ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114 115 116 117
118 119 120 121 122
123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม
อวสานคาถา
ปริจเฉทที่ ๙
๔๐.
อิจฺจานุรุทฺธรจิเต
อภิธมฺมตฺถสงฺคเห นวโม ปริจฺเฉโท
สมาเสเนว นิฏฺฐิโต ฯ
นี่ปริจเฉทที่
๙ (ชื่อ
กัมมัฏฐานสังคหวิภาค)
ในปกรณ์อันรวบรวมซึ่งอรรถแห่งพระอภิธรรม
ที่พระอนุรุทธาจารย์
รจนาไว้นั้นจบแล้วโดยย่อแต่เพียงเท่านี้
จบปริจเฉท ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
บุษกร เมธางกูร |
|
สมถกัมมัฏฐาน
มี ๔๐ ดังนี้ (๑)
กสิณ
๑๐
(เจริญได้ตั้งแต่ปฐมฌานถึงปัญจมฌาน) ๑.
ปฐวีกสิณ
คือ เพ่งดิน ๒.
อาโปกสิณ
คือ เพ่งน้ำ
กสิณทั้ง
๔ นี้ เนื่องด้วยมหาภูตรูป ๓.
เตโชกสิณ
คือ เพ่งไฟ
ทั้ง
๔ จึงรวมเรียกว่า ภูตกสิณ ๔.
วาโยกสิณ
คือ เพ่งลม ๕.
นีลกสิณ
คือ เพ่งสีเขียว ๖.
ปีตกสิณ
คือ เพ่งสีเหลือง
กสิณทั้ง
๔ นี้เนื่องมาจากสี จึงรวม ๗.
โลหิตกสิณ
คือ เพ่งสีแดง
เรียกว่า
วัณณกสิณ ๘.
โอทาตกสิณ
คือ เพ่งสีขาว ๙.
อากาสกสิณ
คือ เพ่งที่ว่างเปล่า ๑๐.
อาโลกกสิณ
คือ เพ่งแสงสว่าง (๒)
อสุภะ
๑๐
(เจริญได้ถึงปฐมฌานเท่านั้น) ๑.
อุทธุมาตกอสุภะ
ศพที่น่าเกลียด
โดยมีอาการขึ้นพอง ๒.
วินีลกอสุภะ
ศพที่น่าเกลียด
เน่า
ขึ้นเขียว ๓.
วิปุพพกอสุภะ
ศพที่น่าเกลียด
มีน้ำเหลือง
น้ำหนองไหลออกมา ๔.
วิฉิททกอสุภะ
ศพที่น่าเกลียด
โดยถูกตัดขาดเป็นท่อน
ๆ ๕.
วิกขายิตกอสุภะ
ศพที่น่าเกลียด
ถูกสัตว์แทะกัดกิน
เหวอะหวะ ๖.
วิกขิตตกอสุภะ
ศพที่น่าเกลียด
มือ
เท้าศีรษะอยู่คนละทางสองทาง ๗.
หตวิกขิตตกอสุภะ
ศพที่น่าเกลียด
โดยถูกสับฟันยับเยิน ๘.
โลหิตกอสุภะ
ศพที่น่าเกลียด
มีโลหิตไหลอาบ ๙.
ปุฬุวกอสุภะ
ศพที่น่าเกลียด
มีหนอนไชทั่วร่างกาย ๑๐.
อัฏฐิกอสุภะ
ศพที่น่าเกลียด
เหลือแต่กระดูกกระจัดกระจายไป (๓)
อนุสสติ
๑๐
(ลำดับ
๑-๘
เจริญไม่ถึงฌาน) ๑.
พุทธานุสสติ ระลึกเนือง
ๆ ถึงคุณของ พระพุทธเจ้า ๒.
ธัมมานุสสติ ระลึกเนือง
ๆ ถึงคุณของ พระธรรม ๓.
สังฆานุสสติ ระลึกเนือง
ๆ ถึงคุณของ พระอริยสงฆ์ ๔.
สีลานุสสติ ระลึกเนือง
ๆ ถึงคุณของ สีล ๕.
จาคานุสสติ ระลึกเนือง
ๆ ถึงคุณของ การบริจาค ๖.
เทวตานุสสติ ระลึกเนือง
ๆ ถึงคุณของ การเป็นเทวดา ๗.
อุปสมานุสสติ ระลึกเนือง
ๆ ถึงคุณของ พระนิพพาน ๘.
มรณานุสสติ ระลึกถึงบ่อย
ๆ ถึงความที่จะต้องตาย ๙.
กายคตาสติ ระลึกเนือง
ๆ ถึง กายโกฏฐาส มี เทสา โลมา
เป็นต้น (ได้ถึงปฐมฌาน) ๑๐.
อานาปาณสติ
ระลึกถึงลมหายใจเข้าลมหายใจออก(เจริญได้ถึงปัญจมฌาน) (๔)
อัปปมัญญา
๔
(พรหมวิหาร
๔ ลำดับ ๑-๓
เจริญได้ถึงจตุตถฌาน ลำดับ ๔
เจริญได้ถึงปัญจมฌาน) ๑.
เมตตา
การแผ่ความรักใคร่
ความปรารถนาดีต่อสัตว์ทั้งหลายให้มีความสุขโดยทั่วกัน
ไม่เลือกชาติ ชั้น วัณณะ ๒.
กรุณา
การแผ่ความสงสารต่อสัตว์ทั้งหลายที่กำลังได้รับความทุกข์อยู่
หรือที่จะได้รับความทุกข์ต่อไปในภายหน้า
โดยไม่เลือกชาติ ชั้น วัณณะ ๓.
มุทิตา
การแผ่ความชื่นชมยินดีต่อสัตว์ทั้งหลาย
ที่กำลังได้รับความสุขอยู่
หรือที่จะได้รับความสุขต่อไปในภายหน้า
โดยไม่เลือกชาติ ชั้น วรรณะ ๔.
อุเบกขา
การวางเฉยต่อสัตว์ทั้งหลาย
ด้วยอาการวางตนเป็นกลาง
ไม่รักใคร่ ไม่สงสาร
ไม่ชื่นชมยินดี ไม่มีอคติ
แต่ประการใด ๆ โดยไม่เลือกชาติ
ชั้น วัณณะ (๕)
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
๑ (เจริญได้ไม่ถึงฌาน) การพิจารณาอาหารที่บริโภคเข้าไปนั้น
ว่าเป็นของที่น่าเกลียด
จนมีความรู้สึกเป็นไปตามที่พิจารณาเห็นนั้น (๖)
จตุธาตุววัตถาน
๑ (เจริญได้ไม่ถึงฌาน) การพิจารณาธาตุทั้ง
๔ มี ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ
วาโยธาตุ ที่ปรากฏอยู่ในร่างกาย
เพื่อให้เห็นว่าร่างกายนี้ก็คือ
ธาตุต่าง ๆ
ที่มาประชุมคุมกันอยู่เท่านั้น
หาใช่ตัวตนเราเขาแต่อย่างใดไม่ (๗)
อรูปกัมมัฏฐาน
๔
(กัมมัฏฐานที่ไม่มีรูป) ๑.
กสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติ
คือ
เพ่งอากาศความว่างเปล่าเวิ้งว้างไม่มีที่สิ้นสุดนั้นเป็นอารมณ์
โดยบริกรรมว่า
อากาโส อนนฺโต
ความว่างไม่มีที่สุด
ซึ่งสามารถให้เกิด
อากาสานัญจายตนฌานจิตได้ ๒.
อากาสานัญจายตนฌาน
คือ เพ่งวิญญาณ
ความรู้ที่รู้ว่าอากาศไม่มีที่สิ้นสุดนั้นเป็นอารมณ์
โดยบริกรรมว่า วิญฺญาณํ
อนนฺตํ วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด
ซึ่งสามารถให้เกิด
วิญญาณัญจายตนฌานจิตได้ ๓.
นัตถิภาวบัญญัติ
คือ
เพ่งความไม่มีอะไรเป็นอารมณ์
โดยบริกรรมว่า นตฺถิ
กิญฺจิ
นิดหนึ่งก็ไม่มี
หน่อยหนึ่งก็ไม่มี
ซึ่งสามารถให้เกิด
อากิญจัญญายตนฌานจิตได้ ๔. อากิญจัญญายตนฌาน คือ เพ่งความรู้ที่รู้ว่านิดหนึ่งก็ไม่มี หน่อยหนึ่งก็ไม่มีนั้นเป็นอารมณ์ ความรู้ขั้นนี้เป็นความรู้ที่ละเอียดอ่อนมากเหลือเกิน จึงบริกรรมว่า เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ สงบหนอ ประณีตหนอ ซึ่งสามารถให้เกิดเนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิตได้ |