ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

ความแตกต่างกันระหว่างตัณหากับอุปาทาน

ใน อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา ว่า เอตฺถ จ ทุพฺพลตณฺหา นาม พลวติ อุปาทา นานํ แปลความว่า ในที่นี้ตัณหาที่มีกำลังน้อยเรียกว่า ตัณหา ตัณหาที่มีกำลังมาก เรียกว่า อุปาทาน

อีกนัยหนึ่งว่า ปริเยสนทุกฺขมูลํ ตณฺหา อารกฺขมูลํ อุปาทานํ อยเมเตสํ วิเสโส แปลความว่า ตัณหามีทุกข์ในการแสวงหาเป็นมูล อุปาทานมีทุกข์ในการ ระวังรักษาเป็นมูล

ตัณหา คือ ความพอใจในอารมณ์ที่ตนได้พบครั้งแรก อุปาทาน คือความติดใจ ในอารมณ์ที่ตนได้พบนั้นไม่หาย ครุ่นคิดอยู่เสมอ

ตัณหา คือ ความอยากได้ในอารมณ์ที่ตนยังไม่ได้ อุปาทาน คือ ความยึดมั่น ในอารมณ์ที่ตนได้มาแล้ว โดยไม่ยอมปล่อยวาง

จึงได้มีข้ออุปมาไว้ว่า ตัณหา เหมือนต้นไม้ที่ยังเล็ก ๆ อยู่ ถอนทิ้งได้ง่าย อุปา ทาน เหมือนต้นไม้ที่ใหญ่โตแล้ว ย่อมยากแก่การถอน เพราะรากแก้วยึดมั่นเสียแล้ว

อัปปิจฉตาคุณ คือ มีความปรารถนาน้อย ที่เรียกกันว่า ไม่มีความอยากใหญ่ เป็นปฏิปักษ์แก่ตัณหา ทำให้ตัณหามีกำลังลดน้อยถอยลง

สันตุฏฐิคุณ คือ ความมีสันโดษ ก็เป็นปฏิปักษ์แก่อุปาทาน สันโดษ หรือ สันตุฏฐี ได้แก่ มีความพอใจเท่าที่ตนมีอยู่ พอใจแสวงหาตามควรแก่กำลัง และ พอใจแสวงหาโดยสุจริต เพียงแต่มีสันโดษเท่านี้ ก็เป็นคุณแก่ตนเองและแก่ผู้อื่น เป็นอย่างมาก


สอบถาม ปัญหาธรรมะ ได้ที่ลานธรรมมูลนิธิ ค่ะ...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...