ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114 115 116 117
118 119 120 121 122
123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม
กัมมัฏฐานมี
๒ ประการ
ภาเวตพฺพา
ปุนปฺปุนํ วฑฺเฒตพฺพาติ ภาวนา
ธรรมชาติใดอันบุคคลพึงอบรมให้เจริญ
ธรรมชาตินั้นชื่อว่า ภาวนา
กิเลเส
สเมตีติ สมโถ
อันว่า
เอกัคคตาเจตสิก สมาธิใด
ยังกิเลสทั้งหลายให้สงบ
เพราะเหตุดังนั้น
อันว่าเอกัคคตาเจตสิก สมาธินั้น
ชื่อว่า สมถะ
ขนฺธาทิสงฺขตธมฺเม
อนิจฺจาทิวิวิธากาเรน ปสฺสตีติ
วิปสฺสนา
อันว่า ปัญญา
รู้ด้วยประการใด
ย่อมเห็นสังขตธรรม
มีขันธ์เป็นต้น ด้วยอาการต่าง ๆ
มีความไม่เที่ยงเป็นต้น อันว่า
ปัญญานั้น ชื่อว่า วิปัสสนา
มีคาถาสังคหะ
อันเป็นคาถาที่ ๑
แห่งปริจเฉทนี้แสดงว่า
๑.
สมถวิปสฺสนานํ
ภาวนานมิโต ปรํ กมฺมฏฺฐานํ
ปวกฺขามิ ทุวิธมฺปิ ยถากฺกมํ ฯ
เบื้องหน้าแต่
ปัจจยนิเทสนี้ จักแสดงกัมมัฏฐาน
แม้ทั้ง ๒ อย่างแห่งภาวนา คือ สมถะ
และ
วิปัสสนา
ต่อไปตามลำดับ
มีความหมายว่า
เมื่อพระอนุรุทธาจารย์ได้แสดง
ปัจจยสังคหวิภาคอันเป็นปริจเฉทที่
๘ จบไปแล้ว ต่อไปข้างหน้านี้
จักได้แสดง ภาวนา ๒ ประการ คือ
สมถกัมมัฏฐาน และ
วิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามลำดับ
สมถกัมมัฏฐาน
๒.
เยนเยนุปเกฺลสาปิ
สมนฺติ วูปสมนฺติ หิ โส โส
วูปสโมปาโย สมโถติ ปวุจฺจติ ฯ
แม้อุปกิเลสทั้งหลาย
ย่อมสงบระงับด้วยอุบายใด ๆ
อุบายอันเป็นเครื่องสงบระงับนั้น
ๆ ท่านเรียกว่า สมถะ
มีความหมายว่า
ถ้ามีอุบายหรือวิธีการใด ๆ
ที่ทำให้อุปกิเลส
อันเป็นเครื่องเศร้าหมองและเร่าร้อน
ซึ่งมีแต่จะให้โทษนั้น
สงบระงับลงไปได้
อุบายหรือวิธีการอย่างนั้น ๆ
แหละเรียกว่า สมถะ
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็ว่า
สมถะ คือ
การทำให้จิตสงบระงับจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองเร่าร้อนทั้งหลาย
จนจิตใจไม่มีอาการดิ้นรน
ไม่กระสับกระส่ายตลอดเวลาที่กิเลสเหล่านั้นสงบระงับอยู่
อุบายหรือวิธีการนั้นก็ได้แก่
การเจริญกัมมัฏฐาน
การเพ่งกัมมัฏฐาน คือ
หน่วงเอากัมมัฏฐานมาเป็นอารมณ์สำหรับเพ่ง
ซึ่งสมถกัมมัฏฐานนั้น
มีจำนวนถึง ๔๐ จัดได้เป็น ๗ หมวด
ดังคาถาที่ ๓ ที่ ๔ แสดงว่า
๓.
กสิณาสุภานุสฺสติ
ทสธา ทสธา ฐิตา จตสฺโส
อปฺปมญฺญาโย สญฺเญกาหาร นิสฺสิตา
ฯ
กสิณ
อสุภะ อนุสสติ
ตั้งอยู่แล้วโดยประเภทอย่างละ
๑๐ อย่างละ ๑๐,
อัปปมัญญา
๔,
สัญญาที่อาศัยอาหารเป็นอารมณ์
๑
๔.
เอกญฺจ
ววตฺถานมฺปิ อรูปา จตุโร อิติ
สตฺตธา สมถกมฺมฏฺ ฐา นสฺส ตาว
สงฺคโห ฯ
แม้การเพ่งธาตุ
๑,
อรูป
๔ นั้น (ก็นับ)ด้วย
รวมสมถกัมมัฏฐานเป็น ๗ หมวด (จำนวน
๔๐)
ดังกล่าวมาฉะนี้
มีความหมายว่า
ในการเจริญสมถภาวนานั้น
มีอารมณ์สำหรับเพ่ง ที่เรียกว่า
สมถกัมมัฏฐาน รวม ๗ หมวด
เป็นกัมมัฏฐาน ๔๐ คือ
หมวดที่
๑ กสิณ
๑๐
กัมมัฏฐานว่าด้วย
ทั้งปวง
หมวดที่
๒ อสุภะ
๑๐
กัมมัฏฐานว่าด้วย
ไม่งาม
หมวดที่
๓ อนุสสติ
๑๐
กัมมัฏฐานว่าด้วย
ตามระลึก
หมวดที่
๔ อัปปมัญญา
๔ กัมมัฏฐานว่าด้วย
แผ่ไปไม่มีประมาณ
หมวดที่
๕ อาหาเรปฏิกูลสัญญา
๑
กัมมัฏฐานว่าด้วย
หมายรู้ความปฏิกูลในอาหาร
หมวดที่
๖ จตุธาตุววัตถานะ
๑ กัมมัฏฐานว่าด้วย
กำหนดธาตุทั้ง
๔
หมวดที่
๗ อรูป
๔
กัมมัฏฐานว่าด้วย
อรูปกัมมัฏฐาน
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ