ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
๗.
อัญญมัญญปัจจัย
๑.
อัญญมัญญ
หมายความว่า
ต่างต้องอาศัยพึ่งพิงอิงกันจึงเกิดได้
จึงตั้งอยู่ ได้
เปรียบเหมือนไม้ ๓
อันตั้งอิงพิงกันไว้
๒.
ประเภท
นามรูปเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นสหชาตชาติ คือ
ปัจจัยธรรมและปัจจยุบบันนธรรม
นั้นเกิดร่วม พร้อมกัน
๔.
กาล
เป็นกาลปัจจุบัน คือ
ปัจจัยธรรมยังไม่ได้ดับไป
๕.
สัตติ
มีทั้ง ชนกสัตติ
และอุปถัมภกสัตติ
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ นามขันธ์ ๔ คือ จิต ๘๙
เจตสิก ๕๒,
มหาภูตรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง
๔
ปัญจโวการปฏิสนธินามขันธ์
๔ กับ ปฏิสนธิหทยวัตถุ
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ นามขันธ์ ๔ คือ จิต ๘๙
เจตสิก ๕๒,
มหาภูตรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง
๔
ปัญจโวการปฏิสนธินามขันธ์
๔ กับ ปฏิสนธิหทยวัตถุ
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ อุปาทายรูป ๒๓ (เว้น
หทยวัตถุ)
๗.
ความหมายโดยย่อ
อัญญมัญญปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ
(๑)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล
กุสลจิต ๒๑ คือ กุสลนามขันธ์ ๔
แล้วแต่จะยก
เอาขันธ์ใดว่าเป็นปัจจัย
ขันธ์นั้นก็เป็นอัญญมัญญปัจจัย
กุสลจิต ๒๑ คือ กุสลนาม
ขันธ์ที่เหลือ ก็เป็นอัญญมัญญปัจจยุบบันน
(๒)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล
อกุสลจิต ๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์
๔ แล้ว
แต่จะยกเอาขันธ์ใดว่าเป็นปัจจัย
ขันธ์นั้นก็เป็นอัญญมัญญปัจจัย
อกุสลจิต ๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์ที่เหลือ
ก็เป็นอัญญมัญญปัจจยุบบันน
(๓)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
วิบากจิต ๓๖ คือ
วิบากนามขันธ์ ๔,
กิริยาจิต
๒๐ คือ กิริยานามขันธ์ ๔
แล้วแต่จะยกเอาขันธ์ใดเป็นอัญญมัญญปัจจัย
วิบากจิต ๓๖ คือ
วิบากนามขันธ์ที่เหลือ
กิริยาจิต ๒๐ คือ
กิริยานามขันธ์ที่เหลือ
ก็เป็นอัญญมัญญปัจจยุบบันน
ตามลำดับ
วิบากนามขันธ์
๔ คือ ปฏิสนธิจิต ๑๕ (เว้นอรูปปฏิสนธิ
๔)
ในปฏิสนธิ
ขณะ กับ หทยวัตถุ
แล้วแต่จะยกจิต หรือหทยวัตถุเป็นอัญญมัญญปัจจัย
จิตหรือ หทยวัตถุที่เหลือก็เป็นอัญญมัญญปัจจยุบบันน
มหาภูตรูป
๔ ที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง ๔
แล้วแต่จะยกเอารูปใดเป็นอัญญ
มัญญปัจจัย
รูปที่เหลือในสมุฏฐานนั้น
ก็เป็นอัญญมัญญปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๘ ปัจจัย คือ
๑.
อัญญมัญญปัจจัย
๒.
สหชาตปัจจัย
๓.
สหชาตนิสสยปัจจัย
๔.
วิปากปัจจัย
๕.
สัมปยุตตปัจจัย
๖.
สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗.
สหชาตัตถิปัจจัย
๘.
สหชาตอวิคตปัจจัย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ