ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
๒.
อารัมมณปัจจัย
๑.
อารมณ์
หมายถึงอารมณ์ทั้ง ๖
อันได้แก่รูปารมณ์ สัททารมณ์
คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์
และธัมมารมณ์
อารมณ์ทั้ง
๖ นี้
ได้กล่าวโดยละเอียดพอควรแล้วในปริจเฉทที่
๓ จึงจะไม่
กล่าวซ้ำในที่นี้อีก
ขอให้ทบทวนดูที่ปริจเฉท ๓
นั้น
๒.
ประเภท
บัญญัติ นาม รูป เป็นปัจจัย
นามเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นอารัมมณชาติ
หมายความว่าปัจจัยธรรมนั้นได้แก่อารมณ์
นั่นเอง
๔.
กาล
เป็นได้ทั้ง อดีตกาล อนาคต
ปัจจุบัน และกาลวิมุตติ
๕.
สัตติ
มีอำนาจทั้ง ๒ อย่าง คือ
ชนกสัตติ และ อุปถัมภกสัตติ
๖.
องค์ธรรม
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ อารมณ์ ๖ คือ จิต ๘๙,
เจตสิก
๕๒,
รูป
๒๘ ที่เป็นปัจจุบัน อดีต
อนาคต และนิพพาน บัญญัติ
ที่เป็นกาลวิมุตติ
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ จิต ๘๙,
เจตสิก
๕๒
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ รูปทั้งหมด คือ จิตตชรูป,
ปฏิสนธิกัมมชรูป,
พาหิรรูป,
อาหารชรูป,
อุตุชรูป,
อสัญญสัตตกัมมชรูป,
ปวัตติกัมมชรูป
๗.
ความหมายโดยย่อ
อารัมมณปัจจัย
มี ๙ วาระ
(๑)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล
กุสลที่ตนได้บำเพ็ญมาแล้ว
ไม่ว่าจะเป็นการให้ ทาน
รักษาศีล เจริญกุสลฌาน
กุสลอภิญญา หรือมัคคจิต
เหล่านี้เป็นต้น อันได้แก่
กุสลจิต ๒๑ นี่แหละ เป็นอารัมมณปัจจัย
กุสลนามขันธ์ ๔
ที่นึกถึงหรือที่พิจารณา
กุสลธรรมนั้น ๆ เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน
(๒)
กุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล
นึกถึงโลกียกุสล ๑๗
ที่ได้บำเพ็ญมาแล้วก็อาจ
เกิด ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา
อุทธัจจะ หรือโทมนัสขึ้นได้
โลกียกุสลจิต ๑๗ นั่นแหละ
เป็นอารัมมณปัจจัย อกุสลจิตที่เกิดขึ้นเป็นอารัมมณปัจจยุบบันน
(๓)
กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
กุสลได้แก่กุสลจิต ๒๑ เป็นอารัมมณปัจจัย
อพยากตะ ได้แก่ ตทาลัมพนะ ๑๑,
กามกิริยา
๑๐(เว้นปัญจทวาราวัชชนจิต
๑),
วิญญาณัญจายตนะวิบาก
๑ กิริยา ๑,
เนวสัญญานาสัญญายตนะวิบาก
๑ กิริยา ๑,
กิริยาอภิญญา
๑ เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน
กุสลกามชวนจิต
เป็นอารัมมณปัจจัย ให้เกิดตทาลัมพนะ
๑๑ เป็นอารัมมณ ปัจจยุบบันน
อรหัตตมัคคจิต
เป็นอารัมมณปัจจัย
ให้เกิดมหากิริยาจิต (ในปัจจเวกขณะ)
เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน
พระอรหันต์
พิจารณากุสลต่าง ๆ
ที่เคยทำไว้แต่ก่อน ๆ ก็ดี
พิจารณากุสลโดย
ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา ก็ดี ธรรมต่าง ๆ
เหล่านี้หน่วงมาเป็นอารมณ์นั้น
เป็นอารัมมณปัจจัย
มหากิริยาจิต
ที่พิจารณาธรรมเหล่านั้นเป็นอารัมมณปัจจยุบบันน
พระอรหันต์
ผู้ได้อภิญญา
พิจารณากุสลจิตที่เกิดแล้วแก่ตนและผู้อื่น
และที่ จะเกิดต่อไปภายหน้า
กุสลเหล่านี้เป็นอารัมมณปัจจัย
กิริยาอภิญญาจิตที่พิจารณา
กุสลเหล่านั้น เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน
อากาสานัญจายตนกุสลจิตที่เกิดมาแล้วในภพนี้หรือภพก่อน
เป็นอารัมมณ ปัจจัย วิญญาณัญจายตนวิบาก
หรือ วิญญาณัญจายตนกิริยา
เป็นอารัมมณปัจจยุบ บันน
อากิญจัญญายตนกุสลจิต
ที่เกิดมาแล้วในภพนี้หรือภพก่อน
เป็นอารัมมณ ปัจจัย เนวสัญญานาสัญญายตนวิบาก
หรือ เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาเป็น
อารัมมณปัจจยุบบันน
กุสลจิต
เป็นอารัมมณปัจจัย
มโนทวาราวัชชนจิต เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน
(๔)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล
อกุสลที่ตนได้กระทำมาแล้วนั้นเป็นอารัมมณ
ปัจจัย ก็สามารถทำให้เกิดอกุสลจิต
โลภ โกรธ หลง เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน
ขึ้นได้
(๕)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล
อกุสล ๑๒
เป็นปัจจัยให้เกิดมหากุสล
หรือ อภิญญากุสลได้
เป็นต้นว่า
พระเสกขบุคคล
พิจารณาอกุสลที่ละได้แล้วและอกุสลที่ยังคงเหลืออกุสล
นี่ แหละเป็น อารัมมณปัจจัย
มหากุสลที่พิจารณาอกุสลจิตเหล่านั้น
เป็นอารัมมณปัจจ ยุบบันน
พระเสกขบุคคลและปุถุชน
พิจารณาอกุสลโดยความเป็น
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อกุสลนั้นเป็นอารัมมณปัจจัย
มหากุสลที่พิจารณาอกุสลนั้น
เป็นอารัมมณ ปัจจยุบบันน
พระเสกขบุคคลและปุถุชน
ผู้ได้อภิญญาเจโตปริยญาณ
พิจารณารู้อกุสลจิตที่
เกิดขึ้นในอดีต อนาคต
ปัจจุบัน
ทั้งของตนเองและของผู้อื่น
อกุสลนั้นเป็นอารัมมณ ปัจจัย
อภิญญากุสลจิต เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน
(๖)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
อกุสลได้แก่ อกุสลจิต ๑๒
เป็นอารัมมณ ปัจจัย อพยากตะ
ได้แก่ ตทาลัมพนะ ๑๑,
กามกิริยาจิต
๑๐ (เว้นปัญจทวาราวัชชน
จิต ๑)
และ
อภิญญากิริยาจิต ๑ เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน
เช่น
พระอรหันต์พิจารณากิเลสที่ละแล้วก็ดี
ที่เคยเกิดมาแต่ก่อน ๆ ก็ดี
กิเลสเหล่า นั้นเป็นอารัมมณปัจจัย
กิริยาจิตที่พิจารณากิเลสนั้น
ๆ เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน
พระอรหันต์
พิจารณาอกุสลจิต ๑๒
ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน
ทั้งของตน
และของผู้อื่นเป็นอารัมมณปัจจัย
อภิญญากิริยาจิตที่รู้อกุสลนั้น
ๆ เป็นอารัมมณ ปัจจยุบบันน
อกุสลจิต
๑๒
ที่เป็นอารมณ์ของอภิญญากิริยาจิตนั้น
เป็นอารัมมณปัจจัย
อภิญญากิริยาจิต ๑ อาวัชชนจิต
๑ (คือมโนทวาราวัชชนจิต)
ที่พิจารณาอกุสลจิต
นั้น เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน
(๗)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
อพยากตะที่เป็นอารัมมณปัจจัย
ได้แก่ วิบากจิต ๓๖,
กิริยาจิต
๒๐,
รูป
๒๘ และนิพพาน อพยากตะที่เป็นอารัมมณ
ปัจจยุบบันนนั้นได้แก่
กามวิบาก ๒๓,
กามกิริยา
๑๑,
วิญญาณัญจายตนกิริยา
๑,
เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยา
๑,
อภิญญากิริยา
๑ และ ผลจิต ๔ เช่น
อรหัตตผลจิตก็ดี
นิพพานก็ดี เป็นอารัมมณปัจจัย
มหากิริยาจิตที่พิจารณา
อรหัตตผลจิต
หรือพิจารณานิพพาน โดยปัจจเวกขณะ
เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน
นิพพานที่เป็นอารมณ์ของผลจิต
เป็นอารัมมณปัจจัย ผลจิต ๔
ดวง มโน ทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง
เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน
วัตถุรูปทั้ง
๖,
อารมณ์ทั้ง
๖,
โลกียวิบากจิต
๓๒,
กิริยาจิต
๒๐ ทั้งของตน และของผู้อื่น
เป็นอารัมมณปัจจัย
มหากิริยาจิตของพระอรหันต์ที่พิจารณาอารมณ์
เหล่านั้น
โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน
รูป
เสียง วิบากจิต ๓๖ กิริยาจิต
๒๐
ที่เป็นอารมณ์ของอภิญญาจิต
เป็น อารัมมณปัจจัย
อภิญญากิริยา ๑ มีหูทิพย์
ตาทิพย์ เป็นต้น
ของพระอรหันต์ที่รู้
อารมณ์เหล่านั้น เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน
อากาสานัญจายตนกิริยา
และอากิญจัญญายตนกิริยา
เป็นอารัมมณปัจจัย วิญญาณัญจายตนกิริยา
และเนวสัญญานาสัญญายตนกิริยา
เป็นอารัมมณปัจจยุบ บันน (ตามลำดับ)
ปัญจารมณ์
เป็นอารัมมณปัจจัย ทวิปัญจวิญญาณ
๑๐ เป็น อารัมมณปัจจยุบ บันน
วิบากจิต
๓๖,
กิริยาจิต
๒๐,
รูป
๒๘ นี้เป็นไปในกาลทั้ง ๓
ทั้งของตนและ ของผู้อื่น
เป็นอารัมมณปัจจัย
มโนทวาราวัชชนจิต เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน
(๘)
อพยากตะ
เป็นปัจจัยแก่ กุสล วิบากจิต
๓๕ (เว้นอรหัตตผล)
กิริยาจิต
๒๐,
รูป
๒๘,
นิพพาน
เป็นอารัมมณปัจจัย มหากุสล ๘
มัคคจิต ๔ และอภิญญา กุสล ๑
เป็น อารัมมณปัจจยุบบันน เช่น
ผลเบื้องต่ำ
๓ ก็ดี นิพพาน ก็ดี เป็นอารัมมณปัจจัย
มหากุสลจิตของพระ เสกขบุคคล
ที่พิจารณา(ปัจจเวกขณะ)
อารมณ์เหล่านั้น
เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน
นิพพาน
เป็นอารัมมณปัจจัย โคตรภู
หรือโวทาน คือ มหากุสลญาณ
สัมปยุตตก็ดี มัคคจิต ๔
ทีกำลังเกิดขึ้นนั้น ก็ดี
เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน
วัตถุ
๖,
อารมณ์
๖,
โลกียวิบากจิต
๓๒,
กิริยาจิต
๒๐ ที่เกิดขึ้นแก่ตนเอง
หรือของผู้อื่นในกาลทั้ง ๓
เป็นอารัมมณปัจจัย
มหากุสลที่พิจารณาอารมณ์นั้น
ๆ เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน
พระเสกขบุคคลและปุถุชนพิจารณารูป
เสียง วิบากจิต กิริยาจิต
ด้วยอภิญญา กุสล
อารมณ์เหล่านี้เป็นอารัมมณปัจจัย
อภิญญากุสลจิตที่รู้เห็นอารมณ์เหล่านั้นเป็น
อารัมมณปัจจยุบบันน
(๙)
อพยากตะ
เป็นปัจจัยแก่ อกุสล,
วัตถุ
๖,
อารมณ์
๖,
โลกียวิบากจิต
๓๒,
กิริยาจิต
๒๐,
รูป
๒๘
ของตนเองและของผู้อื่นในกาลทั้ง
๓ เหล่านี้เป็น อารมณ์เมื่อใด
เมื่อนั้นก็เป็นอารัมมณปัจจัย
ทำให้อกุสลจิตมีโลภะเป็นต้น
เกิดขึ้นได้ อกุสลจิตที่เกิดขึ้นเพราะอารมณ์เหล่านั้น
เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๘ ปัจจัย คือ
๑.
อารัมมณปัจจัย
๒.
อารัมมณาธิปติปัจจัย
๓.
วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๔.
อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๕.
อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๖.
วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗.
อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘.
อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ