ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
๑๘.
มัคคปัจจัย
มัคค
คือ
ธรรมที่เป็นประดุจหนทางที่นำไปสู่
ทุคคติ สุคติ และนิพพาน
จัดเป็น สัมปาปกเหตุ
คือเหตุที่ทำให้ถึง
เปรียบเหมือนยวดยานพาหนะที่สามารถ
พาผู้โดยสารให้ถึงจุดหมายนั้น
ๆ ได้
ตามควรแก่ฐานะของยวดยานนั้น
ๆ
ธรรมที่อุปมาดังหนทางที่นำไปสู่หรือเป็นเหตุให้ถึง
ทุคคติ สุคติ และนิพพาน
ที่เรียกว่ามัคคนี้ มี ๑๒
ประการ
แต่ว่ามีองค์ธรรมเพียง ๙
จึงเรียกว่า องค์มัคค
๙
ได้แก่ เจตสิก ๙ ดวง คือ ปัญญา
วิตก สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ วิริยะ สติ เอกัคคตา
และทิฏฐิ มัคค ๑๒ มีองค์มัคค ๙
นี้ได้กล่าวโดยละเอียดพอ
ประมาณ ในปริจเฉทที่ ๗ ตอนมิสสกสังคหะ
เพื่อเป็นการทบทวน
ขอให้กลับไปดู
ที่นั่นอีกด้วย
องค์มัคค
๙ นี่แหละเป็นปัจจัย จึงเรียกมัคคปัจจัย
มีอำนาจช่วยอุปการะ
สหชาตธรรมที่เกิดพร้อมกับตนนั้น
๒ ประการ คือ
ก.
ช่วยอุปการะนำสหชาตธรรมที่เกิดพร้อมกับตน
ให้ไปสู่อารมณ์ที่เกี่ยว
เนื่องกับตน
ให้ทำกิจไปตามหน้าที่ของตน ๆ
อย่างนี้เรียกว่า กิจธรรมดา
ข.
ช่วยอุปการะนำสหชาตธรรมที่เกิดพร้อมกับตนให้ไปสู่
ทุคคติ สุคติ และ นิพพานได้
อย่างนี้เรียกว่าเป็น กิจพิเศษ
เพราะเป็นกิจที่เกี่ยวข้องกับการปฏิสนธิ
เท่านั้น
อนึ่ง
องค์มัคค ๙ นี้
ต่างก็ทำหน้าที่เป็นปัจจัยและปัจจยุบบันน
ซึ่งกันและกัน เอง
ก็ได้เหมือนกัน
สรุปความว่า
มัคคปัจจัยนี้ คือองค์มัคค ๙
เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่จิตและ
เจตสิกที่เกิดพร้อมกับตน
พร้อมด้วยจิตตชรูปและปฏิสนธิกัมมชรูป
ให้เกิดขึ้นและ
ให้ตั้งอยู่ได้ ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัยที่ทำหน้าที่ในกิจพิเศษอย่างหนึ่ง
และทำหน้าที่
ในกิจธรรมดาอย่างหนึ่ง
๑.
มัคค
หมายถึง องค์มัคค ๙
๒.
ประเภท
นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นสหชาตชาติ
๔.
กาล
เป็นปัจจุบันกาล
๕.
สัตติ
มีทั้ง ชนกสัตติ
และอุปถัมภกสัตติ
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ องค์มัคค ๙ ที่ในสเหตุกจิต
๗๑
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ สเหตุกจิต ๗๑ เจตสิก ๕๒
สเหตุกจิตตช รูป และสเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูป
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ อเหตุกจิต ๑๘,
อัญญสมานาเจตสิก
๑๒ (เว้นฉันทะ)
อเหตุกจิตตชรูป
อเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูป พาหิรรูป
อาหารชรูป อุตุชรูป อสัญญสัตตกัมมชรูป
ปวัตติกัมมชรูป
๗.
ความหมายโดยย่อ
มัคคปัจจัยนี้ มี ๗ วาระ
(๑)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล
องค์มัคคที่เป็นกุสล ๘ (เว้นทิฏฐิ)
เป็นมัคค
ปัจจัย กุสลสัมปยุตตขันธ์ ๔
อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ เป็นมัคคปัจจยุบบันน
(๒)
กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
องค์มัคคที่เป็นกุสล ๘ (เว้นทิฏฐิ)
เป็น
มัคคปัจจัย กุสลจิตตชรูป เป็นมัคคปัจจยุบบันน
(๓)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย
องค์มัคคที่เป็นกุสล ๘ (เว้นทิฏฐิ)
เป็นมัคคปัจจัย
กุสลจิต ๒๑ ด้วย กุสลจิตตชรูปด้วย
เป็นมัคคปัจจยุบ บันน
(๔)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล
องค์มัคคที่เป็นอกุสล ๔ คือ
วิตก วิริยะ เอกัคคตา และทิฏฐิ
เป็นมัคคปัจจัย อกุสลสัมปยุตตขันธ์
๔ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็นมัคคปัจจยุบบันน
(๕)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
องค์มัคคที่เป็นอกุสล ๔ เป็นมัคคปัจจัย
อกุสลจิตตชรูปเป็นมัคคปัจจยุบบันน
(๖)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย
องค์มัคคที่เป็นอกุสล ๔ เป็นมัคคปัจจัย
อกุสลจิต ๑๒ ด้วย อกุสลจิตตชรูปด้วย
เป็นมัคคปัจจยุบบันน
(๗)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
องค์มัคค ๙ ที่เป็นอพยากตะใน
สเหตุกวิบากจิต ๒๑,
สเหตุกกิริยาจิต
๑๗ ในปวัตติกาล
และในปฏิสนธิกาลเป็น มัคคปัจจัย
สเหตุกวิบากจิต ๒๑ สเหตุกกิริยาจิต
๑๗ สเหตุกวิบากจิตตชรูป สเหตุกกิริยาจิตตชรูป
ปฏิสนธิกัมมชรูป เป็นมัคคปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๑๓ ปัจจัย คือ
๑.
มัคคปัจจัย
๒.
เหตุปัจจัย
๓.
สหชาตาธิปติปัจจัย
๔.
สหชาตปัจจัย
๕.
อัญญมัญญปัจจัย
๖.
สหชาตนิสสยปัจจัย
๗.
วิปากปัจจัย
๘.
สหชาตินทริยปัจจัย
๙.
ฌานปัจจัย
๑๐.
สัมปยุตตปัจจัย
๑๑.
สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๑๒.
สหชาตัตถิปัจจัย
๑๓.
สหชาตอวิคตปัจจัย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ