ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
๑๔.
วิปากปัจจัย
๑.
วิปาก
หมายความว่า
ผลของกุสลกรรมและผลของอกุสลกรรม
๒.
ประเภท
นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นสหชาตชาติ คือ ปัจจัยและปัจจยุบบันน
เกิดในจิตดวงเดียวกัน
๔.
กาล
เป็นปัจจุบัน
๕.
สัตติ
มีทั้ง ชนกสัตติ
และอุปถัมภกสัตติ
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ วิบากจิต ๓๖ เจตสิก ๓๘
ในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล
ที่ช่วยอุปการะซึ่งกันและกัน
และที่ช่วยอุปการะแก่จิตตชรูปและ
ปฏิสนธิกัมมชรูป
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ วิบากจิต ๓๖ เจตสิก ๓๘
ขณะที่ไม่ได้ เป็นปัจจัย,
จิตตชรูป
๑๓ (เว้นวิญญัติติรูป
๒)
ที่เกิดขึ้นจากวิบากนามขันธ์เหล่านี้
ตามสมควร และปฏิสนธิกัมมชรูป
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ กุสลจิต ๒๑,
อกุสลจิต
๑๒,
กิริยาจิต
๒๐,
เจตสิก
๕๒,
จิตตชรูปที่เกิดขึ้นจาก
กุสล อกุสล กิริยา
นามขันธ์เหล่านี้ตาม สมควร,
พาหิรรูป,
อาหารชรูป,
อุตุชรูป,
อสัญญสัตตกัมมชรูป,
ปวัตติกัมมชรูป
๗.
ความหมายโดยย่อ
วิปากปัจจัยนี้ มีวาระเดียว
คือ อพยากตะเป็นปัจจัย แก่อพยากตะ
วิบากนามขันธ์
๔ อันได้แก่ วิบากจิต ๓๖
เจตสิก ๓๘ ที่เป็นปฏิสนธิกาล
และปวัตติกาล
แล้วแต่ว่าจะยกนามขันธ์ใดเป็นปัจจัย
วิบากนามขันธ์ ๔ อันได้แก่
วิบากจิต ๓๖ เจตสิก ๓๘
เฉพาะนามขันธ์ที่เหลือ,
วิบากจิตตชรูป
๑๓ (เว้น
วิญญัติติรูป ๒),
ปฏิสนธิกัมมชรูป
เป็นวิปากปัจจยุบบันน
จะยกนามขันธ์เดียวหรือ๒
หรือ๓ เป็นปัจจัยก็ตาม
นามขันธ์ที่เหลือ ๓ หรือ ๒
หรือ ๑ (ตามลำดับ)
ก็เป็นปัจจยุบบันนเสมอไป
ดังที่เคยได้กล่าวแล้วข้างต้น
ส่วนปฏิสนธิกัมมชรูป
และจิตตชรูป ในปัจจัยนี้ เป็นปัจจยุบบันนธรรม
อย่างเดียวเป็นปัจจัยธรรมไม่ได้
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๘ ปัจจัย คือ
๑.
วิปากปัจจัย
๒.
สหชาตปัจจัย
๓.
อัญญมัญญปัจจัย
๔.
นิสสยปัจจัย
๕.
สัมปยุตตปัจจัย
๖.
วิปปยุตตปัจจัย
๗.
สหชาตัตถิปัจจัย
๘.
สหชาตอวิคตปัจจัย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ