ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
๑๙.
สัมปยุตตปัจจัย
๑.
สัมปยุตต
หมายความว่าการประกอบกันที่พร้อมด้วยลักษณะ
๔ ประการ คือ เอกุปปาทะ เอกนิโรธะ
เอกาลัมพนะ เอกวัตถุกะ
ธรรมที่ประกอบกันพร้อม
ด้วยลักษณะ ๔
ประการที่กล่าวนี้
ก็มีแต่จิตกับเจตสิกเท่านั้น
นอกจากนี้ไม่มีอีกเลย
๒.
ประเภท
นามเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นสหชาตชาติ
๔.
กาล
เป็นกาลปัจจุบัน
๕.
สัตติ
มีทั้ง ชนกสัตติ
และอุปถัมภกสัตติ
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ นามขันธ์ ๔ คือ จิต ๘๙
เจตสิก ๕๒ แล้ว
แต่จะยกขันธ์ใด
จะเป็นขันธ์เดียว ๒ ขันธ์
หรือ ๓ ขันธ์ ก็ตาม
เป็นปัจจัยขันธ์นั้น ก็เป็นสัมปยุตตปัจจัย
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ นามขันธ์ ๔ คือ จิต ๘๙
เจตสิก ๕๒ เฉพาะขันธ์ที่เหลือ
จะเป็น ๓ ขันธ์,
๒
ขันธ์ หรือขันธ์เดียว
ตามลำดับนั้น เป็น สัมปยุตตปัจจยุบบันน
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ รูปทั้งหมด
๗.
ความหมายโดยย่อ
สัมปยุตตปัจจัยนี้
มี ๓ วาระ
(๑)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล
กุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่
กุสลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘
ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งเป็นสัมปยุตตปัจจัย
ขันธ์ที่เหลือนั้นก็เป็น สัมปยุตตปัจจยุบ
บันน
(๒)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล
อกุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่
อกุสลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗
ขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง เป็นสัมปยุตตปัจจัย
ขันธ์ที่เหลือนั้นก็เป็นสัมปยุตต
ปัจจยุบบันน
(๓)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
วิบากนามขันธ์ ๔ อันได้แก่
วิบากจิต ๓๖ กิริยานามขันธ์ ๔
อันได้แก่ กิริยาจิต ๒๐
เจตสิก ๓๘ ในปวัตติกาลและ
ในปฏิสนธิกาลนั้น
ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งเป็นสัมปยุตตปัจจัย
ขันธ์ที่เหลือในจิตดวงเดียว
กันนั้น ก็เป็นสัมปยุตตปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๗ ปัจจัย คือ
๑.
สัมปยุตตปัจจัย
๒.
สหชาตปัจจัย
๓.
อัญญมัญญปัจจัย
๔.
สหชาตนิสสยปัจจัย
๕.
วิปากปัจจัย
๖.
สหชาตัตถิปัจจัย
๗.
สหชาตอวิคตปัจจัย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ