ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
สรุปปัจจัยโดยนัยต่าง
ๆ
ปัจจัยทั้งหมด
เมื่อสรุปโดยนัยต่าง ๆ คือ ๑.จำนวน,
๒.ประเภท,
๓.ชาติ,
๔.กาล,
๕.สัตติ
เป็นต้น ก็ได้ดังนี้
กล่าวโดยจำนวน
ปัจจัยทั้งหมดนั้นมีจำนวน
๒๔ ปัจจัย
แต่ว่าบางปัจจัยก็ยังจำแนกได้อีกเป็น
๒ เป็น ๓ จนถึงเป็น ๖ ก็มี
เมื่อนับจำนวนโดยพิสดารแล้ว
ก็มีจำนวน ๔๗ ปัจจัย
รายละเอียดที่หน้า ๕๗-๕๙
นั้นแล้ว
กล่าวโดยประเภท
ก.
นามเป็นปัจจัย
นามเป็นปัจจยุบบันน
มี ๗ ปัจจัย คือ
๑.
อนันตรปัจจัย
๒.
สมนันตรปัจจัย
๓.
อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๔.
อาเสวนปัจจัย
๕.
สัมปยุตตปัจจัย
๖.
นัตถิปัจจัย
๗.
วิคตปัจจัย
ข.
นามเป็นปัจจัย
รูปเป็นปัจจยุบบันน
มี ๔ ปัจจัย คือ
๑.
ปัจฉาชาตปัจจัย
๒.
ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
๓.
ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย
๔.
ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย
ค.
นามเป็นปัจจัย
นามรูปเป็นปัจจยุบบันน
มี ๙ ปัจจัย คือ
๑.
เหตุปัจจัย
๒.
สหชาตาธิปติปัจจัย
๓.
สหชาตกัมมปัจจัย
๔.
นานักขณิกกัมมปัจจัย
๕.
วิปากปัจจัย
๖.
นามอาหารปัจจัย
๗.
สหชาตินทริยปัจจัย
๘.
ฌานปัจจัย
๙.
มัคคปัจจัย
ง.
รูปเป็นปัจจัย
รูปเป็นปัจจยุบบันน
มี ๖ ปัจจัย คือ
๑.
รูปอาหารปัจจัย
๒.
รูปชีวิตินทริยปัจจัย
๓.
อาหารัตถิปัจจัย
๔.
อินทริยัตถิปัจจัย
๕.
อาหารอวิคตปัจจัย
๖.
อินทริยอวิคตปัจจัย
๑.
วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๒.
วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๓.
วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๔.
อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๕.
ปุเรชาตินทริยปัจจัย
๖.
วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗.
วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๘.
วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
๙.
อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๑๐.
วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย
๑๑.
อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
มีข้อสังเกตตรงนี้ว่า
รูปเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันนนั้นไม่มี
ฉ.
นามรูปเป็นปัจจัย
นามเป็นปัจจยุบบันน
มี ๒ ปัจจัย คือ
๑.
อารัมมณาธิปติปัจจัย
๒.
อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
มีข้อสังเกตตรงนี้ว่า
นามรูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันนนั้นไม่มี
ช.
นามรูปเป็นปัจจัย
นามรูปเป็นปัจจยุบบันน
มี ๖ ปัจจัย คือ
๑.
สหชาตปัจจัย
๒.
อัญญมัญญปัจจัย
๓.
สหชาตนิสสยปัจจัย
๔.
สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๕.
สหชาตัตถิปัจจัย
๖.
สหชาตอวิคตปัจจัย
ซ.
บัญญัติ
นาม
รูป
เป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน
มี ๒ ปัจจัย คือ
๑.
อารัมมณปัจจัย
๒.
ปกตูปนิสสยปัจจัย
มีข้อสังเกตว่า
บัญญัติ นามรูป เป็นปัจจัย
รูปเป็นปัจจยุบบันนนั้นไม่มี
กล่าวโดยชาติ
ในปัจจัย
๒๔ หรือโดยพิสดาร ๔๗
ปัจจัยนั้น มี ชาติ ๙ อย่าง คือ
๑.
สหชาตชาติ
๒.
อารัมมณชาติ
๓.
อนันตรชาติ
๔.
วัตถุปุเรชาตชาติ
๕.
ปัจฉาชาตชาติ
๖.
อาหารชาติ
๗.
รูปชีวิตินทริยชาติ
๘.
ปกตูปนิสสยชาติ
๙.
นานักขณิกกัมมชาติ
ก.
ปัจจัยที่เป็น
สหชาตชาติ
มี
๑๕ ปัจจัย คือ
๑.
เหตุปัจจัย
๒.
สหชาตาธิปติปัจจัย
๓.
สหชาตปัจจัย
๔.
อัญญมัญญปัจจัย
๕.
สหชาตนิสสยปัจจัย
๖.
สหชาตกัมมปัจจัย
๗.
วิปากปัจจัย
๘.
นามอาหารปัจจัย
๙.
สหชาตินทริยปัจจัย
๑๐.
ฌานปัจจัย
๑๑.
มัคคปัจจัย
๑๒.
สัมปยุตตปัจจัย
๑๓.
สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๑๔.
สหชาตัตถิปัจจัย
๑๕.
สหชาตอวิคตปัจจัย
ข.
ปัจจัยที่เป็น
อารัมมณชาติ
มี ๘ ปัจจัย คือ
๑.
อารัมมณปัจจัย
๒.
อารัมมณาธิปติปัจจัย
๓.
วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๔.
อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๕.
อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๖.
วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗.
อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘.
อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
ค.
ปัจจัยที่เป็น
อนันตรชาติ
มี
๖ ปัจจัย คือ
๑.
อนันตรปัจจัย
๒.
สมนันตรปัจจัย
๓.
อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๔.
อาเสวนปัจจัย
๕.
นัตถิปัจจัย
๖.
วิคตปัจจัย
ง.
ปัจจัยที่เป็น
วัตถุปุเรชาตชาติ มี
๖ ปัจจัย คือ
๑.
วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๒.
วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๓.
ปุเรชาตินทริยปัจจัย
๔.
วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๕.
วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
๖.
วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย
จ.
ปัจจัยที่เป็น
ปัจฉาชาตชาติ มี
๔ ปัจจัย คือ
๑.
ปัจฉาชาตปัจจัย
๒.
ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
๓.
ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย
๔.
ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย
ฉ.
ปัจจัยที่เป็น
อาหารชาติ
มี
๓ ปัจจัย คือ
๑.
รูปอาหารปัจจัย
๒.
อาหารัตถิปัจจัย
๓.
อาหารอวิคตปัจจัย
ช.
ปัจจัยที่เป็น
รูปชีวิตินทริยชาติ
มี ๓ ปัจจัย คือ
๑.
รูปชีวิตินทริยปัจจัย
๒.
อินทริยัตถิปัจจัย
๓.
อินทริยอวิคตปัจจัย
ซ.
ปัจจัยที่เป็น
ปกตูปนิสสยชาติ
มี ๒ ปัจจัย คือ
๑.
สุทธปกตูนิสสยปัจจัย
คือ จิต เจตสิกที่เกิดก่อน
และรูป บัญญัติที่มีกำลัง
มากที่อุปการะแก่ จิต เจตสิก
ที่เกิดทีหลังได้
๒.
มิสสกปกตูปนิสสยนานักขณิกกัมมปัจจัย
คือ เจตนากรรมที่มีกำลังมาก (เว้นมัคคกรรมเจตนา)
ที่อุปการะแก่วิบากนามขันธ์ได้
ฌ.
ปัจจัยที่เป็น
นานักขณิกกัมมชาติ
มี ๑ ปัจจัย คือ
นานักขณิกกัมมปัจจัย
คือ เจตนากรรมที่มีกำลังน้อย
อุปการะแก่กามวิบาก
และเจตนากรรมที่มีกำลังมากและกำลังน้อย
อุปการะแก่กัมมชรูป
กล่าวโดยกาล
ก.
ปัจจัยที่เป็น
ปัจจุบันกาล มี
๑๗ หรือ ๓๖ ปัจจัย คือ
๑.
เหตุปัจจัย
๒.
สหชาตาธิปติปัจจัย
๓.
สหชาตปัจจัย
๔.
อัญญมัญญปัจจัย
๕.
นิสสยปัจจัย
๓ ปัจจัย
๖.
ปุเรชาตปัจจัย
๒ ปัจจัย
๗.
ปัจฉาชาตปัจจัย
๘.
สหชาตกัมมปัจจัย
๙.
วิปากปัจจัย
๑๐.
อาหารปัจจัย
๒ ปัจจัย
๑๑.
อินทริยปัจจัย
๓ ปัจจัย
๑๒.
ฌานปัจจัย
๑๓.
มัคคปัจจัย
๑๔.
สัมปยุตตปัจจัย
๑๕.
วิปปยุตตปัจจัย
๔ ปัจจัย
๑๖.
อัตถิปัจจัย
๖ ปัจจัย
๑๗.
อวิคตปัจจัย
๖ ปัจจัย
ข.
ปัจจัยที่เป็น
อดีตกาล
มี ๗ ปัจจัย คือ
๑.
อนันตรปัจจัย
๒.
สมนันตรปัจจัย
๓.
อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๔.
อาเสวนปัจจัย
๕.
นานักขณิกกัมมปัจจัย
๖.
นัตถิปัจจัย
๗.
วิคตปัจจัย
ค.
ปัจจัยที่เป็น
ปัจจุบัน
อดีต อนาคต
(ติกาลิกะ)
มี
๒ ปัจจัย คือ
๑.
อารัมมณาธิปติปัจจัย
๒.
อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
ง.
ปัจจัยที่เป็น
ติกาลิกะ
และกาลวิมุตติ มี
๒ ปัจจัย คือ
๑.
อารัมมณปัจจัย
๒.
ปกตูปนิสสยปัจจัย
กล่าวโดยสัตติ
ก.
ปัจจัยที่มี
ชนกสัตติ
อย่างเดียวมี
๘ ปัจจัย คือ
๑.
อนันตรปัจจัย
๒.
สมนันตรปัจจัย
๓.
อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๔.
ปกตูปนิสสยปัจจัย
๕.
นานักขณิกกัมมปัจจัย
๖.
อาเสวนปัจจัย
๗.
นัตถิปัจจัย
๘.
วิคตปัจจัย
ข.
ปัจจัยที่มี
อุปถัมภกสัตติ
อย่างเดียว มี ๔ ปัจจัย คือ
๑.
ปัจฉาชาตปัจจัย
๒.
ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
๓.
ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย
๔.
ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย
ค.
ปัจจัยที่มี
ทั้ง
๒ อย่าง
คือมีชนกสัตติด้วย
และอุปถัมภกสัตติด้วยนั้น มี
๓๕ ปัจจัย คือ
ปัจจัยที่เหลือจากข้อ ก.
และข้อ
ข.
ทั้งหมด
กล่าวโดยจำนวนวาระ
ก.
ปัจจัยที่มีปัญหาวาระเพียง
บทเดียว
คืออพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
นั้นมี ๘ ปัจจัย ได้แก่
๑.
วิปากปัจจัย
๒.
รูปอาหารปัจจัย
๓.
ปุเรชาตินทริยปัจจัย
๔.
รูปชีวิตินทริยปัจจัย
๕.
อาหารัตถิปัจจัย
๖.
อาหารอวิคตปัจจัย
๗.
อินทริยัตถิปัจจัย
๘.
อินทริยอวิคตปัจจัย
ข.
ปัจจัยที่มีปัญหาวาระ
๒
บท
คือกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะบทหนึ่ง
และ อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะบทหนึ่งนั้น
มีปัจจัยเดียวได้แก่ นานักขณิกกัมมปัจจัย
ค.
ปัจจัยที่มี
๓
บท
นั้น มี ๑๘ ปัจจัย
(๑)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล
๑,
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล
๑ และอพยากตะ เป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
๑ อย่างนี้
มี
๓ ปัจจัย ได้แก่
๑.
อัญญมัญญปัจจัย
๒.
อาเสวนปัจจัย
๓.
สัมปยุตตปัจจัย
(๒)
กุสลเป็นปัจจัยแก่พยากตะ
๑,
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
๑ และ อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
๑ อย่างนี้
มี ๕ ปัจจัย ได้แก่
๑.
ปัจฉาชาตปัจจัย
๒.
สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๓.
ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
๔.
ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย
๕.
ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย
(๓)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
๑,
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล
๑ และ อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล
๑
อย่างนี้ มี
๑๐ ปัจจัย ได้แก่
๑.
วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๒.
วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๓.
วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๔.
อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๕.
วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๖.
วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗.
อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘.
อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
๙.
วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
๑๐.
วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย
ง.
ปัจจัยที่มีปัญหาวาระ
๗
บท
มี ๑๔ ปัจจัย
(๑)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล
๑,แก่อพยากตะ
๑,แก่กุสลด้วยอพยากตะด้วย
๑,
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล
๑,
แก่อพยากตะ
๑,
แก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย
๑ อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
๑ อย่างนี้
มี ๗ ปัจจัย ได้แก่
๑.
เหตุปัจจัย
๒.
สหชาตาธิปติปัจจัย
๓.
สหชาตกัมมปัจจัย
๔.
นามอาหารปัจจัย
๕.
สหชาตินทริยปัจจัย
๖.
ฌานปัจจัย
๗.
มัคคปัจจัย
(๒)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล
๑,
แก่อพยากตะ
๑ อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล ๑
แก่อพยากตะ ๑
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่
อพยากตะ ๑,
แก่กุสล
๑,แก่อกุสล
๑ อย่างนี้
มี ๕ ปัจจัย ได้แก่
๑.
อนันตรปัจจัย
๒.
สมนันตรปัจจัย
๓.
อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๔.
นัตถิปัจจัย
๕.
วิคตปัจจัย
(๓)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล
๑,
แก่อพยากตะ
๑,
แก่อกุสล
๑ อกุสลเป็น ปัจจัยแก่อกุสล ๑
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
๑,
แก่กุสล
๑,
แก่อกุสล
๑ อย่างนี้
มี ๒ ปัจจัยได้แก่
๑.
อารัมมณาธิปติปัจจัย
๒.
อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
จ.
ปัจจัยที่มีปัญหาวาระ
๙
บท
มี ๖ ปัจจัย คือ
(๑)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล
๑,
แก่อกุสล
๑,
แก่อพยากตะ
๑,
อกุสลเป็น
ปัจจัยแก่อกุสล ๑,
แก่กุสล
๑,
แก่อพยากตะ
๑,
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่
อพยากตะ ๑,
แก่กุสล
๑,
แก่อกุสล
๑,
อย่างนี้
มี
๒ ปัจจัย ได้แก่
๑.
อารัมมณปัจจัย
๒.
ปกตูปนิสสยปัจจัย
(๒)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล
๑,
แก่อพยากตะ
๑,
แก่กุสลด้วยอพยากตะด้วย
๑,
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล
๑,
แก่อพยากตะ
๑,
แก่อกุสลด้วยอพยากตะด้วย
๑,
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
๑,
กุสลและอพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
๑,
อกุสลและอพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
๑,
อย่างนี้
มี ๔ ปัจจัย ได้แก่
๑.
สหชาตปัจจัย
๒.
สหชาตนิสสยปัจจัย
๓.
สหชาตัตถิปัจจัย
๔.
สหชาตอวิคตปัจจัย
กล่าวโดยภูมิ
ก.
ปัจจัยที่เป็นไปได้ใน
ปัญจโวการภูมินั้นเป็นได้หมดทั้ง
๒๔ ปัจจัย หรือ ๔๗ ปัจจัย
ข.
ปัจจัยที่เป็นไปได้ใน
จตุโวการภูมิ
นั้นเป็นได้เพียง
๒๑ ปัจจัย หรือ ๒๕ ปัจจัย คือ
๑.
เหตุปัจจัย
๒.
อารัมมณปัจจัย
๓.
อธิปติปัจจัย
๒ ปัจจัย
๔.
อนันตรปัจจัย
๕.
สมนันตรปัจจัย
๖.
สหชาตปัจจัย
๗.
อัญญมัญญปัจจัย
๘.
สหชาตนิสสยปัจจัย
๙.
อุปนิสสยปัจจัย
๓ ปัจจัย
๑๐.
อาเสวนปัจจัย
๑๑.
กัมมปัจจัย
๒ ปัจจัย
๑๒.
วิปากปัจจัย
๑๓.
นามอาหารปัจจัย
๑๔.
สหชาตินทริยปัจจัย
๑๕.
ฌานปัจจัย
๑๖.
มัคคปัจจัย
๑๗.
สัมปยุตตปัจจัย
๑๘.
สหชาตัตถิปัจจัย
๑๙.
นัตถิปัจจัย
๒๐.
วิคตปัจจัย
๒๑.
สหชาตอวิคตปัจจัย
ค.
ปัจจัยที่เป็นไปได้ใน
เอกโวการภูมิ
นั้น เป็นได้เพียง ๗ ปัจจัย
คือ
๑.
สหชาตปัจจัย
๒.
อัญญมัญญปัจจัย
๓.
สหชาตนิสสยปัจจัย
๔.
นานักขณิกกัมมปัจจัย
๕.
รูปชีวิตินทริยปัจจัย
๖.
อินทริยัตถิปัจจัย
๗.
อินทริยอวิคตปัจจัย
กล่าวโดยภายในภายนอก
ปัจจัยที่เกิดได้เฉพาะภายนอก
คือใน
สิ่งที่ไม่มีชีวิต
นั้น มี ๕ ปัจจัยเท่านั้น คือ
๑.
สหชาตปัจจัย
๒.
อัญญมัญญปัจจัย
๓.
สหชาตนิสสยปัจจัย
๔.
สหชาตัตถิปัจจัย
๕.
สหชาตอวิคตปัจจัย
ส่วนในภายใน
คือใน สิ่งที่มีชีวิต
ปัจจัยทั้งหมดสามารถจะเกิดได้
ไม่มียกเว้น
กล่าวโดยสัพพัฏฐานิกปัจจัย
สัพพัฏฐานิกปัจจัย
คือ
ปัจจัยที่เป็นเหตุเป็นที่ตั้งแห่งสังขตธรรม
อันได้แก่ รูปนามทั้งหมด
หมายความว่าในสังขารโลก
บรรดาสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งหลาย
ต้องเข้าอยู่ในสัพพัฏฐานิกปัจจัยทั้งนั้น
ที่จะพ้นจากสัพพัฏฐานิกปัจจัยไปนั้นไม่มีเลย
สัพพัฏฐานิกปัจจัย ได้แก่
ปัจจัย ๔ ปัจจัย คือ
๑.
สหชาตปัจจัย
๒.
นิสสยปัจจัย
๓.
อัตถิปัจจัย
๔.
อวิคตปัจจัย
ส่วนปัจจัยที่เหลืออีก
๒๐ ปัจจัย ชื่อว่า อสัพพัฏฐานิกปัจจัย
มีความหมาย
ว่าเป็นปัจจัยที่เป็นเหตุ
เป็นที่ตั้งแห่งสังขตธรรมไม่ทั่วทั้งหมด
เป็นปัจจัยได้เฉพาะ
แต่สังขตธรรมที่เกี่ยวข้องกับตนเท่านั้น
กล่าวโดยความเป็นคู่
ปัจจัยทั้ง
๒๔
เมื่อกล่าวโดยความเป็นคู่แล้ว
ก็ได้ ๕ ประเภท คือ
๑.
อตฺถยุค
เป็นคู่กันโดยมีเนื้อความเหมือนกัน
ได้แก่ อนันตรปัจจัย กับ
สมนันตรปัจจัย
๒.
สทฺทยุค
เป็นคู่กันโดยมีสำเนียงเหมือนกัน
ได้แก่ นิสสยปัจจัย กับ
อุปนิสสยปัจจัย
๓.
กาลปฏิปกฺขยุค
เป็นคู่กันโดยกาลที่ตรงกันข้าม
ได้แก่ ปุเรชาตปัจจัย กับ
ปัจฉาชาตปัจจัย
๔.
อญฺโญญฺญปฏิปกฺขยุค
เป็นคู่กันโดยลักษณะอาการที่แตกต่างกัน
มีอยู่ ๓ คู่ คือ
สัมปยุตตปัจจัยกับวิปปยุตตปัจจัย
อัตถิปัจจัยกับนัตถิปัจจัย
และ วิคตปัจจัย
กับอวิคตปัจจัย
๕.
เหตุปฺปผลยุค
เป็นคู่กันโดยความเป็นเหตุเป็นผล
ได้แก่ นานักขณิกกัมม ปัจจัย
กับ วิปากปัจจัย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ