ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 ค้นหาหัวข้อธรรม
๑๕.
อาหารปัจจัย
อาหารปัจจัยนี้
จำแนกออกได้เป็น ๒ คือ
ก.
อาหารประเภท
ข้าว น้ำ นม ขนม เนย เป็นต้น
ที่เรียกว่า กพฬีการาหาร คือ
รูปอาหารนั้น
เป็นปัจจัยช่วยอุปการะรูปกายให้เจริญเติบโตและตั้งอยู่ได้นั้น
มีชื่อว่า รูปอาหารปัจจัย
ข.
ผัสสาหาร
มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหาร
คือ นามอาหาร ๓ นั้น
เป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้
เวทนาเจตสิก ปฏิสนธิวิญญาณ
และเจตสิกกับกัมมชรูป (ตามลำดับ)
ให้เกิดขึ้น
และตั้งอยู่ได้นั้น
มีชื่อว่า นามอาหารปัจจัย
รูปอาหารปัจจัย
๑.
รูปอาหาร
หมายความว่า อาหารที่เป็นรูปธรรม
คือ กพฬีการาหาร
๒.
ประเภท
รูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นอาหารชาติ หมายความว่า
ปัจจัยธรรมนั้นได้แก่
อาหารนั่นเอง
๔.
กาล
เป็นกาลปัจจุบัน
๕.
สัตติ
มีทั้ง ชนกสัตติ
และอุปถัมภกสัตติ
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ พหิทธโอชาที่อยู่ในอาหารต่าง
ๆ
อีกนัยหนึ่งแสดงว่า
ได้แก่ กัมมชโอชา จิตตชโอชา
อุตุชโอชา อาหารชโอชา
ที่อยู่ภายใน(อัชฌัตตสันตานะ)
และอุตุชโอชาที่อยู่ภายนอก
(พหิทธสันตานะ)
คือ
โอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่อาหารสมุฏฐานิกรูป
คือรูปที่เกิดจากอาหาร
อีกนัยหนึ่งแสดงว่า
ได้แก่ จตุสมุฏฐานิกรูปที่ตั้งอยู่ในกลาปอันเดียวกันกับ
ปัจจัยธรรม
และที่ตั้งอยู่ในกลาปอื่น ๆ (เว้นโอชาที่อยู่ในกลาปอันเดียวกัน)
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ จิต ๘๙,
เจตสิก
๕๒,
จิตตชรูป,
ปฏิสนธิ
กัมมชรูป,
พาหิรรูป,
อุตุชรูป,
อสัญญสัตตกัมมชรูป,
ปวัตติกัมมชรูป
อีกนัยหนึ่งแสดงว่า
ได้แก่ จิต ๘๙,
เจตสิก
๕๒ และพาหิรรูป
๗.
ความหมายโดยย่อ
รูปอาหารปัจจัย มีวาระเดียว
คือ อพยากตะเป็น ปัจจัยแก่อพยากตะ
กพฬีการาหาร
บ้างก็เรียก กวฬิงการาหาร คือ
โอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ
หรืออีกนัยหนึ่ง ได้แก่
โอชาที่อยู่ทั้งภายในและภายนอกเป็นรูปอาหารปัจจัย
จตุสมุฏ ฐานิกรูป คือ
รูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔
ที่ตั้งอยู่ในกลาปอันเดียวกันกับปัจจัย
ธรรม และตั้งอยู่ในกลาปอื่น ๆ
เป็นรูปอาหารปัจจยุบบันน
ขยายความว่า
โอชาที่เป็นปัจจัยธรรมนั้น
เมื่อช่วยอุปการะแก่อาหารชรูป
คือ อาหารชโอชานั้น
เป็นไปโดยอำนาจชนกสัตติ
แต่ถ้าเป็นการช่วยอุปการะแก่
ติชรูป ที่เหลือนอกนั้น คือ
กัมมชโอชา จิตตชโอชา และอุตุชโอชาแล้ว
เป็นไปโดยอำนาจ
อุปถัมภกสัตติ
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๓ ปัจจัย คือ
๑.
รูปอาหารปัจจัย
๒.
อาหารัตถิปัจจัย
๓.
อาหารอวิคตปัจจัย
นามอาหารปัจจัย
๑.
นามอาหาร
หมายความถึง ผัสสาหาร คือ
ผัสสเจตสิก,
มโนสัญเจตนา
หาร คือ เจตนาเจตสิก และ วิญญาณาหาร
คือ จิตทั้งหมด
๒.
ประเภท
นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน
๓.
ชาติ
เป็นสหชาตชาติ หมายความว่า
ปัจจัยธรรมกับปัจจยุบบันนธรรมนั้น
เกิดพร้อมกัน
๔.
กาล
เป็นปัจจุบัน
๕.
สัตติ
มีทั้งชนกสัตติ
และอุปถัมภกสัตติ
๖.
องค์ธรรมของปัจจัย
ได้แก่ นามอาหาร องค์ธรรม ๓
คือ ผัสสะ เจตนา และวิญญาณ
องค์ธรรมของปัจจยุบบันน
ได้แก่ จิต ๘๙,
เจตสิก
๕๒,
จิตตชรูป,
ปฏิสนธิ
กัมมชรูป
ที่เกิดพร้อมกับปัจจัยธรรม
องค์ธรรมของปัจจนิก
ได้แก่ พาหิรรูป,
อาหารชรูป,
อุตุชรูป,
อสัญญสัตต
กัมมชรูป,
ปวัตติกัมมชรูป
๗.
ความหมายโดยย่อ
นามอาหารปัจจัยนี้ มี ๗ วาระ
(๑)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล
กุสลนามอาหาร ๓ คือ ผัสสะ
เจตนา วิญญาณ ที่ในกุสลจิต ๒๑
เป็นนามอาหารปัจจัย กุสลสัมปยุตตขันธ์
อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑
เป็นนามอาหารปัจจยุบบันน
(๒)
กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
กุสลนามอาหาร ๓ ในกุสลจิต ๒๑
ใน ปัญจโวการภูมิ
เป็นนามอาหารปัจจัย กุสลจิตตชรูป
เป็นนามอาหารปัจจยุบบันน
(๓)
กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย
กุสลนามอาหาร ๓ ใน กุสลจิต ๒๑
ในปัญจโวการภูมิ
เป็นนามอาหารปัจจัย กุสลจิต
๒๑ ด้วย กุสล จิตตชรูปด้วย
เป็นนามอาหารปัจจยุบบันน
(๔)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล
อกุสลนามอาหาร ๓ คือ ผัสสะ
เจตนา วิญญาณ ที่ในอกุสลจิต
๑๒ เป็นนามอาหารปัจจัย อกุสลสัมปยุตตขันธ์
อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒
เป็นนามอาหารปัจจยุบบันน
(๕)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
อกุสลนามอาหาร ๓ ในอกุสลจิต
๑๒ ในปัญจโวการภูมิ
เป็นนามอาหารปัจจัย อกุสลจิตตชรูปเป็นนามอาหารปัจจยุบบันน
(๖)
อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย
อกุสลนามอาหาร ๓ ในอกุสลจิต
๑๒ ในปัญจโวการภูมิ
เป็นนามอาหารปัจจัย อกุสลจิต
๑๒ ด้วย อกุสลจิตตชรูปด้วย
เป็นนามอาหารปัจจยุบบันน
(๗)
อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ
อพยากตะนามอาหาร ๓ คือ ผัสสะ
เจตนา วิญญาณ ที่ในวิบากจิต
๓๖ ทั้งในปวัตติกาลและในปฏิสนธิกาล,
ที่ในกิริยา
จิต ๒๐ ในปวัตติกาลอย่างเดียวเป็นนามอาหารปัจจัย
วิบากจิต ๓๖,
กิริยาจิต
๒๐,
วิบากจิตตชรูป,
กิริยาจิตตชรูป,
ปฏิสนธิกัมมชรูป
เป็นนามอาหารปัจจยุบบันน
๘.
ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้
รวม ๑๒ ปัจจัย คือ
๑.
นามอาหารปัจจัย
๒.
สหชาตาธิปติปัจจัย
๓.
สหชาตปัจจัย
๔.
อัญญมัญญปัจจัย
๕.
สหชาตนิสสยปัจจัย
๖.
สหชาตกัมมปัจจัย
๗.
วิปากปัจจัย
๘.
สหชาตินทริยปัจจัย
๙.
สัมปยุตตปัจจัย
๑๐.
สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๑๑.
สหชาตัตถิปัจจัย
๑๒.
สหชาตอวิคตปัจจัย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ