ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
๑๒.
อาเสวนปัจจัย
อาเสวนปัจจัย
หมายถึง การเสพบ่อย ๆ
ในวิถีหนึ่ง ๆ การเสพบ่อย ๆ
แต่ละ
วิถีนั้นก็มีจิตที่ทำกิจนี้
คือ ชวนจิต ๕๕ ดวงเท่านั้นเอง
แต่จะต้องประกอบด้วย ลักษณะ ๓
อย่าง ดังต่อไปนี้ด้วย คือ
ก.
ต้องเป็นจิตชาติเดียวกัน
ข.
ต้องเกิดซ้ำกันอย่างน้อย
๔ หรือ ๕ ขณะ
ค.
ต้องไม่ใช่วิบากชวนจิต
ถ้าไม่ครบลักษณะทั้ง
๓ นี้ด้วยแล้ว
ก็ไม่เป็นอาเสวนปัจจัย
๑.
อาเสวนะ
หมายความว่า เสพบ่อย ๆ
๒.
ประเภท
นามเป็นปัจจัย
นามเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นอนันตรชาติ หมายความว่า
ปัจจัยธรรมนั้นช่วยอุปการะให้ปัจจ
ยุบบันนธรรมเกิดโดยไม่มีระหว่างคั่น
๔.
กาล
เป็นอดีตกาล หมายความว่า
ปัจจัยธรรมนั้นจะต้องดับไปเสียก่อน
จึงจะอุปการะให้ปัจจยุบบันนธรรมเกิดขึ้นได้
๕.
สัตติ
มีอำนาจอย่างเดียว คือ
ชนกสัตติ
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ โลกียชวนจิต ๔๗
ที่เกิดก่อน ๆ (เว้นชวนะ
ดวงสุดท้าย)
ที่เป็นชาติเดียวกัน
เจตสิก ๕๒
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ชวนจิต ๕๑ ที่เกิดหลัง
ๆ(เว้นชวนดวงที่
๑ และผลชวนจิต ๔)
เจตสิก
๕๒
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ชวนจิตดวงที่ ๑
ของกามชวนจิต ๒๙,
อาวัชชน
จิต ๒,
วิบากจิต
๓๖,
เจตสิก
๕๒ และรูปทั้งหมด
๗.
ความหมายโดยย่อ
อาเสวนปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ
(๑)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล
โลกียกุสลชวนจิต ๑๗
ที่เกิดก่อน ๆ (เว้นชวนะ
ดวงสุดท้าย)
เป็นอาเสวนปัจจัย
กุสลชวนจิต ๒๑ ที่เกิดหลัง ๆ(เว้นชวนะดวงที่
๑)
เป็นอาเสวนปัจจยุบบันน
(๒)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล
อกุสลชวนจิต ๑๒ ที่เกิดก่อน ๆ (เว้นชวนะ
ดวงสุดท้าย)
เป็นอาเสวนปัจจัย
อกุสลชวนจิต ๑๒ ที่เกิดหลัง ๆ (เว้นชวนะดวงที่
๑)
เป็นอาเสวนปัจจยุบบันน
(๓)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
กิริยาชวนจิต ๑๘ ที่เกิดก่อน
ๆ (เว้น
ชวนะดวงสุดท้าย)
เป็นอาเสวนปัจจัย
กิริยาชวนจิต ๑๘ ที่เกิดหลัง
ๆ (เว้นชวนะ
ดวงที่ ๑)
เป็นอาเสวนปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๖ ปัจจัย คือ
๑.
อาเสวนปัจจัย
๒.
อนันตรปัจจัย
๓.
สมนันตรปัจจัย
๔.
อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๕.
นัตถิปัจจัย
๖.
อวิคตปัจจัย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ