ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
ค้นหาหัวข้อธรรม
๒
ธัมมานุสสติ
พระธรรมในที่นี้หมายถึง
มัคค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑
และพระปริยัติธรรม รวมนับเป็น ๑
จึงเป็นธรรม ๑๐ ประการด้วยกัน
คุณของธรรม ๑๐ ประการนี้
เมื่อกล่าวรวบยอด โดยย่อแล้ว
ก็มี ๖ อย่าง คือ
๑.
สวากฺขาโต
เป็นธรรมที่ทรงตรัสไว้ดีแล้ว
สมบูรณ์ทั้งอรรถและพยัญชนะ
ดีพร้อมทั้งเบื้องต้น
ท่ามกลางและในที่สุด
คุณธรรมข้อนี้หมายถึง
พระปริยัติธรรม
๒.
สนฺทิฏฺฐิโก
เป็นธรรมที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
คุณธรรมข้อนี้หมายถึงโลกุตตรธรรมทั้ง
๙
๓.
อกาลิโก
เป็นธรรมที่พึงปฏิบัติได้และให้ผลทันทีในลำดับนั้นเลยทีเดียว
โดยไม่ต้องรอเวลา
หรือมีระหว่างคั่นแต่อย่างใด
คุณธรรมข้อนี้หมายถึง มัคคจิต ๔
๔.
เอหิปสฺสิโก
เป็นธรรมที่ให้ผลได้อย่างแท้จริง
จนสามารถที่จะทำให้พิสูจน์ได้
คุณธรรมข้อนี้หมายถึงโลกุตตรธรรมทั้ง
๙
๕.
โอปนยิโก
เป็นธรรมที่ควรน้อมนำมาให้บังเกิดแก่ตน
และทำให้แจ้งแก่ตน หมายความว่า
ควรบำเพ็ญเพียรให้เกิดมัคคจิต
ผลจิต ก็จะแจ้งซึ่งพระนิพพาน
คุณธรรมข้อนี้หมายถึง
โลกุตตรธรรมทั้ง ๙ เหมือนกัน
๖.
ปจฺจตฺตํ
เวทิตพฺโพ วิญฺญู
เป็นธรรมที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตนเอง
ผู้อื่นหารู้ด้วยไม่ว่า
มัคคเราเจริญ ผลเราบรรลุ
นิโรธเราได้แจ้งแล้ว
เป็นการรู้ด้วยการประจักษ์แจ้งอย่างที่เรียกว่า
ประจักขสิทธิ
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ