ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
๑๑.
ปัจฉาชาตปัจจัย
เมื่อกล่าวมาถึงปัจจัยที่
๑๑ นี้ก็จะเห็นได้ว่าคำว่า ชาตะ
มีอยู่
๓ ปัจจัย คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ
และปัจฉาชาตะนี้ อันคำว่า
ชาตะ ในปัจจัย ๒๔ นี้มีความ
หมายถึง ๓ อย่าง คือ
สหชาตะ
ได้แก่
นาม รูป ที่เกิดอยู่ใน อุปาทะ
ฐีติ ภังคะ
ปุเรชาตะ
ได้แก่
รูป ที่เกิดอยู่ในฐีติขณะเท่านั้น
ปัจฉาชาตะ
ได้แก่
นามที่เกิดอยู่ใน อุปาทะ
และฐีติขณะ
๑.
ปัจฉาชาตะ
หมายความถึงนามที่เกิดทีหลัง
ช่วยอุปการะแก่รูปที่เกิดก่อน
๒.
ประเภท
นามเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นปัจฉาชาตชาติ
หมายความว่า
ปัจจัยธรรมนั้นเกิดทีหลังแล้วช่วย
อุปการะแก่ปัจจยุบบันนธรรมที่เกิดก่อน
๔.
กาล
เป็นปัจจุบันกาล หมายความว่า
ปัจจัยธรรมนั้นยังไม่ดับไป
๕.
สัตติ
มีอำนาจเป็น อุปถัมภกสัตติ
แต่อย่างเดียว
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ จิต ๘๕ (เว้นอรูปวิบาก
๔ และปฏิสนธิ จิต)
เจตสิก
๕๒ ที่เกิดทีหลัง
มีปฐมภวังคจิต เป็นต้น
ที่เกิดอยู่ในปัญจโวการภูมิ
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ รูป ที่เป็นฐีติปัตตะ
ที่เกิดพร้อมกับขณะทั้ง ๓
ของจิตที่เกิดก่อน ๆ
มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ จิต ๘๙,
เจตสิก
๕๒,
รูปขณะที่เกิดขึ้น
(อุปาทขณะของรูป),
พาหิรรูป,
อสัญญสัตตกัมมชรูป
๗.
ความหมายโดยย่อ
ปัจฉาชาตปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ
(๑)
กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
กุสลนามขันธ์ ๔ ได้แก่
กุสลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘
ที่เกิดทีหลังในปัญจโวการภูมิ
เป็นปัจฉาชาตปัจจัย รูป ๒๘
คือ ติชกาย ได้แก่ กัมมชรูป
จิตตชรูป อุตุชรูป ในรูปภูมิ,
จตุชกาย
ได้แก่ กัมมชรูป จิตตชรูป
อุตุชรูป อาหารชรูป ในกามภูมิ
ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป
จึงเกิดมาพร้อม
กับจิตดวงก่อน ๆ เป็นปัจฉาชาตปัจจยุบบันน
(๒)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
อกุสลนามขันธ์ ๔ ได้แก่ อกุสลจิต
๑๒ เจตสิก ๒๗
ที่เกิดทีหลังเป็นปัจฉาชาตปัจจัย
รูป ๒๘ คือติชกาย จตุชกายที่กำลัง
ถึงฐีติขณะของรูป
ซึ่งเกิดมาพร้อมกับจิตดวงก่อน
ๆ เป็นปัจฉาชาตปัจจยุบบันน
(๓)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
วิบากนามขันธ์ ๔ ได้แก่
วิบากจิต ๓๒ (เว้นอรูปวิบาก
๔ และปฏิสนธิจิต),
กิริยานามขันธ์
๔ ได้แก่ กิริยาจิต ๒๐ เจตสิก
๓๘ ที่เกิดทีหลัง เป็นปัจฉาชาตปัจจัย
เอกชกาย ได้แก่ ปฏิสนธิกัมมชรูป,
ทวิชกาย
ได้แก่ กัมมชรูป อุตุชรูป,
ติชกาย
ในปัญจโวการรูปภูมิ จตุชกาย
ในกามภูมิ ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป
ซึ่งเกิดมาพร้อมกับจิตดวงก่อน
ๆ มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น
เป็นปัจฉาชาตปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๔ ปัจจัย คือ
๑.
ปัจฉาชาตปัจจัย
๒.
ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
๓.
ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย
๔.
ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ