ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
๒๔.
อวิคตปัจจัย
อวิคต
แปลว่า ไม่ปราศจากไป
จึงมีความหมายว่า
ปัจจัยธรรมซึ่งเป็นสิ่ง
อุปการะช่วยเหลือแก่ปัจจยุบบันนธรรมนั้น
ยังไม่ปราศจากไป ยังไม่ดับไป
คือ ยัง คงมีอยู่ และปัจจยุบบันนธรรม
ซึ่งเป็นสิ่งที่รับความอุปการะช่วยเหลือนั้น
ก็ยังไม่ ปราศจากไป
ยังคงมีอยู่เช่นเดียวกัน
ทั้งปัจจัยธรรมและปัจจยุบบันนธรรม
ยังไม่ปราศจากไปทั้งคู่
และต่างก็
อุปการะเกื้อหนุนกัน
จึงเรียกว่า อวิคตปัจจัย
อวิคตปัจจัยมีคำอธิบายและองค์ธรรมเหมือนกับอัตถิปัจจัยทุกอย่างทุกประการ
ดังนั้นอวิคตปัจจัย
จึงจำแนกออกได้เป็น ๖ ปัจจัย
หรือ ๕ ปัจจัย นัยเดียวกับ
อัตถิปัจจัย
ผิดกันที่ชื่อนิดเดียว
คือเปลี่ยนคำว่า อัตถิ เป็นอวิคต
ดังต่อไปนี้
๑.
สหชาตอวิคตปัจจัย
๒.
อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
๓.
วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย
๔.
ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย
๕.
อาหารอวิคตปัจจัย
๖.
อินทริยอวิคตปัจจัย
สหชาตอวิคตปัจจัย
สหชาตอวิคตปัจจัยนี้
คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง
ๆ ทั้งหมดเหมือนกับ สหชาตัตถิปัจจัย
ดังนั้นก็เหมือนกับสหชาตปัจจัยทุกประการ
๑.
สหชาต
หมายความว่า
เกิดพร้อมกัน
๒.
ประเภท
นามรูปเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นสหชาตชาติ หมายความว่า
ปัจจัยธรรมเกิดพร้อมกับปัจจยุบ
บันนธรรม และช่วยอุดหนุนปัจจยุบบันนธรรมนั้นด้วย
๔.
กาล
เป็นปัจจุบันกาล หมายความว่า
ปัจจัยธรรมนั้นยังอยู่ในระหว่าง
อุปาทะ ฐีติ ภังคะ
คือยังไม่ทันดับไป
๕.
สัตติ
มีทั้งชนกสัตติ
และอุปถัมภกสัตติ
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒
ทั้งในปฏิสนธิกาลและ ในปวัตติกาล,
มหาภูตรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง
๔ ทั้งในปฏิสนธิกาล และในปวัตติ
กาล หทยวัตถุกับปัญจโวการปฏิสนธิ
๑๕ ดวง เจตสิก ๓๕
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒,
มหาภูตรูปกับอุปา
ทายรูป
ที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง ๔,หทยวัตถุกับปัญจโวการปฏิสนธิ
๑๕ เจตสิก ๓๕
องค์ธรรมของปัจจนิก
ไม่มี
เพราะปัจจัยนี้ไม่มีธรรมที่ไม่ใช่ผล
๗.
ความหมายโดยย่อ
สหชาตอวิคตปัจจัยนี้ มี ๙
วาระ
(๑)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล
กุสลจิต ๒๑ คือ กุสลนามขันธ์ ๔
แล้วแต่จะ
ยกเอาขันธ์ใดว่าเป็นปัจจัย
ขันธ์นั้นก็เป็นสหชาตอวิคตปัจจัย
กุสลจิต ๒๑ คือ กุสล
นามขันธ์ที่เหลือ
ก็เป็นสหชาตอวิคตปัจจยุบบันน
(๒)
กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
กุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาตอวิคตปัจจัย
จิตตชรูปที่เกิดด้วยกุสลจิตนั้น
ก็เป็นสหชาตอวิคตปัจจยุบบันน
(๓)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย
กุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาต อวิคตปัจจัย
กุสลจิต ๒๑ ด้วย จิตตชรูปที่เกิดด้วยกุสลจิตนั้นด้วย
เป็นสหชาตอวิคต ปัจจยุบบันน
(๔)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล
อกุสลจิต ๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์
๔ แล้ว
แต่จะยกเอาขันธ์ใดว่าเป็นปัจจัย
ขันธ์นั้นก็เป็นสหชาตอวิคตปัจจัย
อกุสลจิต ๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์ที่เหลือ
ก็เป็นสหชาตอวิคตปัจจยุบบันน
(๕)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
อกุสลจิต ๑๒ เป็นสหชาตอวิคตปัจจัย
จิตตชรูปที่เกิดด้วยอกุสลจิตนั้น
ก็เป็นสหชาตอวิคตปัจจยุบบันน
(๖)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย
อกุสลจิต ๑๒ เป็น สหชาตอวิคตปัจจัย
อกุสลจิต ๑๒ ด้วย จิตตชรูปที่เกิดด้วยอกุสลจิตนั้นด้วยเป็น
สหชาตอวิคตปัจจยุบบันน
(๗)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
วิบากจิต ๓๖ คือ
วิบากนามขันธ์ ๔,
กิริยาจิต
๒๐ คือ กิริยานามขันธ์
๔ เป็นสหชาตอวิคตปัจจัย
วิบากจิต ๓๖ คือ
วิบากนามขันธ์ ๔,
กิริยาจิต
๒๐ คือ กิริยานามขันธ์ ๔,
วิบากจิตตชรูป
กิริยา จิตตชรูป
ตามสมควรเป็นสหชาตอวิคตปัจจยุบบันน
มหาภูตรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง
๔
แล้วแต่จะยกเอารูปใดว่าเป็นสหชาต
อวิคตปัจจัย รูปที่เหลือ
ก็เป็นสหชาตอวิคตปัจจยุบบันน
มหาภูตรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง
๔ เป็นสหชาตอวิคตปัจจัย
อุปาทายรูป
ที่อาศัยเกิดกับมหาภูตรูปนั้น
เป็นสหชาตอวิคตปัจจยุบบันน
(๘)
กุสลด้วยอพยากตะด้วยเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
กุสลจิต ๒๑ คือ กุสล นามขันธ์ ๔
ด้วย
และมหาภูตรูปที่เกิดจากกุสลจิตนั้นด้วย
เป็นสหชาตอวิคตปัจจัย กุสลจิตตชมหาภูตรูปที่เหลือ
และกุสลจิตตชอุปาทายรูป
เป็นสหชาตอวิคตปัจจยุบ บันน
(๙)
อกุสลด้วยอพยากตะด้วยเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
อกุสลจิต ๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์
๔ ด้วย,
และอกุสลจิตตชมหาภูตรูปด้วย
เป็นสหชาตอวิคตปัจจัย อกุสลจิตตชมหาภูตรูปที่เหลือ
และอกุสลจิตตชอุปาทายรูป
เป็นสหชาตอวิคตปัจจ ยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๘ ปัจจัย คือ
๑.
สหชาตปัจจัย
๒.
อัญญมัญญปัจจัย
๓.
สหชาตนิสสยปัจจัย
๔.
วิปากปัจจัย
๕.
สัมปยุตตปัจจัย
๖.
สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗.
สหชาตัตถิปัจจัย
๘.
สหชาตอวิคตปัจจัย
อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง
ๆ ทั้งหมด เหมือนกับ อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
ดังนั้นก็เหมือนกับอารัมมณปุเรชาตปัจจัยทุก
ประการ
๑.
อารัมมณปุเรชาต
หมายความว่า
อารมณ์เฉพาะที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น
และเกิดก่อนปัจจยุบบันนธรรมด้วย
๒.
ประเภท
รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นอารัมมณชาติ หมายความว่า
ปัจจัยนี้ได้แก่ อารมณ์
และในที่นี้
หมายเฉพาะอารมณ์ที่เป็นนิปผันนรูปเท่านั้น
๔.
กาล
เป็นปัจจุบันกาล หมายความว่า
แม้อารมณ์นั้นจะเกิดก่อน
แต่ก็ยัง คงมีอยู่
ยังไม่ทันดับไป คือ ยังอยู่ใน
ฐีติขณะ จึงจะเป็นปัจจัยได้
๕.
สัตติ
มีทั้ง ชนกสัตติ
และอุปถัมภกสัตติ
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ อารมณ์ ๖ ที่เป็น นิปผันนรูป
๑๘ และยัง อยู่ในระหว่างฐีติขณะ
องค์ธรรมมของปัจจยุบบันนได้แก่
กามจิต ๕๔ อภิญญาจิต ๒ เจตสิก
๕๐ (เว้นอัปปมัญญา)
ที่เกิดจาก
ปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ จิต ๗๖(เว้นทวิปัญจวิญญาณ
๑๐ มโนธาตุ ๓)
ที่ไม่ได้เกิดจากอารมณ์
๖ ที่เป็นปัจจุบันนิปผันนรูป
๑๘ และรูปทั้งหมด
๗.
ความหมายโดยย่อ
อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัยนี้มี
๓ วาระ
(๑)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
อารมณ์
๖
คือปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘
เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
กามวิบาก ๒๓ กามกิริยาจิต ๑๑
กิริยาอภิญญา จิต ๑ เจตสิก ๓๕ (เว้นวิรตี)
เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน
เช่น
รูปารมณ์
สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์
โผฏฐัพพารมณ์
ที่เป็นปัจจุบัน เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มโนธาตุ ๓
เป็นอารัมมณ ปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน
ปัจจุบันนิปผันนรูป
๑๘ เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
มโนทวาราวัชชน จิต ๑,
กามกิริยาชวนะ
๙,
ตทาลัมพนะ
๑๑ เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจ
ยุบบันน
พระอรหันต์พิจารณา
จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย รูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทยวัตถุ
โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา รูปเหล่านี้ที่เป็น
ปัจจุบัน เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
มหากิริยาจิต ๘
ที่พิจารณารูปเหล่านี้
เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน
พระอรหันต์เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ
ได้ยินเสียงด้วยทิพพโสต
รูปและเสียงนั้น เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
กิริยาอภิญญาจิตของพระอรหันต์
ที่เห็นรูปนั้น
ที่ได้ยินเสียงนั้น เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน
(๒)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล
อารมณ์ ๖ คือ ปัจจุบันนิปผันนรูป
๑๘ เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
มหากุสล ๘,
กุสลอภิญญา
๑ เจตสิก ๓๖ (เว้น
อัปปมัญญา)
เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน
เช่น
พระเสกขบุคคลและปุถุชนทั้งหลายพิจารณา
จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย รูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทยวัตถุ
โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา
รูปเหล่านี้ที่เป็นปัจจุบันเป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
มหากุสลจิต ๘ ที่พิจารณา
รูปเหล่านี้ เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน
พระเสกขบุคคลและปุถุชนทั้งหลาย
เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ
ได้ยินเสียงด้วย ทิพพโสต
รูปและเสียงนั้นเป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
กุสลอภิญญาจิตที่เห็น
รูปนั้น ที่ได้ยินเสียงนั้น
เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน
(๓)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล
อารมณ์ ๖ คือ ปัจจุบันนิปผันนรูป
๑๘ เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
อกุสลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗ เป็นอารัมมณปุเรชาต
อวิคตปัจจยุบบันน เช่น
ยินดีเพลิดเพลินต่อ
จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย รูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทยวัตถุ
เมื่อนึกถึงรูปเหล่านี้แล้ว
มีราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา
อุทธัจจะ และโทมนัสเกิดขึ้น
รูปเหล่านี้ที่เป็นปัจจยุบบันน
เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
ราคะ ทิฏฐิ เป็นต้น
ที่เกิดขึ้นอันได้แก่ อกุสลจิต
๑๒ นั้น เป็นอารัมมณปุเรชาต
อวิคตปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๘ ปัจจัย คือ
๑.
อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๒.
อารัมมณปัจจัย
๓.
อารัมมณาธิปติปัจจัย
๔.
วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๕.
อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๖.
วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗.
อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘.
อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัยนี้
คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง
ๆ ทั้งหมด เหมือนกับ วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
ดังนั้นก็เหมือนกับวัตถุปุเรชาตปัจจัยทุกประการ
๑.
วัตถุปุเรชาต
หมายความว่า วัตถุ ๖
ที่เกิดก่อน
๒.
ประเภท
รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นวัตถุปุเรชาตชาติ
หมายความว่า
ปัจจัยธรรมซึ่งช่วยอุปการะแก่
ปัจจยุบบันนธรรมนั้น
โดยการที่เป็นที่ตั้งด้วย
และโดยการที่เกิดก่อนด้วย
๔.
กาล
เป็นกาลปัจจุบัน หมายความว่า
แม้ปัจจัยธรรมจะเกิดก่อน
แต่ก็ยัง ไม่ทันดับไป คือ
ยังอยู่ในระหว่างฐีติขณะ
ยังไม่ทันถึงภังคขณะ
๕.
สัตติ
มีทั้งชนกสัตติ และ
อุปถัมภกสัตติ
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ วัตถุ ๖ คือ จักขุวัตถุ
โสตวัตถุ ฆานวัตถุ ชิวหาวัตถุ
กายวัตถุ และหทยวัตถุ
ที่เกิดก่อนปัจจยุบบันน
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ จิต ๘๕ (เว้นอรูปวิบาก
๔)
ทั้งที่แน่นอน
และไม่แน่นอนในปัญจโวการภูมิ
ที่เป็นปวัตติกาล
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ โลภมูลจิต ๘,
โมหมูลจิต
๒,
มโนทวาราวัชชนจิต
๑,
มหากุสลจิต
๘,
มหากิริยาจิต
๘,
อรูปจิต
๑๒ และ โลกุตตรจิต ๗ (เว้นโสดาปัตติมัคคจิต
๑)
รวมจิต
๔๖ ดวง
ทั้งที่แน่นอนและไม่แน่นอน,
ปัญจโวการปฏิสนธิจิต
๑๕ และ รูปทั้งหมด
ที่ว่าทั้งที่แน่นอนและไม่แน่นอนนั้น
เรื่องนี้ได้แสดงไว้ในปริจเฉทที่
๓ ตอน วัตถุสังคหะแล้ว
แต่เพื่อทบทวนความจำ
จึงขอกล่าวซ้ำในที่นี้อีกว่า
(๑)
ปัจจยุบบันนธรรมที่แน่นอน
ได้แก่ โทสมูลจิต ๒,
อเหตุกจิต
๑๗ (เว้น
มโนทวาราวัชชนจิต ๑),
มหาวิบาก
๘,
รูปาวจรจิต
๑๕ และโสดาปัตติมัคคจิต ๑ รวม
๔๓ ดวงนี้
ต้องอาศัยวัตถุเกิดอย่างแน่นอน
(๒)
ปัจจยุบบันนธรรมที่ไม่แน่นอน
ได้แก่ โลภมูลจิต ๘,
โมหมูลจิต
๒,
มโนทวาราวัชชนจิต
๑,
มหากุสลจิต
๘,
มหากิริยาจิต
๘,
อรูปกุสลจิต
๔,
อรูป
กิริยาจิต ๔ และโลกุตตรจิต ๗ (เว้นโสดาปัตติมัคคจิต
๑)
รวมจิต
๔๒ ดวงนี้ ถ้า เกิดในปัญจโวการภูมิ
ก็ต้องอาศัยวัตถุเกิด
ถ้าเกิดในจตุโวการภูมิ
ไม่ต้องอาศัยวัตถุ ก็เกิดได้
(๓)
ปัจจนิกธรรมที่แน่นอน
ได้แก่ อรูปวิบากจิต ๔ และ
รูปทั้งหมดซึ่งเกิด
ขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยวัตถุ
จึงเป็นปัจจนิกธรรมที่แน่นอน
(๔)
ปัจจนิกธรรมที่ไม่แน่นอน
ก็คือ จิต ๔๒ ดวง ตามข้อ (๒)
นั่นเอง
ซึ่ง จิต ๔๒ ดวงนี้เกิดในปัญจโวการภูมิ
ก็เป็นปัจจยุบบันนธรรม
ถ้าเกิดในจตุโวการ ภูมิ
ก็เป็นปัจจนิกธรรมไป
จึงว่าไม่แน่นอน
๗.
ความหมายโดยย่อ
วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัยนี้
มี ๓ วาระ คือ
(๑)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
วัตถุ ๖ ที่เกิดก่อน
เป็นวัตถุปุเรชาต อวิคตปัจจัย
วิบากจิต ๓๒ (เว้นอรูปวิบาก
๔),
กิริยาจิต
๒๐ ที่เกิดทีหลังวัตถุ ๖ นั้น
เป็นวัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน
เช่น
วัตถุ
๕ มีจักขุวัตถุเป็นต้น
เป็นวัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย
ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐
มีจักขุวิญญาณเป็นต้น
เป็นวัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน
หทยวัตถุ
ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่เกิดก่อน
ๆ มีปฏิสนธิจิตเป็นต้น
เป็นวัตถุ ปุเรชาตอวิคตปัจจัย
วิบากจิต ๒๒ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ
๑๐ อรูปวิบาก ๔)
เป็น
วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน
หทยวัตถุ
ที่เกิดอยู่ก่อนเวลาที่จะออกจากนิโรธสมาบัตินั้น
เป็นวัตถุปุเรชาต อวิคตปัจจัย
อนาคามิผลจิต ๑ อรหัตตผลจิต ๑
ที่เกิดขึ้นในขณะออกจากนิโรธ
สมาบัตินั้น เป็นวัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน
วัตถุ
๖
ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป
๑๗ ขณะ เป็นวัตถุ ปุเรชาตอวิคตปัจจัย
จิตที่เกิดพร้อมกับวัตถุ ๖
ที่เหลือ ๑๖ ขณะ อันได้แก่
โลกีย วิบากจิต ๒๘(เว้นอรูปวิบาก
๔)
กิริยาจิต
๒๐ เป็นวัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน
(๒)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล
หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงก่อน
ๆ มี อาวัชชนจิต เป็นต้น
เป็นวัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย
กุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่
กุสล จิต ๒๑ ที่เกิดทีหลัง
เป็นวัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน
หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป
๑๗ ขณะ เป็น วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย
มรณาสันนกุสลชวนะ อันได้แก่
โลกียกุสลจิต ๑๗ เป็น วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน
(๓)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล
หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงก่อน
ๆ มี อาวัชชนจิต เป็นต้น
เป็นวัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย
อกุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่
อกุสลจิต ๑๒ เป็นวัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน
หทยวัตถุ
ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป
๑๗ ขณะ เป็น วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย
มรณาสันนอกุสลชวนะ อันได้แก่
อกุสลจิต ๑๒ เป็นวัตถุ ปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๘ ปัจจัย คือ
๑.
วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๒.
อารัมมณปัจจัย
๓.
อารัมมณาธิปติปัจจัย
๔.
อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๕.
วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๖.
วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗.
วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘.
วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย
ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย
ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัยนี้
คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง
ๆ ทั้งหมด เหมือน กับปัจฉาชาตัตถิปัจจัย
ดังนั้นก็เหมือนกับปัจฉาชาตปัจจัยทุกประการ
๑.
ปัจฉาชาตะ
หมายความถึง
นามที่เกิดทีหลังช่วยอุปการะแก่รูปที่เกิดก่อน
๒.
ประเภท
นามเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นปัจฉาชาตชาติ
หมายความว่า
ปัจจัยธรรมนั้นเกิดทีหลังแล้วช่วย
อุปการะแก่ปัจจยุบบันนธรรมที่เกิดก่อน
๔.
กาล
เป็นปัจจุบันกาล หมายความว่า
ปัจจัยธรรมนั้นยังไม่ดับไป
๕.
สัตติ
มีอำนาจเป็น อุปถัมภกสัตติ
แต่อย่างเดียว
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ จิต ๘๕ (เว้นอรูปวิบาก
๔ และปฏิสนธิ จิต)
เจตสิก
๕๒ ที่เกิดทีหลัง
มีปฐมภวังคจิต เป็นต้น
ที่เกิดอยู่ในปัญจโวการภูมิ
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่รูปที่เป็นฐีติปัตตะที่เกิดพร้อมกับขณะทั้ง
๓ ของจิตที่เกิดก่อน ๆ
มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ จิต ๘๙,
เจตสิก
๕๒,
รูปขณะที่เกิดขึ้น(อุปาท
ขณะของรูป),
พาหิรรูป,
อสัญญสัตตกัมมชรูป
๗.
ความหมายโดยย่อ
ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัยนี้ มี ๓
วาระ
(๑)
กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
กุสลนามขันธ์ ๔ ได้แก่
กุสลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘
ที่เกิดทีหลังในปัญจโวการภูมิ
เป็นปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย รูป
๒๘ คือ ติชกาย ได้แก่ กัมมชรูป
จิตตชรูป อุตุชรูป ในรูปภูมิ,
จตุชกาย
ได้แก่ กัมมชรูป จิตตชรูป
อุตุชรูป อาหารชรูป ในกามภูมิ
ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป
ซึ่งเกิดมาพร้อม
กับจิตดวงก่อน ๆ
เป็นปัจฉาชาตอวิคตปัจจยุบบันน
(๒)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
อกุสลนามขันธ์ ๔ ได้แก่ อกุสลจิต
๑๒ เจตสิก ๒๗ ที่เกิดทีหลัง
เป็นปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย รูป
๒๘ คือ ติชกาย จตุชกาย
ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป
ซึ่งเกิดมาพร้อมกับจิตดวงก่อน
ๆ เป็นปัจฉาชาตอวิคต ปัจจยุบบันน
(๓)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
วิบากนามขันธ์ ๔ ได้แก่
วิบากจิต ๓๒ (เว้นอรูปวิบาก
๔ และปฏิสนธิจิต),
กิริยานามขันธ์
๔ ได้แก่ กิริยาจิต ๒๐ เจตสิก
๓๘ ที่เกิดทีหลัง
เป็นปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย เอกชกาย
ได้แก่ ปฏิสนธิ กัมมชรูป,
ทวิชกาย
ได้แก่ กัมมชรูป อุตุชรูป,
ติชกาย
ในปัญจโวการ รูปภูมิ,
จตุชกาย
ในกามภูมิ ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป
ซึ่งเกิดมาพร้อมกับจิตดวงก่อน
ๆ มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น
เป็นปัจฉาชาตอวิคตปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๔ ปัจจัย คือ
๑.
ปัจฉาชาตปัจจัย
๒.
ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
๓.
ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย
๔.
ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย
อาหารอวิคตปัจจัย
อาหารอวิคตปัจจัย
คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง
ๆ ทั้งหมด เหมือนกับ อาหารัตถิปัจจัย
ดังนั้นก็เหมือนกับ
รูปอาหารปัจจัย ทุกประการ
๑.
รูปอาหาร
หมายความว่า
อาหารที่เป็นรูปธรรม คือ กพฬีการาหาร
๒.
ประเภท
รูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นอาหารชาติ หมายความว่า
ปัจจัยธรรมนั้นได้แก่
อาหารนั่นเอง
๔.
กาล
เป็นปัจจุบัน
๕.
สัตติ
มีทั้ง ชนกสัตติ
และอุปถัมภกสัตติ
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ พหิทธโอชาที่อยู่ในอาหารต่าง
ๆ
อีกนัยหนึ่งแสดงว่า
ได้แก่ กัมมชโอชา จิตตชโอชา
อุตุชโอชา อาหารชโอชา
ที่อยู่ภายใน (อัชฌัตตสันตานะ)
และอุตุชโอชา
ที่อยู่ภายนอก (พหิทธสันตานะ)
คือ
โอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่อาหารสมุฏฐานิกรูป
คือรูปที่เกิดจากอาหาร
อีกนัยหนึ่งแสดงว่า
ได้แก่ จตุสมุฏฐานิกรูปที่ตั้งอยู่ในกลาปอันเดียวกันกับ
ปัจจัยธรรม
และที่ตั้งอยู่ในกลาปอื่น ๆ (เว้นโอชาที่อยู่ในกลาปเดียวกัน)
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ จิต ๘๙,
เจตสิก
๕๒,
จิตตชรูป,
ปฏิสนธิ
กัมมชรูป,
พาหิรรูป,
อุตุชรูป,
อสัญญสัตตกัมมชรูป,
ปวัตติกัมมชรูป
อีกนัยหนึ่งแสดงว่า
ได้แก่ จิต ๘๙,
เจตสิก
๕๒ และพาหิรรูป
๗.
ความหมายโดยย่อ
อาหารอวิคตปัจจัย
มีวาระเดียว คือ อพยากตะเป็น
ปัจจัยแก่อพยากตะ กพฬีการาหาร
บ้างก็เรียก กวฬิงการาหาร
คือโอชา ที่อยู่ใน อาหารต่าง
ๆ หรืออีกนัยหนึ่งได้แก่
โอชาที่อยู่ทั้งภายในและภายนอก
เป็นรูปอาหาร ปัจจัย จตุสมุฏฐานิกรูป
คือ
รูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔
ที่ตั้งอยู่ในกลาปอันเดียว
กันกับปัจจัยธรรม
และตั้งอยู่ในกลาปอื่น ๆ
เป็นอาหารอวิคตปัจจยุบบันน
ขยายความว่า
โอชาที่เป็นปัจจัยธรรมนั้น
เมื่อช่วยอุปการะแก่อาหารชรูป
คือ อาหารชโอชานั้นเป็นไปโดยอำนาจชนกสัตติ
แต่ถ้าเป็นการช่วยอุปการะแก่
ติชรูป ที่เหลือนอกนั้น คือ
กัมมชโอชา จิตตชโอชา และ อุตุชโอชา
แล้ว เป็นไปโดย
อำนาจอุปถัมภกสัตติ
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๓ ปัจจัย คือ
๑.
รูปอาหารปัจจัย
๒.
อาหารัตถิปัจจัย
๓.
อาหารอวิคตปัจจัย
อินทริยอวิคตปัจจัย
อินทริยอวิคตปัจจัยนี้
คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง
ๆ ทั้งหมด เหมือน กับอินทริยัตถิปัจจัย
ดังนั้นก็เหมือนกับ
รูปชีวิตินทริยปัจจัย
ทุกประการ
๑.
รูปชีวิตินทรีย
หมายความถึง ชีวิตรูป
๒.
ประเภท
รูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นรูปชีวิตินทริยชาติ
หมายความว่า
ปัจจัยธรรมนั้นได้แก่
ชีวิตรูป
ซึ่งทำหน้าที่เป็นใหญ่
เป็นผู้ปกครองในการรักษารูปธรรมที่เกิดขึ้นด้วยกัน
๔.
กาล
เป็นปัจจุบัน
๕.
สัตติ
มีทั้งชนกสัตติ
และอุปถัมภกสัตติ
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ ชีวิตรูป
ทั้งในปฏิสนธิกาลและในปวัตติกาล
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ กัมมชรูปที่เหลือ ๙
รูปหรือ ๘ รูป ซึ่งอยู่
ในกลาปเดียวกับชีวิตรูปนั้น
ๆ
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ จิต ๘๙,
เจตสิก
๕๒,
จิตตชรูป,
พาหิรรูป,
อาหารชรูป,
อุตุชรูป
และชีวิตรูป (ที่เป็นปัจจัย)
๗.
ความหมายโดยย่อ
อินทริยอวิคตปัจจัยนี้มีวาระเดียว
คือ อพยากตะเป็น ปัจจัยแก่อพยากตะได้แก่
ชีวิตรูปทั้งหลายเป็นอินทริยอวิคตปัจจัย
กัมมชรูปที่เหลือ ๙ รูปหรือ ๘
รูปซึ่งอยู่ในกลาปเดียวกับชีวิตรูปนั้น
ๆ เป็นอินทริยอวิคตปัจจยุบ
บันน เช่น
จักขุทสกกลาป
มีอวินิพโภครูป ๘
จักขุปสาทรูป ๑ และชีวิตรูป ๑
รวม ๑๐ รูป ชีวิตรูป ๑
เป็นปัจจัยเสียแล้ว อวินิพโภครูป
๘ จักขุปสาทรูป ๑ รวม ๙ รูป
ที่เหลือนี้ก็เป็นปัจจยุบบันน
โดยทำนองเดียวกัน
ชีวิตนวกกกลาป มีอวินิพโภครูป
๘ และชีวิตรูป ๑ รวม ๙ รูป
ชีวิตรูป ๑
เป็นปัจจัยเสียแล้ว อวินิพโภครูป
๘ ที่เหลือ ก็เป็นปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๓ ปัจจัย คือ
๑.
รูปชีวิตินทริยปัจจัย
๒.
รูปชีวิตินทริยัตถิปัจจัย
๓.
รูปชีวิตินทริยอวิคตปัจจัย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ