ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
ภวจักร์
ภวจักร์
เขียนแบบบาลีเป็น ภวจกฺก
แปลว่าหมุนวนไปในภพต่าง ๆ
ซึ่งเป็น ความหมายเดียวกับ
ปฏิจจสมุปปาท ที่ว่าวนเวียนในสังสารวัฏฏ
ปฏิจจสมุปปาทธรรมนี้
เมื่อกล่าวตามนัยที่เรียกว่า
ภวจักร์ ก็จำแนกได้เป็น ๒ คือ
๑.
ปุพฺพนฺตภวจกฺก
เป็นภวจักร์แรก
นับแต่อดีตเหตุ
จนถึงปัจจุบันผล ซึ่ง ได้แก่
ปฏิจจสมุปปาท ๗ องค์ คือ
อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป
สฬายตนะ ผัสสะ และ เวทนา ใน ๗
องค์นี้
อวิชชาเป็นต้นเหตุหรือเป็นที่ตั้งนำให้ถึงเวทนา
๒.
อปรนฺตภวจกฺก
เป็นภวจักร์หลัง
นับแต่ปัจจุบันเหตุถึงอนาคตผล
ซึ่ง ได้แก่ ปฏิจจสมุปปาท ๕
องค์ คือ ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ
และชรามรณะ ใน ๕ องค์นี้ ตัณหา
เป็นต้นเหตุ หรือเป็นที่ตั้ง
นำให้ถึง ชรามรณะ
บุพพันตภวจักร์
ที่กล่าวว่าได้แก่ปฏิจจสมุปปาท
๗ องค์นั้น หมายเฉพาะ
องค์ที่ปรากฏออกหน้า
ซึ่งในขณะที่ ๗ องค์ คือ
อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป
สฬายตนะ ผัสสะ และ เวทนา
นี้หมุนวนอยู่นั้น ตัณหา
อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ อีก ๕
องค์ ห็หมุนตามไปด้วยเหมือนกัน
อปรันตภวจักร์
ที่กล่าวว่าได้แก่ปฏิจจสมุปปาท
๕ องค์นั้น ก็ทำนองเดียวกัน
คือมุ่งหมายแสดงเฉพาะองค์ที่ปรากฏออกหน้า
ซึ่งในขณะที่ ๕ องค์ คือ ตัณหา
อุปาทาน ภพ ชาติ และชรามรณะ
นี้หมุนวนอยู่นั้น อวิชชา
สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ
ผัสสะ และ เวทนา อีก ๗
องค์นี้ก็หมุนตามไปด้วย
เมื่อพิจารณาองค์ปฏิจจสมุปปาทตามนัยแห่ง
บุพพันตภวจักร์ และ อปรันต ภวจักร์
ที่กล่าวมาแล้วนี้
ก็จะเห็นได้ว่า
ก.
อวิชชา
สังขาร และตัณหา อุปาทาน กัมมภพ
ที่เกิดมีปรากฏขึ้นในภพ
ก่อนนั้น สงเคราะห์เป็น บุพพันตภวจักร์
ข.
ตัณหา
อุปาทาน กัมมภพ และ อวิชชา
สังขาร
ที่เกิดมีปรากฏอยู่ในภพนี้
นั้น สงเคราะห์เป็นอปรันตภวจักร์
ค.
วิญญาณ
นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
และ ชาติ ชรามรณะ อัน ได้แก่
สัตว์ทั้งหลายตั้งแต่เริ่มเกิดจนกระทั่งตายในภพนี้นั้น
สงเคราะห์เป็น บุพพันต ภวจักร์
ง.
ชาติ
ชรามรณะ และวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ
ผัสสะ เวทนา ที่จะเกิด
ปรากฏขึ้นใหม่ในภพข้างหน้า
อันได้แก่
สัตว์ทั้งหลายที่จะเกิดในภพใหม่ชาติใหม่
ต่อไปข้างหน้านั้น
สงเคราะห์เป็น อปรันตภวจักร์
ทั้งนี้ก็มีความหมายว่า
เป็นการหมุนวนเกิดขึ้นสืบเนื่องกันระหว่างภพก่อนกับ
ภพนี้ และภพนี้กับภพหน้า
อันเป็นการหมุนวนอยู่ในวัฏฏสงสาร
วัฏฏทุกข์นั่นเอง
เท่าที่กล่าวมาแล้วนี้
ก็พอจะทำให้เห็นได้แล้วว่า
การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน
สังสารวัฏฏ
ไม่ใช่เป็นการเกิดขึ้นของสัตว์บุคคลใด
แต่เป็นการเกิดขึ้นติดต่อกัน
ของขันธ์ ธาตุ อายตนะ
อันได้แก่ ปฏิจจสมุปปาทธรรมนั่นเอง
ในอัฏฐสาลินี อรรถกถา
แสดงไว้ว่า การเกิดขึ้นและเป็นไปโดยติดต่อกันอย่างไม่ขาดสายแห่ง
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ
เหล่านี้แหละ เรียกว่า สังสาระ
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ