ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74
75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
องค์ที่
๓ วิญญาณ
วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป
คือนามรูปจะปรากฏขึ้นได้
ก็เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย
ลักขณาทิจตุกะของวิญญาณ คือ
วิชานน
ลกฺขณํ
มีการรู้อารมณ์
เป็นลักษณะ
ปุพฺพงฺคม
รสํ
เป็นประธานแก่เจตสิกและกัมมชรูป
เป็นกิจ
ปฏิสนฺธิ
ปจฺจุปฏฺฐานํ
มีการสืบต่อระหว่างภพเก่ากับภพใหม่
เป็นผล
สงฺขาร
ปทฏฺฐานํ
มีสังขาร
(๓)
เป็นเหตุใกล้
(วา)วตฺถารมฺมณ
ปทฏฺฐานํ
(หรือ)มีวัตถุ(๖)
กับอารมณ์(๖)
เป็นเหตุใกล้
ในบทก่อนกล่าวว่า
วิญญาณอันเป็นปัจจยุบบันนธรรมของสังขารนั้น
จำแนก ได้เป็น ๒ ประเภท คือ
ก.
ปฏิสนธิวิญญาณ
ได้แก่
ปฏิสนธิจิต ๑๙
ข.
ปวัตติวิญญาณ
ได้แก่
โลกียวิปากวิญญาณ ๓๒
ในบทนี้ก็กล่าวได้ว่า
วิญญาณอันเป็นปัจจัยธรรม
คือเป็นสิ่งอุปการะช่วยเหลือ
ให้เกิดนามรูปนั้น
ก็จำแนกได้เป็น ๒
ประเภทเหมือนกัน คือ
ก.
วิปากวิญญาณ
ได้แก่ โลกียวิปากวิญญาณ ๓๒
ดวง วิปากวิญญาณนี้
เป็นเหตุใกล้ (อาสนฺนการณํ)
ข.
กัมมวิญญาณ
ได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ และโลกียกุสลจิต
๑๗ ที่สหรคตกับ อกุสลเจตนากรรมและโลกียกุสลเจตนากรรมในอดีตภพ
กล่าวสั้น ๆ ก็ว่า กัมม
วิญญาณก็คือกรรม ๒๙ นั่นเอง
กัมมวิญญาณนี้เป็นเหตุไกล (ทูรการณํ)
ส่วนนามรูป
อันเป็นปัจจยุบบันนธรรมของวิญญาณ
นั้นมีความหมายดังนี้
นาม
ในบทนี้หมายถึง เจตสิก
เท่านั้น
ก.
ตามนัยแห่งพระอภิธรรม
ซึ่งได้กล่าวแล้วในบทก่อนว่า
วิญญาณได้แก่ จิต ทั้งหมด
ดังนั้นในบทนี้ นามคือเจตสิก
ก็ได้แก่ เจตสิกทั้ง
๕๒ ดวง
ซึ่งประกอบ
กับจิตทั้งหมดนั้นตามควรแก่ที่จะประกอบได้
ข.
ตามนัยแห่งพระสูตร
ซึ่งในบทก่อนว่า วิญญาณ
ได้แก่โลกียวิปากวิญญาณ ๓๒
ดังนั้นในบทนี้ นามคือเจตสิก
ก็ได้แก่ เจตสิกเพียง
๓๕ ดวง
ที่ประกอบกับ โลกียวิปากวิญญาณ
๓๒ เท่านั้น
นาม
คือ เจตสิก
ที่ประกอบกับปฏิสนธิวิญญาณ
๑๙ ก็เรียกว่า ปฏิสนธินาม
(ปฏิสนธิเจตสิก)
เจตสิกที่เกิดในปฏิสนธิกาลนี้
อาศัยกัมมวิญญาณในอดีตภพ และ
ปฏิสนธิวิญญาณในปัจจุบันภพ
เป็นปัจจัย
นาม
คือ เจตสิก ที่ประกอบกับปวัตติวิญญาณ
๓๒ ก็เรียกว่า ปวัตตินาม
(ปวัตติเจตสิก)
เจตสิกที่เกิดในปวัตติกาลนี้
อาศัยปวัตติวิปากวิญญาณแต่อย่างเดียว
เป็นปัจจัย
ส่วน
รูป ในบทนี้
หมายถึงรูปภายในสัตว์ทั้ง ๒๘
รูป กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า
หมายเฉพาะกัมมชรูปโดยตรง และจิตตชรูปโดยอ้อมเท่านั้น
กัมมชรูปที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณ
๑๕ (เว้นอรูปปฏิสนธิวิญญาณ
๔)
นั้นเรียกว่า
ปฏิสนธิรูป
กัมมชรูปที่เกิดในปฏิสนธิกาลนี้
อาศัยกัมมวิญญาณใน อดีตภพ
และปฏิสนธิวิญญาณในปัจจุบันภพ
เป็นปัจจัย
ปวัตติกัมมชรูป
ที่เกิดจากกัมมวิญญาณ ๒๕ (เว้นอรูปกัมมวิญญาณ
๔)
นั้น
อย่างหนึ่ง กับจิตตชรูปที่เกิดจากปวัตติวิญญาณ
๑๘ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ
๑๐ และอรูปวิปากวิญญาณ ๔)
อีกอย่างหนึ่ง
ทั้ง ๒ อย่างนี้เรียกว่า ปวัตติรูป
กัมมช รูป ที่เกิดในปวัตติกาลนี้อาศัยกัมมวิญญาณในอดีตภพแต่อย่างเดียวเป็นปัจจัย
ส่วน จิตตชรูปที่เกิดขึ้นในปฏิสนธิกาลนั้นไม่มี
มีแต่เกิดขึ้นในปวัตติกาล
โดยอาศัยปวัตติ
วิปากวิญญาณเป็นปัจจัย
รวมความว่า
รูปในปฏิสนธิกาล มีแต่กัมมชรูปอย่างเดียว
รูปในปวัตติกาล มีได้ทั้งกัมมชรูป
และจิตตชรูป
วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูปนี้
จำแนกความเป็นปัจจัยได้เป็น
๓ ประการ คือ
วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม
วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูป
และวิญญาณเป็นปัจจัยแก่
นามรูป
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ