ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74
75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
ปฏิจจสมุปปาท
มี ๗ นัย
ปฏิจจสมุปปาทธรรมนี้
กล่าวโดย อุทเทสมาติกา
คือ หัวข้อที่เป็นแม่บทนั้น
มี ๗ บท หรือ ๗ นัย ดังนี้
ก็นัย
๒ นัย คือ ปฏิจจสมุปปาทนัย และ
ปัฏฐานนัย นั้น
นัยแรกมีเครื่อง
หมายที่พึงรู้โดยอาการ ๗
อย่าง คือ อัทธา ๓,
องค์
๑๒,
อาการ
๒๐,
สนธิ
๓,
สังเขป
๔,
วัฏฏะ
๓ และ มูล ๒
หมายความว่า
ปฏิจจสมุปปาทธรรม
นี้ยังจำแนกออกได้อีกเป็น ๗
นัย ได้แก่
๑.
ตโย
อทฺธา
กาล ๓
๒.
ทฺวาทสงฺคานิ
องค์
๑๒
๓.
วีสตาการา
อาการ ๒๐
๔.
ติสนฺธิ
เงื่อน ๓
๕.
จตุสงฺเขปา
สังเขป ๔
๖.
ตีณิ
วฏฺฏานิ วัฏฏะ
๓
๗.
เทฺวมูลานิ
มูล ๒
มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
๑.
ตโย
อทฺธา คือ
กาล ๓ นั้นแสดงว่า อวิชชา
และสังขารรวม ๒ องค์ จัดเป็น
อดีตอัทธา ชาติ และ ชรามรณะ
รวม ๒ องค์เป็น อนาคตอัทธา
ส่วนใน ท่ามกลาง รวม ๘
องค์ที่เหลือนั้นเป็นปัจจุบันอัทธา
๒.
ทฺวาทสงฺคานิ
คือ
องค์ ๑๒ นั้นได้แก่ อวิชชา
สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
ชาติ และชรามรณะ
ส่วน
โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ
และ อุปายาสะ
นั้นไม่นับว่าเป็นองค์ ของปฏิจจสมุปปาทด้วย
เพราะธรรม ๕
ประการนี้เป็นผลของชาติ
กล่าวคือ เมื่อมี
การเกิดเป็นชาติขึ้นมาแล้ว
ย่อมมีทุกข์มีโศกเป็นประจำ
ซึ่งเป็นแต่เพียงผลของชาติ
ไม่ใช่เหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดวัฏฏะ
จึงไม่นับเป็นองค์ด้วย
๓.
วีสตาการา
คือ อาการ ๒๐ นั้นได้แก่
ก.
ธรรมที่เป็นเหตุในอดีต
๕ ประการ คือ ๑.อวิชชา,
๒.สังขาร,
๓.ตัณหา,
๔.
อุปาทาน,
๕.ภพ
ข.
ธรรมที่เป็นผลในปัจจุบัน
๕ ประการ คือ ๑.วิญญาณ,
๒.นามรูป,
๓.
สฬายตนะ,
๔.ผัสสะ,
๕.เวทนา
ค.
ธรรมที่เป็นเหตุในปัจจุบัน
๕ ประการคือ ๑.ตัณหา,
๒.อุปาทาน,
๓.ภพ,
๔.อวิชชา,
๕.สังขาร
ง.
ธรรมที่เป็นผลในอนาคต
๕ ประการ คือ ๑.วิญญาณ,
๒.นามรูป,
๓.
สฬายตนะ,
๔.
ผัสสะ,
๕.เวทนา
๔.
ติสนฺธิ
คือ เงื่อน ๓ นั้นได้แก่
สังขารต่อกับวิญญาณเงื่อนหนึ่ง
เวทนา
ต่อกับตัณหาเงื่อนหนึ่ง
และภพต่อกับชาติอีกเงื่อนหนึ่ง
๕.
จตุสงฺเขปา
คือ สังเขป ๔ ได้แก่
ก.
อวิชชา
สังขาร รวม ๒
องค์เป็นสังเขปหนึ่ง
ข.
วิญญาณ
นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
รวม ๕ องค์เป็นสังเขปหนึ่ง
ค.
ตัณหา
อุปาทาน ภพ รวม ๓
องค์เป็นสังเขปหนึ่ง
ง.
ชาติ
ชรามรณะ รวม ๒
องค์เป็นอีกสังเขปหนึ่ง
๖.
ตีณิ
วฏฺฏานิ คือ
วัฏฏะ ๓ นั้นได้แก่
ก.
อวิชชา
ตัณหา อุปาทาน รวม ๓
องค์เป็นกิเลสวัฏฏ
ข.
สังขาร
ภพ (เฉพาะกัมมภพ)
รวม
๒ องค์ เป็นกัมมวัฏฏ
ค.
วิญญาณ
นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ภพ (เฉพาะอุปปัตติภพ)
ชาติ
ชรา มรณะ เหล่านี้เป็นวิปากวัฏฏ
๗.
เทฺวมูลานิ
คือ มูล ๒ นั้นได้แก่ อวิชชา
และตัณหา มีคำอธิบายต่อไปนี้
คือ
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ