ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
ค้นหาหัวข้อธรรม
อัชฌาสัย
นอกจากจริต
๖ ที่กล่าวแล้ว ยังมีคำว่า
อัชฌาสัย อีกคำหนึ่ง
ซึ่งมีความคล้ายคลึงกัน คือ จริต
หรือ
จริยะ
เป็นความประพฤติที่เคยชินจนเป็นนิสัย
ซึ่งมีทั้งดีและชั่ว,
ส่วนอัชฌาสัย
เป็นความประสงค์ เป็นความนิยม
เป็นความมุ่งหมาย
ที่จะให้เป็นไปเช่นนั้น
อันหมายความว่าเป็นนิสัย
หรือความมุ่งหมายในทางที่ดีงาม
ซึ่งเกิดมาจากจิตใจโดยตรง
ไม่เกี่ยวไปในทางไม่ดีไม่งามหรือในทางชั่วเลย
อัชฌาสัย ก็มี ๖ เหมือนกัน ได้แก่
๑.
อโลภชฺฌาสโย
มีความไม่โลภเป็นนิสัย
มีความพอใจในการจำแนกแจกจ่ายทาน
๒.
อโทสชฺฌาสโย
มีความไม่โกรธ
ไม่ประทุษร้ายเป็นนิสัย
มีความพอใจแผ่เมตตาแก่สัตว์ทั้งปวง
๓.
อโมหชฺฌาสโย
มีความไม่หลง
ไม่มัวเมาเป็นนิสัย
มีความพอใจพินิจถึงคุณ โทษ กุสล
อกุสล และพอใจเจริญอัปปมาทธรรม
๔.
เนกฺขมฺมชฺฌาสโย
มีนิสัยไม่ติดในกาม
ไม่ติดในความพยาบาท
ไม่ติดในความเบียดเบียน
มีความพอใจออกบวช
๕.
ปวิเวกชฺฌาสโย
มีนิสัยชอบสงบ
มีความพอใจออกจากหมู่คณะ
แล้วและอยู่ในที่สงัด
๖.
นิสฺสรณชฺฌาสโย
มีความยินดียิ่งในพระนิพพาน
อันเป็นธรรมที่หลุดพ้นจากทุกข์เลยมีความพอใจที่จะให้พ้นจากภพทั้ง
๓
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ