ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
ปฏิจจสมุปปาทธรรม
นัยที่ ๓ วีสตาการา
อาการ
๒๐ แห่งปฏิจจสมุปปาท คือ
อดีตเหตุ ๕,
ปัจจุบันผล
๕,
ปัจจุบัน
เหตุ ๕ และอนาคตผล ๕
มีความหมายว่า
อาการ ๒๐ นั้นได้แก่
สภาพความเป็นไปของปฏิจจสมุปปาท
นั่นเอง
จึงจำแนกไปตามเหตุตามผลแห่งกาลทั้ง
๓ จึงจัดได้เป็น ๔ พวก ๆ ละ ๕
รวมเป็นอาการ ๒๐
คือ
๑.
อดีตเหตุ
๕ ได้แก่
อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน
และภพ ธรรม ๕ ประการนี้
เป็นปัจจัยให้ปรากฏปัจจุบันผล
๕
๒.
ปัจจุบันผล
๕
ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ
ผัสสะ และเวทนา
๓.
ปัจจุบันเหตุ
๕
ได้แก่ ตัณหา อุปาทาน ภพ
อวิชชา และสังขาร ธรรม ๕
ประการนี้เป็นปัจจัยให้ปรากฏอนาคตผล
๕
๔.
อนาคตผล
๕
ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ
ผัสสะ และเวทนา
อาการที่เป็นไปในกาลเวลาที่ล่วงไปแล้วซึ่งเรียกว่า
อดีตเหตุนั้นมี ๕ ประการ
ได้แก่ อวิชชา สังขาร ตัณหา
อุปาทาน และภพ(คือกัมมภพ)ที่นับ
ตัณหา อุปาทาน ภพ
รวมเข้ากับอวิชชา
สังขารด้วยนั้น ก็เพราะว่า
ธรรม ๕
ประการนี้เกี่ยวเนื่องกัน
ไม่เว้นจากกันไปได้เลย
กล่าวคือ เมื่อมีอวิชชา
สังขาร เกิดขึ้นแล้ว
ที่จะไม่มีตัณหา อุปาทาน กัมมภพ
เกิดรวมด้วยนั้นเป็นไม่มี
ในทำนองเดียวกัน ตัณหา
อุปาทาน กัมมภพ
ปรากฏเกิดขึ้นในขณะใด
ขณะนั้นย่อมจะต้องมี อวิชชา
สังขาร เกิดร่วม ด้วยเสมอไป
รวมความว่า เพราะในอดีต
มีอวิชชาอยู่
จึงได้กระทำกรรม อันเป็น
เหตุให้ได้รับผลในปัจจุบัน
ผลที่ได้รับในปัจจุบันนี้ก็ได้แก่วิญญาณ
นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ
เวทนารวม ๕ ประการ ไม่นับ ชาติ
ชรา มรณะ
รวมเข้าด้วยก็เพราะเหตุว่า
ชาติ ชรา มรณะ
เป็นแต่เพียงอาการของ วิญญาณ
นามรูป เท่านั้นเอง
ไม่มีองค์ธรรมโดยเฉพาะ จึง
ไม่นับรวมเข้าด้วย
รวมความว่า
เพราะในอดีตกาลได้ก่อเหตุขึ้นไว้
จึงมาได้รับผล
เป็นรูปเป็นนามในปัจจุบันนี้
วิญญาณ
นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
อันเป็นผลในปัจจุบันนี้นี่เอง
เป็นตัวการที่ก่อให้มี ตัณหา
อุปาทาน กัมมภพ อวิชชา
และสังขารขึ้นอีก เพราะว่า
ได้ก่อเหตุโดยกระทำกรรมขึ้นอีกดังนี้
จึงเรียกว่า ตัณหา อุปาทาน
กัมมภพ อวิชชา สังขาร รวม ๕
ประการนี้เป็นปัจจุบันเหตุ
เมื่อได้ก่อให้เกิดปัจจุบันเหตุเช่นนี้แล้ว
ก็เป็นที่แน่นอนว่าจะได้รับผลต่อไปในอนาคต
ผลที่จะได้รับต่อไปในภายหน้านั้นจึง
ได้ชื่อว่า อนาคตผล
เมื่อรู้ผลปัจจุบัน
และละเหตุปัจจุบันได้โดยสิ้นเชิงแล้ว
ผลในอนาคตก็ไม่มี
เมื่อนั้นจึงเรียกว่า
สิ้นเหตุสิ้นปัจจัย
พ้นจากอาการ ๒๐ แห่งปฏิจจสมุปปาทธรรม
นี้ได้
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ