ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

ปัจจัย ๒๔ ที่เกี่ยวแก่อวิชชา

ในบท อวิชชา เป็นปัจจัยแก่สังขารนี้ เมื่อกล่าวโดยปัจจัย ๒๔ แล้ว ก็เป็นไปด้วยอำนาจแห่งปัจจัยดังต่อไปนี้

. อวิชชาเป็นปัจจัยแก่อบุญญาภิสังขาร ก็ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๑๕ ปัจจัย คือ ๑.เหตุปัจจัย ๒.อารัมมณปัจจัย ๓.อธิปติปัจจัย ๔.อนันตรปัจจัย ๕.สมนันตรปัจจัย ๖.สหชาตปัจจัย ๗.อัญญมัญญปัจจัย ๘.สหชาตนิสสยปัจจัย ๙.ปกตูปนิสสยปัจจัย ๑๐.อาเสวนปัจจัย ๑๑.สัมปยุตตปัจจัย ๑๒.อัตถิปัจจัย ๑๓.นัตถิปัจจัย ๑๔.วิคตปัจจัย ๑๕.อวิคตปัจจัย

. อวิชชา เป็นปัจจัยแก่ บุญญาภิสังขาร ก็ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๒ คือ ๑.อารัมมณปัจจัย ๒.ปกตูปนิสสยปัจจัย

. อวิชชา เป็นปัจจัยแก่ อาเนญชาภิสังขาร ก็ด้วยอำนาจแห่ง ปกตูปนิสสย ปัจจัย ปัจจัยเดียวเท่านั้นเอง

อธิบาย

. อวิชชา เป็นปัจจัยแก่อบุญญาภิสังขาร ก็ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๑๕ ปัจจัย นั้น กล่าวเพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ ก็ว่า โมหเจตสิกเป็นปัจจัยแก่อกุสลจิตนั้นเป็น ได้ ๑๕ ปัจจัย แต่ละปัจจัยมีความหมายดังนี้

. เหตุปัจจัย กล่าวถึงเหตุ ๖ เป็นปัจจัยให้เกิดจิตและเจตสิกนั้น ในที่นี้ โมหะ เป็นเหตุปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ และเจตสิกที่ประกอบเป็นเหตุปัจจยุบบันน

. อารัมมณปัจจัย กล่าวถึงอารมณ์เป็นปัจจัยให้เกิดจิตและเจตสิกนั้น คือ เมื่อนึกถึงสิ่งที่ตนชอบใจติดใจก็ดี ที่ไม่ชอบใจ ที่เกลียด ที่กลัวก็ดี ที่สงสัยที่ฟุ้งซ่าน ก็ดี เหล่านี้เป็นอารมณ์ที่มีสาเหตุมาจากโมหะทั้งนั้น อารมณ์เหล่านี้แหละเป็น อารัมมณปัจจัย ก่อให้เกิดอกุสลจิต ๑๒ และเจตสิกที่ประกอบนี่แหละเป็นอารัมมณ ปัจจยุบบันน

. อธิปติปัจจัย กล่าวถึงอารมณ์ที่เป็นใหญ่ที่มีกำลังมาก หรือที่เอาใจใส่มาก เป็นพิเศษ เป็นปัจจัยให้เกิดจิตและเจตสิก คือ อารมณ์ที่มีกำลังมากเป็นพิเศษนั้น เป็นอธิปติปัจจัย ก่อให้เกิดอกุสลจิต ๑๒ และเจตสิกที่ประกอบ เป็นอธิปติปัจจยุบ บันน

. อนันตรปัจจัย กล่าวถึงจิตที่เกิดติดต่อกันโดยไม่มีระหว่างคั่น ที่มาเกี่ยว กับโมหเจตสิก ก็เพราะเหตุว่า โมหเจตสิกต้องเกิดพร้อมกับอกุสลจิต กล่าวโดย หน้าที่การงาน อกุสลจิตก็เป็นชวนจิต ชวนจิตนี้โดยปกติเกิดติดต่อกัน ๗ ดวง หรือ ๗ ขณะจิต ดังนั้นโมหเจตสิกที่ในอกุสลชวนจิตดวงที่ ๑ ก็เป็นอนันตรปัจจัย โมหะ ในอกุสลชวนจิตดวงที่ ๒ ก็เป็นอนันตรปัจจยุบบันน โมหะในอกุสลชวนจิตดวงที่ ๒ เป็นอนันตรปัจจัย โมหะในอกุสลชวนจิตดวงที่ ๓ ก็เป็นอนันตรปัจจยุบบันน เป็นตามลำดับกันจนถึงโมหะในอกุสลชวนจิตดวงที่ ๖ เป็นอนันตรปัจจัย โมหะใน อกุสลจิตดวงที่ ๗ ก็เป็นอนันตรปัจจยุบบันน

. สมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยที่เน้นถึงอนันตรปัจจัยว่า การที่เกิดติดต่อกัน โดยไม่มีระหว่างคั่นนั้น เกิดติดต่อกันตามลำดับ ไม่ข้ามลำดับ อันมีความหมาย เช่นเดียวกับอนันตรปัจจัยนั่นเอง เป็นแต่ย้ำความให้กระชับแน่นแฟ้นขึ้นอีกเท่านั้น

. สหชาตปัจจัย กล่าวถึงธรรมที่เกิดพร้อมกัน ในที่นี้โมหเจตสิกย่อมต้อง เกิดพร้อมกับอกุสลจิตและเจตสิกที่ประกอบ ดังนั้นโมหเจตสิกนี้ก็เป็นสหชาตปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ และเจตสิกที่ประกอบ ซึ่งเกิดพร้อมกับโมหเจตสิกนั้น เป็นสหชาต ปัจจยุบบันน

. อัญญมัญญปัจจัย กล่าวถึงธรรมที่อุปการะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ใน ที่นี้ โมหเจตสิกก็อุปการะช่วยเหลืออกุสลจิตและเจตสิกที่ประกอบให้เกิดขึ้น อกุสล จิตและเจตสิกที่ประกอบ ก็อุปการะช่วยเหลือแก่โมหเจตสิกให้เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน กล่าวคือ ต่างฝ่ายต่างอุปการะแก่กันและกัน ดังนั้น โมหเจตสิกนี้จึงเป็นอัญญมัญญ ปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ และเจตสิกที่ประกอบนั้นเป็นอัญญมัญญปัจจยุบบันน

. นิสสยปัจจัย กล่าวถึงธรรมอันเป็นที่อาศัย ในที่นี้โมหเจตสิกเป็นที่อาศัย ของอกุสลจิตและเจตสิกที่ประกอบ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า อกุสลจิตและเจตสิกที่ ประกอบนี่แหละที่อาศัยโมหเจตสิก จึงปรากฏเกิดขึ้นได้ ดังนั้นในโมหเจตสิก จึงเป็นนิสสยปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ และเจตสิกที่ประกอบก็เป็นนิสสยปัจจยุบบันน

. อุปนิสสยปัจจัย กล่าวถึงธรรมที่อาศัย อย่างแรงกล้า อย่างมั่นคง ในที่นี้ โมหเจตสิกเป็นที่อาศัยของอกุศลจิตและเจตสิกที่ประกอบอย่างแรงกล้า กล่าวอีกนัย หนึ่งว่า อกุสลจิตและเจตสิกที่ประกอบได้อาศัยโมหเจตสิกอย่างมั่นคง จึงปรากฏเกิด ขึ้นได้ ดังนั้น โมหเจตสิกจึงเป็นอุปนิสสยปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ และ เจตสิกที่ ประกอบก็เป็นอุปนิสสยปัจจยุบบันน

๑๐. อาเสวนปัจจัย กล่าวถึงธรรมที่เสพอารมณ์หลายขณะ อันหมายถึงชวน จิตโดยเฉพาะ เพราะในวิถีหนึ่ง ๆ ชวนจิตย่อมเกิดติดต่อกันโดยปกติ ๗ ขณะจิต ดังนั้นเจตนาในอกุสลชวนจิตดวงที่ ๑ จึงเป็นอาเสวนปัจจัย เจตนาที่ในอกุสล ชวนจิตดวงที่ ๒ ก็เป็นอาเสวนปัจจยุบบันน เจตนาที่ในอกุสลชวนจิตดวงที่ ๒ เป็นอาเสวนปัจจัย เจตนาที่ในอกุสลชวนจิตดวงที่ ๓ เป็นอาเสวนปัจจยุบบันน เป็นดังนี้ไปตามลำดับ จนถึงเจตนาที่ในอกุสลชวนจิตดวงที่ ๖ เป็นอาเสวนปัจจัย เจตนาที่ในอกุสลชวนจิตดวงที่ ๗ เป็นอาเสวนปัจจยุบบันน

๑๑. สัมปยุตตปัจจัย กล่าวถึงธรรมที่ประกอบกัน โมหเจตสิกย่อมประกอบ กับอกุสลจิตและเจตสิกที่ประกอบ ดังนั้น โมหเจตสิกจึงเป็นสัมปยุตตปัจจัย อกุสล จิต ๑๒ และเจตสิกที่ประกอบ ก็เป็นสัมปยุตตปัจจยุบบันน

๑๒. อัตถิปัจจัย กล่าวถึงธรรมที่กำลังมีอยู่นั้นเป็นปัจจัย ในที่นี้หมายถึงว่า โมหเจตสิกยังมีอยู่ ยังไม่ได้ดับไป นั่นแหละเป็นอัตถิปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ และ เจตสิกที่ประกอบนั้นก็เป็นอัตถิปัจจยุบบันน

๑๓. นัตถิปัจจัย กล่าวถึงธรรมที่ไม่มีแล้ว ดับไปแล้ว จึงจะเป็นปัจจัยได้ ในที่นี้หมายถึงว่า โมหเจตสิกที่ในอกุสลชวนจิตดวงที่ ๑ ดับไปแล้วไม่มีแล้ว จึงเป็น นัตถิปัจจัย ให้เกิดโมหเจตสิกที่ในอกุสลชวนจิตดวงที่ ๒ นั้นได้ โมหเจตสิกในที่ อกุสลชวนจิตดวงที่ ๒ นี้แหละเรียกว่า นัตถิปัจจยุบบันน ซึ่งมีความหมายเป็น ไปในทำนองเดียวกันกับ อนันตรปัจจัย (ข้อ ๔) และอาเสวนปัจจัย (ข้อ ๑๐) ที่ กล่าวข้างต้น

๑๔. วิคตปัจจัย กล่าวถึงธรรมที่ปราศไปแล้ว คือดับไปแล้ว เป็นปัจจัย มี ความหมายเช่นเดียวกับธรรมที่ไม่มีแล้วดับไปแล้ว ดังที่กล่าวในข้อ ๑๓ นัตถิปัจจัย นั่นเอง

๑๕. อวิคตปัจจัย กล่าวถึงธรรมที่ยังไม่ปราศไป เป็นปัจจัย ธรรมที่ยังไม่ ปราศไป ก็คือธรรมที่ยังมีอยู่ ยังไม่ดับไป จึงมีความหมายเช่นเดียวกับที่กล่าวในข้อ ๑๒ อัตถิปัจจัยนั้น

. อวิชชาเป็นปัจจัยแก่บุญญาภิสังขาร ก็ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๒ ปัจจัย คือ อารัมมณปัจจัย ปกตูปนิสสยปัจจัย แต่ละปัจจัยมีความหมายดังต่อไปนี้

. อารัมมณปัจจัย กล่าวถึงอารมณ์ เป็นปัจจัยให้เกิดจิตและเจตสิก ในบทนี้ หมายถึง ด้วยอำนาจแห่งโมหะจึงมีอารมณ์ติดใจ ชอบใจ มนุษย์สมบัติ เทวสมบัติ และรูปพรหมสมบัติ จึงประกอบมหากุสลกรรม เพื่อให้สมปรารถนาในมนุษย์สมบัติ และเทวสมบัติ และเพียรบำเพ็ญภาวนารูปาวจรกุสลกรรม เพื่อให้สมปรารถนาใน รูปพรหมสมบัติ ดังนี้จึงได้ชื่อว่า โมหเป็นอารัมมณปัจจัย จิตที่เป็นมหากุสล รูปา วจรกุสล และเจตสิกที่ประกอบนั้นก็เป็นอารัมมณปัจจยุบบันน

. ปกตูปนิสสยปัจจัย กล่าวถึงธรรมที่เป็นปัจจัยนั้น เป็นที่อาศัยอย่างแรง กล้า หรือเป็นที่อาศัยที่มีกำลังมากแก่ปัจจยุบบันนธรรม ในบทนี้จึงมีความหมายว่า โมหะนี่แหละเป็นปัจจัย เป็นที่อาศัยอย่างแรงกล้า เป็นที่อาศัยที่มีกำลังมากช่วย อุปการะเกื้อกูลให้ ประกอบกรรมทำเพียงแค่มหากุสล และรูปาวจรกุสลเท่านั้น ดังนี้โมหะจึงได้ชื่อว่า เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย จิตมหากุสลและรูปาวจรกุสลพร้อมกับ เจตสิกที่ประกอบนั้นเป็นปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน

. อวิชชาเป็นปัจจัยแก่อาเนญชาภิสังขาร ด้วยอำนาจแห่งปกตูปนิสสย ปัจจัยเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้น ซึ่งมีความหมายทำนองเดียวกับที่ได้กล่าวมาแล้วข้าง ต้นนี้ คือมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะได้อรูปพรหมสมบัติ จึงได้บำเพ็ญเพียร ประกอบอรูปาวจรกุสลกรรม เพราะความปรารถนาในอรูปพรหมสมบัติเช่นนี้ได้ชื่อ ว่า ยังมีโมหะอยู่ ดังนั้นโมหะ ก็เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย อรูปาวจรกุสลจิตและเจตสิก ที่ประกอบเป็น ปกตูปนิสสยปัจจยุบบันน

สอบถาม ปัญหาธรรมะ ได้ที่ลานธรรมมูลนิธิ ค่ะ...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...