ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
ปัจจัย
๒๔ ย่อมรวมลงใน ๔ ปัจจัย
มีคาถาสังคหเป็นคาถาที่
๒๕ แสดงว่า
๒๕.
อาลมฺพนูปนิสฺสย
กมฺมตฺถิ
ปจฺจเยสุ จ
สพฺเพเปนฺติ
สโมธานํ
จตุวีสติ
ปจฺจยาฯ
แปลความว่า
ปัจจัยแม้ทั้งหมด ๒๔ อย่าง
ย่อมถึงความประชุมลงใน อารัมมณปัจจัย
อุปนิสสยปัจจัย กัมมปัจจัย
และ อัตถิปัจจัย
มีความหมายว่า
ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งในปัจจัย
๒๔ นั้น ย่อมรวมลงได้ใน
ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง
หรือหลายปัจจัยในจำนวน ๔
ปัจจัยที่กล่าวมานี้
ถ้าถือตาม
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวมกี่ปัจจัยของแต่ละปัจจัยดังที่ได้
กล่าวมา (คือข้อ
๘ ของทุก ๆ ปัจจัย)นั้น
เป็นหลักเป็นเกณฑ์แล้ว
ก็รวมลงได้ดัง ต่อไปนี้
๑.
เหตุปัจจัย
รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)
๒.
อารัมมณปัจจัย
รวมลงได้ใน อารัมมณปัจจัย,
อุปนิสสยปัจจัย
(อารัมม
ณูปนิสสยปัจจัย)
และอัตถิปัจจัย
(อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย)
๓.
อธิปติปัจจัย
ก.
อารัมมณาธิปติปัจจัย
เหมือนเลข ๒
ข.
สหชาตาธิปติปัจจัย
เหมือนเลข ๑
๔.
อนันตรปัจจัย
รวมลงได้ใน อุปนิสสยปัจจัย(อนันตรูปนิสสยปัจจัย)
และ
กัมมปัจจัย (นานักขณิกกัมมปัจจัย)
๕.
สมนันตรปัจจัย
เหมือนเลข ๔
๖.
สหชาตปัจจัย
เหมือนเลข ๑
๗.
อัญญมัญญปัจจัย
เหมือนเลข ๑
๘.
นิสสยปัจจัย
ก.
สหชาตนิสสยปัจจัย
เหมือนเลข ๖
ดังนั้นจึงเหมือนเลข ๑ ด้วย
ข.
วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
เหมือนเลข ๓ ก.ดังนั้นจึงเหมือนเลข
๒ ด้วย
ค.
วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย
เหมือนเลข ๘ ข.ดังนั้นจึงเหมือนเลข
๓ ก.
และเหมือนเลข
๒ ด้วย
๙.
อุปนิสสยปัจจัย
ก.
อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
เหมือนเลข ๓ก.
ดังนั้นจึงเหมือนเลข
๒ ด้วย
ข.
อนันตรูปนิสสยปัจจัย
เหมือนเลข ๔
ค.
ปกตูปนิสสยปัจจัย
รวมลงได้ใน อุปนิสสยปัจจัย (ปกตูปนิสสยปัจจัย)
และ
กัมมปัจจัย (นานักขณิกกัมมปัจจัย)
๑๐.
ปุเรชาตปัจจัย
ก.
วัตถุปุเรชาตปัจจัย
เหมือนเลข ๘ ข.
ดังนั้นจึงเหมือนเลข
๓ ก.
และ
เหมือนเลข ๒ ด้วย
ข.
อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
เหมือนเลข ๘ ค.
ดังนั้นจึงเหมือนเลข
๘ ข.
เหมือนเลข
๓ ก.
และเหมือนเลข
๒ ด้วย
๑๑.
ปัจฉาชาตปัจจัย
รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย)
๑๒.
อาเสวนปัจจัย
รวมลงได้ใน อุปนิสสยปัจจัย (อนันตรูปนิสสยปัจจัย)
๑๓.
กัมมปัจจัย
ก.
สหชาตกัมมปัจจัย
รวมลงได้ใน กัมมปัจจัย (สหชาตกัมมปัจจัย)
และ
อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)
ข.
นานักขณิกกัมมปัจจัย
รวมลงได้ใน กัมมปัจจัย (นานักขณิกกัมมปัจจัย)
และ
อุปนิสสยปัจจัย (อนันตรูปนิสสยปัจจัย
ปกตูปนิสสยปัจจัย)
๑๔.
วิปากปัจจัย
รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)
๑๕.
อาหารปัจจัย
ก.
รูปอาหารปัจจัย
รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (อาหารัตถิปัจจัย)
ข.
นามอาหารปัจจัย
รวมลงได้ใน กัมมปัจจัย (สหชาตกัมมปัจจัย)
และ
อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)
๑๖.
อินทริยปัจจัย
ก.
สหชาตินทริยปัจจัย
รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)
ข.
ปุเรชาตินทริยปัจจัย
รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย)
ค.
รูปชีวิตินทริยปัจจัย
รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (รูปชีวิตินทริยัตถิปัจจัย)
๑๗.
ฌานปัจจัย
รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)
๑๘.
มัคคปัจจัย
รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)
๑๙.
สัมปยุตตปัจจัย
รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)
๒๐.
วิปปยุตตปัจจัย
ก.
สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)
ข.
วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
เหมือนเลข ๘ ข.ดังนั้นจึงเหมือนเลข
๓ ก.
และเหมือนเลข
๒ ด้วย
ค.
วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
เหมือนเลข ๘ ค.
ดังนั้นจึงเหมือนเลข
๘ ข.
เหมือนเลข
๓ ก.
และเหมือนเลข
๒ ด้วย
ง.
ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
เหมือนเลข ๑๑
๒๑.
อัตถิปัจจัย
ก.
สหชาตัตถิปัจจัย
เหมือนเลข ๖
ดังนั้นจึงเหมือนเลข ๑ ด้วย
ข.
อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
เหมือนเลข ๑๐ ข.ดังนั้นจึงเหมือนเลข
๘ ค.
เหมือนเลข
๘ ข.
เหมือนเลข
๓ ก.
และเหมือนเลข
๒ ด้วย
ค.
วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
เหมือนเลข ๑๐ ก.
ดังนั้นจึงเหมือนเลข
๘ ข.
เหมือนเลข
๓ ก.
และเหมือนเลข
๒ ด้วย
ง.
ปัจฉาชาตปัจจัย
เหมือนเลข ๑๑
จ.
อาหารัตถิปัจจัย
เหมือนเลข ๑๕ ก.
ฉ.
อินทริยัตถิปัจจัย
เหมือนเลข ๑๖ ค.
๒๒.
นัตถิปัจจัย
เหมือนเลข ๔
๒๓.
วิคตปัจจัย
เหมือนเลข ๔
๒๔.
อวิคตปัจจัย
เหมือนเลข ๒๑ ทุกประการ
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ