ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

ปัจจัย ๒๔ เกี่ยวแก่วิญญาณ

ในบทวิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูปนี้ เมื่อกล่าวโดยปัจจัย ๒๔ แล้ว ก็เป็นไป ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยดังต่อไปนี้ คือ

. วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม คือ เจตสิกแต่อย่างเดียว (ในจตุโวการภูมิ) นั้น ก็ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๙ ปัจจัย คือ

.สหชาตปัจจัย ๒.อัญญมัญญปัจจัย ๓.นิสสยปัจจัย ๔.วิปากปัจจัย   .อาหารปัจจัย  .อินทรียปัจจัย  .สัมปยุตตปัจจัย  .อัตถิปัจจัย ๙.อวิคตปัจจัย

. วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูป คือ กัมมชรูปแต่อย่างเดียว(ในเอกโวการภูมิ) นั้น ก็ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยเพียงปัจจัยเดียว คือ

ปกตูปนิสสยปัจจัย ซึ่งในพระบาลีพระไตรปิฎกเล่ม ๔๐ แสดงไว้ในบทกุสล เป็นปัจจัยแก่อัพพยากตะว่า กุสลํ กมฺมํ วิปากสฺส อุปนิสฺสย ปจฺจเย น ปจฺจโย

. วิญญาณเป็นปัจจัยทั้งนามทั้งรูป (ในปัญจโวการภูมิ) ก็ด้วยอำนาจแห่ง ปัจจัย ๙ ปัจจัย ซึ่งเหมือนกับข้อ ก. เว้นแต่หมายเลข ๗ สัมปยุตตปัจจัย เปลี่ยน เป็นวิปปยุตตปัจจัย ปัจจัยเดียวเท่านั้น ส่วนอีก ๘ ปัจจัยนั้นเหมือนกันทุกปัจจัย

ความหมายแห่งปัจจัยเหล่านี้ ปัจจัยใดที่ซ้ำในบทก่อนที่ได้แสดงความหมายมา แล้วก็จะไม่กล่าวซ้ำในที่นี้อีก จะกล่าวถึงความหมายเฉพาะปัจจัยที่ไม่ซ้ำกับบทก่อน คือ

. วิปากปัจจัย กล่าวถึงวิบากนามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กัน และกัน ทั้งช่วยอุปการะแก่รูปที่เกิดพร้อมกับตนนั้นด้วย ในที่นี้ก็ได้แก่ วิญญาณ (คือจิต) เป็นวิปากปัจจัย นาม(คือเจตสิก) และรูปที่เกิดพร้อมกับวิญญาณนั้น เป็นวิปากปัจจยุบบันน

. อาหารปัจจัย กล่าวถึง อาหารทั้ง ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามรูป ที่เกิดพร้อมกันนั้น ในที่นี้ได้แก่วิญญาณ(คือจิต) เป็นอาหารปัจจัย นาม(คือเจตสิก) และรูปที่เกิดพร้อมกับจิตนั้นเป็นอาหารปัจจยุบบันน

. อินทรียปัจจัย กล่าวถึง ปสาทรูป ๕ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปัญจ วิญญาณอย่างหนึ่ง รูปชีวิตินทรียเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่อุปาทินนกรูปอย่างหนึ่ง และนามอินทรียเป็นปัจจัย ช่วยอุปการะแก่นามรูปที่เกิดพร้อมกับตนนั้นอีกอย่าง หนึ่ง ดังนั้นในที่นี้ วิญญาณ(คือจิต) จึงเป็นอินทรียปัจจัย นามรูปเป็นอินทรีย ปัจจยุบบันน

. วิปปยุตตปัจจัย หมายถึงธรรมที่ไม่ได้ประกอบกันด้วยลักษณะ ๔ อย่าง คือ เอกุปปาทะ เอกนิโรธะ เอกาลัมพนะ และเอกวัตถุกะ ดังนั้นในที่นี้ วิญญาณ (คือจิต) เป็นวิปปยุตตปัจจัย รูปที่เกิดพร้อมกับจิตนั้น (หรือแม้แต่เกิดก่อน) ก็เป็น วิปปยุตตปัจจยุบบันน


สอบถาม ปัญหาธรรมะ ได้ที่ลานธรรมมูลนิธิ ค่ะ...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...