็ทำหน้าที่ตั้งมั่นแน่วแน่ในอารมณ์นั้น
แม้จะทำหน้าที่กันคนละอย่าง
แต่ก็ทำเพื่อให้สำเร็จในกิจการงานอันเดียวกัน
คือ เพ่งอารมณ์อันเดียวกัน
๒.
ประเภท
นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นสหชาตชาติ
๔.
กาล
เป็นกาลปัจจุบัน
๕.
สัตติ
มีทั้ง ชนกสัตติ
และอุปถัมภกสัตติ
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ องค์ฌาน ๕ คือ วิตก
วิจาร ปิติ เวทนา เอกัคคตา
ที่ในจิต ๗๙ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ
๑๐)
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ จิต ๗๙(เว้นทวิปัญจวิญญาณ
๑๐)
เจตสิก
๕๒ จิตตชรูป ปฏิสนธิกัมมชรูป
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐
เจตสิกที่ประกอบ ๗,
พาหิรรูป,
อาหารชรูป,
อุตุชรูป,
อสัญญสัตตกัมมชรูป,
ปวัตติกัมมชรูป
๗.
ความหมายโดยย่อ
ฌานปัจจัยนี้ มี ๗ วาระ
(๑)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล
องค์ฌาน ๕ ที่ในกุสลจิต ๒๑
เป็นฌานปัจจัย กุสลสัมปยุตตนามขันธ์
๔ อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ เป็น
ฌานปัจจยุบบันน
(๒)
กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
องค์ฌาน ๕ ที่ในกุสลจิต ๒๑
เป็นฌาน ปัจจัย กุสลจิตตชรูป
เป็นฌานปัจจยุบบันน
(๓)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย
องค์ฌาน ๕ ที่ในกุสลจิต ๒๑
เป็นฌานปัจจัย กุสลจิต ๒๑
ด้วย กุสลจิตตชรูปด้วย
เป็นฌานปัจจยุบบันน
(๔)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล
องค์ฌาน ๕ ที่ในอกุสลจิต ๑๒
เป็นฌาน ปัจจัย อกุสลสัมปยุตตนามขันธ์
๔ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒
เป็นฌานปัจจยุบบันน
(๕)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
องค์ฌาน ๕ ที่ในอกุสลจิต ๑๒
เป็นฌาน ปัจจัย อกุสลจิตตชรูป
เป็นฌานปัจจยุบบันน
(๖)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย
องค์ฌาน ๕ ที่ในอกุสล จิต ๑๒
เป็นฌานปัจจัย อกุสลจิต ๑๒
ด้วย อกุสลจิตตชรูปด้วย
เป็นฌานปัจจยุบ บันน
(๗)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
องค์ฌาน ๕ ที่ในวิบากจิต ๒๖ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ
๑๐)
, ที่ในกิริยาจิต
๒๐,
ในปวัตติกาลและในปฏิสนธิกาล
ตามควรแก่กรณี เป็นฌานปัจจัย
วิบากจิต ๒๖ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ
๑๐),
กิริยา
จิต ๒๐ ,
วิปากจิตตชรูป,
กิริยาจิตตชรูป,
ปฏิสนธิกัมมชรูป
เป็นฌานปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๑๑ ปัจจัย คือ
๑.
ฌานปัจจัย
๒.
สหชาตปัจจัย
๓.
อัญญมัญญปัจจัย
๔.
สหชาตนิสสยปัจจัย
๕.
วิปากปัจจัย
๖.
สหชาตินทริยปัจจัย
๗.
มัคคปัจจัย
๘.
สัมปยุตตปัจจัย
๙.
สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๑๐.
สหชาตัตถิปัจจัย
๑๑.
สหชาตอวิคตปัจจัย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ